Blog ย่อมาจาก "Weblog" โดยตัดตัว "We" ด้านหน้าออกไป หมายถึงหน้าเว็บที่ใครๆก็เข้าไปอ่านเรื่องที่คนเขียนเรื่องต่างๆเอาไว้ได้ของแต่ละคน โดยมากก็จะอัพเดตกันได้ทุกวัน และ blog มักจะสะท้อนบุคลิกส่วนตัวของเจ้าของ blog คำว่า "Weblog" ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย Jorn Barger ในเดือนธันวาคม ปี 1997. ต่อมามีฝรั่งที่ชอบเรียกสั้นๆ ชื่อนาย Peter Merholz จับมาเรียกย่อเหลือแต่"blog" แทนในเดือนเมษายนปีคศ. 1999 และจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม คศ.2003 ทาง Oxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ
ในขณะเดียวกัน “บล็อก”
ก็เป็นเครื่องมือรวบรวมความรู้ไปในตัว ทั้งรวบรวมความรู้ของบุคคล
ของกลุ่ม และขององค์กร ทั้งนี้
ขึ้นกับวิธีการจัดการบันทึกบล็อกนั้น เช่น
ผู้บริหารหน่วยงานอาจนำเสนอ “วิสัยทัศน์ความรู้” (knowledge
Vision-KV) ของตนลงในบล็อกของตน
และมีข้อตกลงว่าให้สมาชิกของหน่วยงานทุกคนเข้าไปอ่าน
และตีความไปสู่การปฏิบัติเอง
เมื่อปฏิบัติอย่างไร-ได้ผลอย่างไร-เกิดการเรียนรู้อย่างไร
แล้วก็ให้แต่ละคนเขียนบันทึกลงในบล็อกของแต่ละคน
ก็จะเกิดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน
ทำให้หน่วยงานสามารถรวบรวมความรู้ปฏิบัติไว้ได้
ถ้าไม่ต้องการให้ความรู้ดังกล่าวรั่วไหลออกไปภายนอกหน่วยงาน
ก็จัดบล็อกไว้บนอินทราเน็ต (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) ของหน่วยงาน
ตามแนวปฏิบัติข้างบน “บล็อก”
เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้เขียนบล็อก
บันทึกความรู้ของตน ออกเผยแพร่ให้ผู้อื่นเข้ามาอ่าน
และเข้ามาให้ข้อเสนอแนะหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้
ตัวอย่างเช่น http://kanitha.exteen.com/
http://u-maejao.exteen.com/20050727/entry
http://km.psu.ac.th/component/option
*ซึ้งเราสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้