หนอนบำบัด
หนอนแมลงวัน
หนอนบำบัด (อังกฤษ: Maggot therapy [แม็กกอต เทอราปี]) เป็นวิธีการรักษาบาดแผลด้วยหนอนแมลงวัน (Maggot) บางชนิด โดยให้ตัวหนอนกัดกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้วบริเวณบาดแผล ด้วยธรรมชาติของหนอนแมลงวันบางชนิดจะกินเฉพาะเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่กินเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ (แต่บางชนิดจะกลับกัน)
หนอนบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มนุษย์ค้นพบมานับพันปีแล้ว โดยชนเผ่าอะบอริจิ้น ในประเทศออสเตรเลีย เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่ค้นพบการนำหนอนแมลงวันมาใช้ทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อ
การใช้หนอนบำบัดเป็นที่นิยมในช่วงก่อนที่จะมีการค้นพบยาปฏิชีวนะ และเสื่อมความนิยมลงไป ก่อนจะเริ่มกลับมาได้รับความนิยมใหม่อีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1995 ในประเทศเยอรมนี เพื่อรักษาแผลเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมทั้งแผลเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น แผลไฟไหม้. ในปัจจุบัน หนอนบำบัดกลับมาแพร่หลายอีกครั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา
หนอนแมลงวัน สมานแผลเน่า
ฝรั่งใช้แพร่หลาย
ทางเลือกใหม่แพทย์ทางเลือก
หนอนแมลงวันรักษาแผลเรื้อรัง เนื้อตาย
เผยใช้น้ำลายปล่อยเอนไซม์
สร้างเนื้อเยื่อให้คนไข้ดื้อยาปฏิชีวนะ อธิบดีแพทย์แผนไทย
ยันรักษาได้ผลจริง สหรัฐ-อังกฤษนิยมใช้แพร่หลาย
แนะกรมวิชาการเกษตรควบคุมตัวหนอน
ที่ผ่านมาภาพหนอนถูกนำเสนอผ่านสื่อด้วยความน่ากลัวและขยะแขยง
โดยเฉพาะการพบหนอนในหู จมูก ปาก
ชอนไชทำลายเนื้อเยื่อของคน
แต่ล่าสุดยังมีหนอนอีกชนิดที่มีประโยชน์
สามารถนำมารักษาคนไข้ที่เป็นแผลเรื้อรังและมีเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ
โดยหนอนดังกล่าวเป็นหนอนแมลงวันสายพันธุ์ลูซิเลีย
ในกลุ่มกรีน บอทเทิล ฟาย จากประเทศเยอรมนี
ถูกนำมาทดลองใช้ในกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่าง
ซึ่งเป็นแผลเรื้อรัง เนื้อตาย หนองฝี แผลไฟไหม้ กว่า
10
ราย ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
ผลออกมาค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจของทั้งแพทย์ที่รักษาและผู้ป่วย
เนื่องจากหนอนพันธุ์นี้จะกินเนื้อตาย
พร้อมทั้งปล่อยเอนไซม์ออกมาช่วยสร้างเนื้อดี
น.ส.จามรี บูรณสุขรุ่งเรือง
อายุ 36 ปี
ซึ่งมียายวัย 91 ปี
ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากว่า 10 ปี
ลิ้นแข็งพูดไม่ได้
หนึ่งในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาบาดแผลกดทับด้วยการใช้หนอนแมลงวัน
เปิดเผยว่า เมื่อ 5
เดือนก่อนยายมีบาดแผลจากการกดทับกว้างเท่ากำปั้นและลึกจนเห็นกระดูกบริเวณก้นกบกับปลายเท้า
เคยรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเนื้อตายออกเยอะมาก
รู้สึกสงสารยาย เพราะแก่แล้วไม่อยากให้เจ็บ
กระทั่งแพทย์แนะนำวิธีการรักษาด้วยหนอน
ครั้งแรกยายมีสีหน้างงนิดๆ เมื่อรู้ว่าจะใช้หนอนรักษา
แต่ก็ยินยอม
การรักษาแผลเรื้อรังเริ่มด้วยการใช้หนอนแมลงวันกว่า
200
ตัว ใส่ในถุงสมุนไพรนำไปโปะไว้บริเวณที่เป็นแผล
เป็นเวลา 3
วันจึงแกะออก แล้วเปลี่ยนหนอนชุดใหม่
ครั้งแรกที่เปิดแผล น.ส.จามรี ยอมรับว่า
บริเวณแผลมีเนื้อเพิ่มขึ้นมาจนมองเห็นได้ชัด
เนื้อที่เคยเป็นสีน้ำตาลมองเห็นริ้วเส้นเศษเนื้อและเส้นเอ็นคล้ายเศษขนมปังเปียกน้ำก็หายไปหมด
ขณะนี้กำลังเพิ่มจุดรักษาจากก้นกบมาเป็นที่ปลายเท้า
รวมค่ารักษาเบ็ดเสร็จประมาณ 10,000 บาท
ซึ่งถูกกว่าการผ่าตัดและไม่เจ็บด้วย
ขณะที่ นางช่อเพชร ลุลิตานนท์
อายุ 41 ปี
ซึ่งมีแม่วัย 73 ปี
ที่มีแผลกดทับบริเวณก้นกบหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ
แพทย์เคยเล็มเนื้อตายออก แต่เลือดไม่หลุดไหล
เพราะการผ่าตัดลิ้นหัวใจต้องกินยาละลายลิ่มเลือดควบคู่กันไปด้วย
ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้รักษาด้วยการใช้หนอนแมลงวันช่วยกระตุ้นเนื้อตายให้หลุดออกโดยไม่ทำลายเนื้อดี
หลังการรักษา 4
ครั้งผ่านไปบาดแผลเริ่มดีขึ้น
หนอนแมลงวันสายพันธุ์ลูซิเลียจากเยอรมนีนำเข้าไทยครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน
2548
โดยบริษัทไบโอมอนเด้ (ประเทศไทย) จำกัด
โดยขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร
นำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการที่ปลอดเชื้อ
โดยไข่หนอนจะผ่านการสเตอริไลซ์
เพื่อไม่เพิ่มเชื้อให้คนป่วย มีวงจรชีวิตประมาณ
45
วัน
ถูกจัดประเภทให้เป็นสมุนไพรในการควบคุมดูแลของแพทย์ทางเลือก
น.ส.สุวรรณี เอี่ยมคง
หัวหน้าห้องปฏิบัติการ บริษัทไบโอมอนเด้ (ประเทศไทย) จำกัด
เปิดเผยว่า
การรักษาแผลเรื้อรังด้วยการใช้หนอนแมลงวันสายพันธุ์นี้จะใช้เวลาอยู่ในบาดแผล
3
วัน เพื่อดูดซึมและย่อยสลายเนื้อตาย
ช่วยให้แผลสะอาดขึ้น ทั้งนี้
หนอนจะกินเฉพาะเนื้อตายแล้วหลั่งสารออกมาย่อยเนื้อตาย
เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึม
ซึ่งน้ำลายของหนอนจะมีสารช่วยเร่งสร้างเนื้อขึ้นมาใหม่
นอกจากนี้
หนอนแมลงยังย่อยสลายแบคทีเรียที่ต้านยาปฏิชีวนะอีกด้วย
สำหรับหนอนที่ใช้แล้วจะทิ้งลงขยะปลอดเชื้อป้องกันไม่ให้แพร่พันธุ์ออกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ค่าใช้จ่ายจากการรักษาด้วยหนอนแมลงจากกรีน บอทเทิล ฟาย
จะอยู่ที่ 10,000-15,000
บาทต่อคน แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ครั้ง
ระยะเวลา 3-9 วัน
การรักษาทุกครั้งจะต้องได้รับการประเมินบาดแผลด้วยแพทย์ว่า
จะใช้หนอนจำนวนเท่าไร
ด้าน น.พ.วิชัย โชควิวัฒน
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า
การใช้หนอนรักษาบาดแผลมีมานานแล้ว
ตั้งแต่สมัยกษัตริย์นโปเลียนและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในสมัยสงครามโลกครั้งที่
1
แต่ภายหลังการค้นพบยาเพนนิซิลินหรือยาปฏิชีวนะจึงเลิกความนิยมไป
กระทั่งยาปฏิชีวนะที่ใช้มากว่า 30 ปี
เกิดปัญหาการดื้อยาวงการแพทย์จึงพยายามแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ
และกลับมาทดลองวิจัยการใช้หนอนอีกครั้งพบว่า
หนอนยังคงใช้ได้ดีกับโรคติดเชื้อ แผลเรื้อรัง
แต่ไม่สามารถใช้กับบาดแผลทุกชนิด
"เมื่อ 20-30
ปีก่อนประเทศไทยใช้วิธีการรักษาแผลเรื้อรังด้วยน้ำผึ้ง
ต่อมาปรับเปลี่ยนมาเป็นน้ำเชื่อมเข้มข้นแทน เพราะราคาถูก
ช่วยรักษาแผลกดทับ ติดเชื้อ และเบาหวาน
ซึ่งความเข้มข้นของน้ำตาลจะทำให้เซลล์เชื้อโรคถูกทำลาย
ช่วยทำให้บาดแผลหายเร็ว
เช่นเดียวกับการใช้หนอนสายพันธุ์เฉพาะจะช่วยย่อยสลายเชื้อโรค
แต่วิธีการรักษาด้วยหนอนไม่สามารถใช้กับแผลทุกชนิด
เพราะเชื้อโรคบางชนิดหนอนไม่สามารถกำจัดได้
อย่างไรก็ตามสามารถใช้ได้ดีกับเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ" น.พ.วิชัย
กล่าว
น.พ.วิชัย กล่าวต่อว่า
การรักษาบาดแผลด้วยหนอนคนยอมรับยังอยู่ในวงแคบ
ไม่แพร่หลาย คนทั่วไปยังปฏิเสธหนอน
หรือแม้แต่แพทย์บางรายไม่รู้ก็ไม่ยอมรับการรักษาด้วยวิธีนี้
เมื่อ 10
ปีก่อนเริ่มมีการค้นคว้าวิจัยอีกครั้ง
และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษและสหรัฐ
โดยแพทย์ที่ใช้หนอนรักษาก็เป็นกลุ่มแพทย์แผนปัจจุบัน
เนื่องจากประสบปัญหาเชื้อดื้อยารักษาผู้ป่วยไม่ได้ผล
บางรายต้องตัดแขนตัดขาทิ้งจึงหันมาใช้วิธีการรักษาด้วยหนอนแทน
แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็มีขีดจำกัดเรื่องอายุการใช้งานของหนอน
การเก็บรักษา ยากต่อการดูแลและวางจำหน่าย
"การใช้หนอนรักษาไม่ใช่ของหลอกเด็ก
แต่เป็นของจริงที่ได้ผล ทว่ามีข้อจำกัดทางวัฒนธรรมความเชื่อ
อายุหนอน ตลอดจนวิธีใช้ ดังนั้น
การใช้หนอนรักษาต้องศึกษาค้นคว้า
หรืออาจต้องสอนกันตามโรงพยาบาลแพทย์
เพราะถือเป็นประโยชน์ต่อคนไข้
ขณะเดียวกันก็ต้องเสนอขออนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
นอกจากนี้
กรมวิชาการเกษตรก็จะต้องมีการควบคุมดูแลแมลงวันชนิดนี้อย่างใกล้ชิดด้วย"
น.พ.วิชัย กล่าว แหล่งที่มา : คมชัดลึก
ฉบับวันที่ 30
พฤษภาคม 2548
สร้างเมื่อ 2005-06-01
00:00:00