โรงเรียนชาวนา (๒๖)_๒


ตอนที่  4     การทำนาแบบลดต้นทุนหรือเกษตรทางเลือก

             เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไม่เผาฟางข้าว  กระจายฟางดีแล้วเอาน้ำหมักสูตรสลายฟางที่ทำไว้นั้นฉีดพ่นให้  พร้อมฉีดสูตรกำจัดหอยเชอรี่เพื่อไม่ให้รบกวนหนอข้าว  และปล่อยน้ำเข้าแปลง  ย่ำวันเว้นให้ฟางเน่าเร็วขึ้น
             ทำเทือก  จะไถหรือไม่ก็แล้วแต่ความเหมาะสม  แต่ขอแนะนำว่าให้ใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์หว่านลงไปประมาณ  ไร่ละ  100 – 150  กิโลกรัม  ต่อไร่  รองพื้นเวลาย่ำเทือก  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทีแรกใช้มาก  ต่อไปใช้น้อยลง  แต่การใช้ปุ๋ยสูตรทีแรกใช้น้อย  ต่อไปใช้เพิ่มขึ้น
             เตรียมเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวในภาชนะ  เอาหัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรธรรมชาติ  (วัคซีนพืช)  ผสมน้ำ  50 – 100  ซี.ซี.  ต่อน้ำ  20  ลิตร  แช่เมล็ดข้าวไว้  1  คืน  ข้าวจะงอกดี
             พอข้าวอายุได้ประมาณอาทิตย์เศษ  เริ่มฉีดยาคุมกำเนิดหญ้าและนำน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลงควบคู่ลงไป  เพื่อป้องกันศัตรูพืชมารบกวนหน่อข้าว
             พอข้าวอายุได้ประมาณ  20 – 25  วัน  เริ่มใส่ปุ๋ยพร้อมฉีดสมุนไพรไล่แมลงอีกครั้ง
             พอข้าวอายุได้ประมาณ  35 – 45 – 55  วัน  ฉีดพ่นสมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูพืช  พร้อมฉีดพ่นน้ำหมักฮอร์โมนข้าวสูตรพิเศษ  ควบคู่ไปกับฮอร์โมนสูตรนี้ใช้แทนอามูเร่ได้
             พอข้าวอายุได้ประมาณ  65 – 75 – 85  วัน  เปลี่ยนเป็นฮอร์โมนสูตรฮอร์โมนไข่  ใช้เร่งตาดอก  ร่วมกับสูตรสมุนไพรไล่แมลงควบคู่กันไป
             พอข้าวอายุได้ประมาณ  95  วัน  งดใช้สูตรฮอร์โมนไข่  ใช้เร่งตาดอก  ใช้สมุนไพรไล่แมลงอย่างเดียวไปจนกว่าข้าวจะออกรวงหมด  ช่วงนี้ต้องคอยดูว่าจะมีแมลงแทรกซ้อนใหม่  ถ้ามีรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน
             การทำนาแบบลดต้นทุนจบลงเพียงเท่านี้  ถ้าผู้ใดปฏิบัติแล้วมีความสำเร็จ  ก็ขอให้ท่านบอกต่อไปด้วย  แล้วท่านจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง  อายุมั่นขวัญยืนด้วยจตุพรทั้งสี่ประการ


ตอนที่  5     กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว

             ส่วนผสม
                     หางไหลแดง  หรือขาว                       จำนวน     6   กิโลกรัม
                     ใบหรือก้านยาสูบ                              จำนวน     3   กิโลกรัม
                     บอระเพ็ด                                       จำนวน     3   กิโลกรัม
                     ใบหรือเปลือกหรือเมล็ดสะเดา             จำนวน     3   กิโลกรัม

             วิธีทำ
                     สับส่วนประกอบให้ละเอียด  เทลงใส่ในโอ่งหรือถัง  200  ลิตร  แล้วน้ำเทลงไปประมาณครึ่งหรือค่อนโอ่ง  แล้วเอาผ้าพลาสติกปิดไว้นานๆวันขึ้นไป

             วิธีใช้
                     เอาน้ำหมักนี้ประมาณ  5  ลิตร  ต่อน้ำ  20 – 40  ลิตร  เวลาลงไปตีขลุบ  เจาะก้นแกนลอนโดยพอประมาณ  ติดขลุบวนไปให้ทั่วคันนา  หอยเชอรี่จะไม่รบกวนหน่อข้าวเวลาหว่าน
                     ยาจับใบ  เวลาฉีดพ่นยาแต่ละครั้งใช้ใบกล้วย  (ใบตอง)

ตอนที่  6     การทำจุลินทรีย์สูตรธรรมชาติ

             เพื่อใช้เป็นวัคซีนพืช  และเพิ่มผลผลิตเร่งการเติบโต  สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แข็งแรงกับพืช  ใช้แช่เมล็ดพืชก่อนจะหว่าน  1  คืน  แล้วค่อยนำไปหว่านในแปลง

             วัสดุที่ใช้
                     ผักบุ้ง                                จำนวน     5       กิโลกรัม
                     กล้วยสุก                            จำนวน     2 ½   กิโลกรัม
                     ฝักทอง                             จำนวน     2 ½   กิโลกรัม
                     น้ำตาลทรายดิน                   จำนวน     2 ½   กิโลกรัม
                     เกลือสินเทา                       จำนวน     5       ขีด
            
             วิธีทำ
                     เก็บผักบุ้งตอนเช้าตรู่มาหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ  2  นิ้ว  ผักตำลึงสับเช่นกันทั้งฝักทอง  และกล้วยสุกคลุกเคล้าน้ำตาลทรายดิน  1 ½  กิโลกรัม  เกลือ  ทั้งหมดเคล้าอย่างทนุถนอม  อย่าให้ช้ำ  แล้วใส่โอ่งหรือถังพลาสติก  หลังจากนั้นเอาน้ำตาลที่เหลือโรยทับหน้าให้หมด  ปิดฝาด้วยกระดาษขาว  หรือพลาสติกรัดให้แน่น  นำไปตั้งที่กอไผ่หรือใต้ต้นไม้  หมักไว้ประมาณ  20 – 30  วัน  ก็ใช้ได้  และสังเกตหรือดมดู  ถ้ามีกลิ่นหอมอมหวานก็ใช้ได้

             วิธีใช้
                     หมักได้ที่แล้วใช้น้ำที่หมัก  50 – 100  ซี.ซี.  ผสมน้ำ  20  ลิตร  แช่เมล็ดพืชข้าว  หรือแช่เมล็ดพันธุ์พืชก่อนเพาะปลูก  1  คืน  ป้องกันโรคต่างๆ  ของหน่อพืชได้เป็นอย่างดี

ตอนที่  7     ทำหัวเชื้อจุลินทรีย์สลายฟางแบบใช้มูลสัตว์

            ส่วนผสม
                     ใช้ขี้ไก่ค่อนถุงปุ๋ย  ใส่โอ่งมังกร  แล้วเอาน้ำเทลงให้ค่อนโอ่ง  โมลาสประมาณ  10  กิโลกรัม  สัปรดสับลงไปพอสมควร  หัวเชื้อจุลินทรีย์เทลงไปพอประมาณ  แล้วปิดฝาไว้ให้ดี  แล้วค่อยแกว่งขี้ไก่ในโอ่งวันละ  2 – 3  ครั้ง  พอได้  10  กว่าวัน  ก็ใช้ได้  พอก่อนที่จะใช้  ยกเอาขี้ไก่ในถุงออก  แล้วเอาลำอ่อนเติมลงไปโดยประมาณ  แล้วเทน้ำลงไปให้เต็มโอ่ง  พักตัวไว้หนึ่งคืน  แล้วนำไปใส่ถัง  200  ลิตร  ใช้จุลินทรีย์ขี้ไก่  8  แกลอน

             วิธีทำ
                     ตีฟางกระจาย  แล้วเอาขลุบตีฟางให้จม  แล้วเอาน้ำเข้าพอสมควร  แล้วเอาจุลินทรีย์ฉีด    5 – 7  วัน  แล้วคอยย่ำ  ดูการสลายตัวของฟาง

             สำหรับสูตรนี้ 
                     ถ้ามีสมุนไพรไล่แมลงที่เหลือใช้  หรือปุ๋ยน้ำฮอร์โมนที่เหลือใช้  ผสมลงไปด้วยก็ดี  เพราะบางทีมีหอยเชอรี่อยู่ในนาของเราแล้ว  อาจจะกำจัดไปด้วยได้  ฮอร์โมนอาจจะไปช่วยให้ฟางนั้นเป็นปุ๋ยมากขึ้น

             พิเศษสูตรนี้
                     ถ้ามีหางไหล  หอยเชอรี่หรือบอระเพ็ด  ยาสูบ  ให้เอาหมักแช่ไว้พอจะใช้ก่อน  1  วัน  ยกขี้ไก่ออมเอาสูตรนี้เทลงไป  รุ่งขึ้นอีกวันค่อยเอาไปใช้

ตอนที่  8     สมุนไพรไล่แมลงรวมมิตรเพื่อลดต้นทุน
             วัสดุที่ทำ

(1)  หางไหลแดง / ขาว

(7)  หัวข่าแก่
(13)  ต้นสบู่เลือด
(2)  หัวกลอย
(8)  มะกรูดแก่
(14)  โมลาส
(3)  หนอนตายยาก
(9)  ใบยาสูบ
(15)  หัวไพล
(4)  เมล็ดหรือใบสะเดา
(10)  หัวว่านน้ำแก่
(16)  เหล้าขาว
(5)  ตะไคร้หอม
(11)  ใบยูคาลิปตัสแก่
(17)  หัวน้ำส้มสายชู

(6)  บอระเพ็ด

(12)  ฝักคูนแก่
(18)  ใบขี้เหล็กแก่

             วิธีทำ
                     เอาสมุนไพรอย่างละประมาณ  2  กิโลกรัม  เท่ากันผสมลงถัง  200  ลิตร  จะพอดีเทน้ำลงไปพอท่วม  หมักไว้  1  เดือน  ปิดด้วยพลาสติกให้มิดชิด  5  วันคนครั้ง  เพื่อให้สมุนไพรเข้ากัน  แล้วจะเกิดจุลินทรีย์มีฝ้าขาว  กลิ่นหอมอมเปรี้ยว

             วิธีใช้
                     เอาหัวเชื้อสมุนไพรไล่แมลง  100  ซี.ซี.  ต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตามสัดส่วนมากน้อยตามต้องการ  ใช้แล้วที่เหลือรีบเทคืนไว้ที่เดิม  แล้วเติมน้ำได้  3  ครั้ง
                     ยาจับใบ  ใช้ใบตองแก่บดให้ละเอียดกองแล้วเอาน้ำ  5 –
10  ขวดกระทิงแดง  ผสมในถังฉีดเป็นยาจับใบดีนักแล

ตอนที่  9     การออกฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละชนิด
               
1
 หางไหลแดง / ขาว
(กำจัดหนอน – ไล่แมลง)  หนอนกินช่อ  เพลี้ยไฟ  ไรแดง  เพลี้ยจักจั่น  หนอน – แมลงทั่วไป
2
หัวกลอย
(กำจัดหนอน – ไล่แมลง)  เพลี้ยอ่อน  แมลงสิงห์  แมลงทั่วไป
3
หนอนตายยาก
(กำจัดหนอน)  หนอนกระทู้  หนอนหลอดหอม  แมลงวันทอง
หนอนทั่วไป  แมลงศัตรูไม้ผล
4
เมล็ดหรือใบสะเดา
(กำจัดหนอน – เพลี้ย)  ด้วงหมัดผัก  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยกระโดด
สีน้ำตาล  เพลี้ยจักจั่น  หนอนใบกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกอ หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนชอนใบ  แมลงในโรงเก็บ  แมลงปากดูด 
แมลงวันทอง  มอดข้าวสาร
5
ตะไคร้หอม
(ไล่แมลง – หนอน)  หนอนกระทู้  หนอนคืบ  หนอนใยผัก 
หนอนหลอด  หนอนม้วนใบ  ราแป้ง  ไล่ยุง  และแมลงสาบ
6
บอระเพ็ด
(กำจัดหนอน – เพลี้ย)  เพลี้ยกระโดดสี้น้ำตาล  เพลี้ยจักจั่น  หนอนกอ  โรคยอดเหี่ยว  โรคข้าวลิ้ม
7
หัวข่าแก่
(ไล่แมลง)  แมลงวันทอง  เหง้าของข่าออกฤทธิ์เป็นทั้งสารดึงดูดไล่แมลงวันทอง  ไม่ให้วางไข่ถึง  99.21  %  และปล้องกันโรคใบจุดสีน้ำตาล
8
มะกรูดแก่
(ไล่แมลง)  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ย  ไร  รา  ด้วงหมัดผัก  ด้วงเเจาะสมอ  หนอนเจาะกะหล่ำ  หนอนใบชา  หนอนม้วนใบ  หนอนกระทู้
9
ก้าน  หรือ
ใบยาสูบ
(กำจัดหนอน – ไล่แมลง)  เพลี้ย  ไร  รา  ด้วงหมัดผัก  ด้วงเจาะสมอ  หนอนเจาะกะหล่ำ  หนอนม้วนใบ  หนอนกระทู้
10
หัวว่านน้ำแก่
(กำจัดโรครา – แบคทีเรียไวรัส – ไล่แมลง)  ด้วงหมัดผัก 
หนอนกระทู้ผัก  แมลงวันทอง  แมลงในโรงเก็บ  ด้วงงวงช้าง 
ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว  มอดตัวป้อม  มอดข้าวสาร  ประสิทธิภาพในเหง้าของว่านน้ำจะมีน้ำมันหอมระเหย  ซึ่งเป็นพิษต่อระบบปราสาทของแมลง  ยับยั้งการสืบพันธุ์ของแมลง  เช่น  แมลงวันแดง  แมลงวันทอง
11
ใบยูคาลิปตัสแก่
(กำจัดโรครา  แบคทีเรีย – ไวรัส)  และป้องกันรากเน่า  โคนเน่า  ไส้เดือนฝอย
12
ฝักคูนแก่
(กำจัดหนอน)  หนอนกระทู้ผัก  หนอนกระทู้หอม  ด้วง
ประสิทธิภาพ  เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภทแอนทราคิวนอนหลายตัว และยังมีฤทธิ์ทำลายต่อระบบประสาทและด้วงต่างๆ

13
ต้นสบู่เลือด
(กำจัดหนอน – กำจัดโรครา  แบคทีเรีย – ไวรัส)  หนอนใบชา 
หนอนม้วนใบ  หนอนแปะใบ  หนอนแก้ว
14
หัวไพล
(ป้องกันเชื้อรา)  ประสิทธิภาพใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในข้าวบาร์เลย์
15
ใบขี้เหล็กแก่
(ป้องกันเพลี้ย)  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  แมลงทั่วไป
16
โมลาสหรือ
กากน้ำตาล
ช่วยย่อยสลายและป้องกันการบูดเน่าเศษส่วนสมุนไพร
17
เหล้าขาว
ช่วยเสริมฤทธิ์  สมุนไพรไล่แมลงให้มีฤทธิ์แรงขึ้น
18
หัวน้ำส้มสายชู
ช่วยเสริมฤทธิ์  สมุนไพรกำจัดหนอน – แมลงให้มีฤทธิ์แรงขึ้น

ตอนที่  10     ฮอร์โมนไข่ใช้เร่งตาดอกกับไม้ผล

             ส่วนผสม
                     (1)  ไข่ไก่                              จำนวน     10   ฟอง
                     (2)  แป้งข้าวหมาก                    จำนวน        1   ก้อน
                     (3)  นมเปรี้ยว                          จำนวน        1   ขวด
                     (4)  น้ำตาลทรายดิน                 จำนวน        3   กิโลกรัม
                     (5)  ดอกไม้ตูม                        จำนวน        1   กิโลกรัม
                     (6)  ผักตำลึง                           จำนวน        1   กิโลกรัม
                     (7)  ผักบุ้ง                               จำนวน        1   กิโลกรัม
                     (8)  น้ำมะพร้าวอ่อน                   จำนวน        3   ลิตร
                     (9)  โมลาส                              จำนวน        2   ลิตร
            
             ข้อควรปฏิบัติ

                     ถ้าเป็นไปได้  ดอกไม้ตูม  ผักตำลึง  ผักบุ้ง  จะต้องไปเก็บตอนเช้าตรู่  คือ  ก่อนแสงตะวันจะขึ้น  เมื่อเก็บเอามาได้แล้ว  เอาผ้าคลุมไว้ก่อน  อย่าให้แสงตะวันส่อง  เมื่อพร้อมแล้วรีบเก็บเอาลงภาชนะ  แล้วรีบเอาพลาสติกมืดคลุม  ห้ามเอากระดาษที่ตีพิมพ์แล้วคลุม  แล้วมัดเก็บไว้ที่มืด  1  เดือน  การคน  5  วันคนครั้ง

             วิธีใช้
                     ฮอร์โมนไข่  50 – 100  ซี.ซี.  ต่อน้ำ  20  ลิตร  เวลาจะใช้เอาผสมกับน้ำ  ก่อนใช้ลองฉีดดูแล้วค่อยใช้จริง  ถ้ามีลอยไหม้ให้ลดส่วนลงไปอีก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2992เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2005 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
สุพรรษา วงษ์นามใหม่

ดิฉันจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับการกำจัดด้วงหมัดผัก ของศูนย์วิจัยผักเขตร้อนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ลดการใช้สารเคมี เพราะด้วงหมัดผักเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกผัก

จึงอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับกาป้องกันกำจัดโดยวีธีธรรมชาติทุกวิธี ขอความกรุณาช่วยส่งข้อมูลให้ด้วยนะคะ

สวัสดี

บ๊ายบาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท