เผยแพร่ผลงาน


ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

 

 

ชื่อวิจัย          การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านในถุ้ง ปีการศึกษา 2551

ผู้วิจัย            นางวนิดา  บุญมั่น

สายงาน         บริหารสถานศึกษา    

ปีการศึกษา     2551

 

                                                                        บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านในถุ้ง ปีการศึกษา 2551  ในด้านสภาวะแวดล้อม  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต   โดยศึกษาจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่เป็นหัวหน้างาน ครูที่ปรึกษา  ผู้ปกครองเครือข่าย  นักเรียนและผู้ปกครอง  ประจำปีการศึกษา 2551 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 542 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสอบถามปลายเปิด ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทั้ง 4  ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้  ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านสภาพแวดล้อม

               1.  ด้านสภาพแวดล้อม  ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เป็นหัวหน้างานอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เป็นหัวหน้างานเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้  วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของครูและนักเรียน   และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  รองลงมาคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา  และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  และข้อที่อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้  วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4  และโครงการมีความสำคัญในการสนับสนุนการจัดการศึกษา รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของท้องถิ่น และจัดสถานที่ได้เหมาะสมกับการดำเนินโครงการ  และจัดบรรยากาศในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการดำเนินโครงการ  

                2.  ด้านปัจจัยนำเข้า  ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองเครือข่ายอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน  เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองเครือข่ายเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ และความพร้อมของผู้เข้าร่วมโครงการ รองลงมาคือ ความพร้อมของคณะกรรมการสถานศึกษา  และความพร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินโครงการ  ยกเว้นความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนโครงการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4  และความพร้อมขององค์การบริหาร
ส่วนท้องถิ่นในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนโครงการอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

                 3.  ด้านกระบวนการ  ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองเครือข่ายอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้  บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานโครงการ  รองลงมา คือ มีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา ยกเว้น การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนถูกต้องเป็นปัจจุบันและสะดวกต่อการนำไปใช้วางแผนการดำเนินงานโครงการ ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ด้านการดำเนินการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด  เรียงตามลำดับดังนี้  การจัดทำแผนประเมินผลโครงการควบคู่กับการวางแผนกำหนดกิจกรรมของโครงการ  บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ   จัดกิจกรรมโครงการแต่ละกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนด  และการดำเนินการประเมินเป็นไปตามแผนและปฏิทินที่กำหนด  รองลงมา คือ แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเข้าใจโครงการอย่างชัดเจน และจัดทำเครื่องมือ ติดตามประเมินผลให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนดไว้  ด้านการติดตามและประเมินผล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้  มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ  มีการประเมินโครงการระหว่างปีและสิ้นสุดโครงการ  และบุคลากรมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลกิจกรรมแต่ละกิจกรรมตามโครงการ ด้านการนำผลการประเมินมาใช้ ปรับปรุงพัฒนา  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด  เรียงตามลำดับดังนี้  มีการสรุปผลและรายงานผลการประเมินโครงการให้บุคลากรในสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและบุคลากรมีส่วนร่วมในการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง

              4. ด้านผลผลิต ในภาพรวม พบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  ครูที่ปรึกษา  ผู้ปกครองเครือข่าย  นักเรียนและผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน เรียงตามลำดับดังนี้  นักเรียน ผู้ปกครอง  ผู้ปกครองเครือข่าย  ครูที่ปรึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา  เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  ครูที่ปรึกษา  ผู้ปกครองเครือข่าย  นักเรียนและผู้ปกครองเป็นรายข้อ พบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้  ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง  รองลงมาคือผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์  และมีข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล

คำสำคัญ   ประเมินโครงการ   ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

หมายเลขบันทึก: 299469เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท