เรียนรู้จากโฆษณาผงซักฟอก “สมการความขาวสุดๆ”


เรื่องเหล่านี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะตำหนิใคร แต่อยากจะใช้เรื่องนี้เป็นแนวทางการจุดประกายความคิดในการเรียนรู้ จากธีมของเรื่อง

 หลังจากที่ โฆษณาผงซักฟอกยี่ห้อหนึ่ง ในธีมของ “สมการความขาวสุดๆ" ออกมาเมื่อไม่นานมานี้ ผมรู้สึกไม่ค่อยสบายใจกับโฆษณาที่ออกมานี้  ในมุมมองของผมนอกจากเรื่องของการโฆษณาที่เกินจริงแล้ว ผมคิดว่ายังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษา อยู่ 2 ประเด็นคือ

  1. การแกล้งบิดเบือนทฤษฎีคณิตศาสตร์ให้เป็นเรื่องน่าขบขัน เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของผลิตภัณฑ์ ( 1/2 = 1 )
  2. การทำให้ครูเป็นผู้ร้ายในสายตาผู้ชม

  

ภาพจาก http://www.adintrend.com/show_ad.php?id=4391

เรื่องเหล่านี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะตำหนิใคร แต่อยากจะใช้เรื่องนี้เป็นแนวทางการจุดประกายความคิดในการเรียนรู้ จากธีมของเรื่องที่พยายามชูจุดขาย  1/2 =  1 และฉากที่ครูยืนยันแสดงจุดยืนโดยไม่ฟังความคิดเห็นของเด็ก ว่า ทำไม 1/2  จึงเท่ากับ 1  ซึ่งในมุมมองของความเป็นครู ผมคิดว่าการสื่อสารกับเด็ก การสอนเด็ก จะต้องทำให้เด็กเข้าใจและยอมรับด้วยทัศนคติที่ดี  ตามหลักของการสื่อสารที่ดีแล้วเรา ไม่ควรใช้อำนาจสร้างกรอบให้แก่เด็กว่าเธอจะต้องเชื่อฉันเท่านั้น ผมคิดว่าครูจะต้องมีจิตวิทยาในการสร้างความเข้าใจให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม แยกแยะประเภทขององค์ความรู้ให้ชัดเจน โดยใช้หลักการสื่อสารแบบ3 ชั้น ของแซนด์วิช 3 ชั้น คือ การชม/แนะนำและชมอีกครั้ง (+ /-/ +) โดยต้องทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เอง ผมจึงอยากให้ผู้สร้างโฆษณาคำนึงและมองในจุดนี้บ้าง

    

ภาพจาก http://www.adintrend.com/show_ad.php?id=4391

เรื่องการทำให้ครูเป็นผู้ร้ายในสายตาผู้ชม ที่เล่นตามเกมของธงของผู้สร้างที่วางไว้ โดยให้แข่งกันซักผ้าว่า ใครจะขาวกว่าและใช้แรงน้อยกว่า จุดนี้ธงที่วางไว้ก็คือ ครูต้องเป็นฝ่ายแพ้ และได้รับการดูถูกด้วยท่าทางขบขัน ผมดูแล้วไม่ค่อยสบายใจกับธีมเรื่องพอสมควร ในทัศนะของผมมองว่าเป็นการนำเอาเกียรติภูมิของวิชาชีพครูไปปู้ยี่ปู้ยำ ให้กลายเป็นเรื่องตลกธรรมดา จนอาจทำให้คนเข้าใจผิดได้ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ได้ดูโฆษณาตอนนี้ ซึ่งผมเข้าใจว่าเวลาของการโฆษณาไม่ได้กำหนดช่วงไว้เหมือนกับการโฆษณาแอลกอฮอล์ ผมไม่ได้ต่อต้านเรื่องมุกตลก แต่ต่อต้านวิธีการได้มาซึ่งมุกตลก ซึ่งต้องเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ได้มาด้วยการดูถูกดูแคลน หรือจากความหายนะของผู้อื่น ทั้งนี้เทคนิคง่ายๆ ในการสร้างอารมณ์ขัน ท่าน อ. ปราชญา  กล้าผจัญ ได้กล่าวเอาไว้ว่า “อารมณ์ขันเกิดจากการได้รับรู้สิ่งที่ผิดปกติไปจากความเป็นจริง” และจากคติธรรม ประจำสัปดาห์ ของ วัดอีสานดอทคอม (http://www.watisan.com/showdetail.asp?boardid=1461) ท่านกล่าวเอาไว้ว่า

1. มองโลกในแง่ดี
2. มีความแหลมคม จดจำและบันทึกคำพูดหรือประโยคที่ใช้ความแหลมคมทั้งหลาย
3. สะสม จดจำประโยค คำพูดที่ดี และสร้างสรรค์เอาไว้
4. นำมาดัดแปลงตกแต่งเล็กน้อย เอาไว้ใช้ในการสนทนาปราศรัยกับบุคคลต่าง ๆ
5. แสดงถูกกาลเทศะ คือพูดให้เหมาะสมกับเวลา บุคคล โอกาสและสถานที่

ข้อควรระวังในการสร้างอารมณ์ขัน คือ อย่าลอกเลียนแบบ อย่าเน้นอารมณ์ขันมากกว่าเนื้อหาสาระ จงหลีกเลี่ยงเรื่องหยาบคาย หรือตลกอนาจาร
ที่สำคัญ อย่าพูดกระทบ และอย่าพูดแตะปมด้อยของผู้อื่น

หมายเลขบันทึก: 299425เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เคยดูโฆษณานี้แล้วค่ะ

ตอนแรกที่เห็นก็ยังงงว่า เค้าจะมามุกไหนน้า

เพราะเคยเล่นกับเพื่อน ๆ หนึ่งบวกหนึ่งคือฉันรักเธอ

หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสิบเอ็ด

1/2 = 1 ครึ่งนึงเท่ากับนึง ดูแล้วก็ยังหัวเราะเลยค่ะ ขำ

ไม่ได้คิดเรื่องที่เค้าดูถูกวิชาชีพครูเลยค่ะ

แต่อ่านบันทึกนี้แล้วก็.........เออเนาะ มันก็น่าคิดอยู่

ทำให้เด็กเข้าใจผิด...มิสคอนเซ็ปต์กันไปใหญ่

1/2 = 1 ก็เป็นสมการ ได้ เพราะว่าสมการมี 2 ประเภท คือ สามการที่เป็นจริง และสมการที่เป็นเท็จ ขอให้มีเครื่องหมายเท่ากับก็เป็นสมการหมด ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท