chest ใครว่าถ่ายภาพง่าย


ถ่ายภาพ chest ที่ดีต้องมีครู

ผู้รู้คือครูถ่ายภาพรังสีปอด ทำอย่างไรให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของครู  10 ข้อ

         การประเมินคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกตามเกณฑ์ประเมินของ The Commission of European Communities : CEC (อ้างใน   Good quality images   รศ.นพ. เกียรติ  อาจหาญศิริ  ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในการประชุมวิชาการจัดโดยสมาคมศิษย์เก่ารังสีจุฬาลงกรณ์)โดยหัวข้อ ดังนี้

1  Positioning criteria  เป็นเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นมาตรฐานของการจัดท่าที่ดี มีรายละเอียด  ดังนี้

1.1  ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า มีการหายใจเข้าเต็มที่ขณะถ่ายภาพ การประเมินลักษณะของภาพเราจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยหลักการว่าถ้าหายใจเข้าเต็มที่ Diaphragm ควรอยู่ต่ำกว่า Anterior ends ของ Rib ที่ 6  หรือ Posterior ends ของ Rib ที่ 10

1.2  ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่ามีรายละเอียดของทรวงอกที่สมมาตร โดยหลักการว่ากึ่งกลางของ spinous  process อยู่ระหว่าง medial ends ของ clavicles

1.3  ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า Medial border ของ scapula ไม่บังปอด

1.4 ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า มีรายละเอียดของซี่โครงที่อยู่เหนือ diaphragm

2    Image quality  เป็นเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นคุณภาพของภาพรังสีที่ดี มีรายละเอียดดังนี้

 2.1   ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สมารถเห็น vascular pattern ของปอดชัดเจนโดยเฉพาะ   peripheral vessels

 2.2   ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น trachea และ proximal bronchi ชัดเจน

2.3   ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็นขอบเขตของ heart และ aorta  ชัดเจน

 2.4   ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น diaphragm และ lateral costo-phrenic angles    ชัดเจน

2.5  ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถ เห็นเงาของ retrocardiac lung และ mediastinum

2.6    ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถ เห็นเงาของ spine ทะลุผ่านหัวใจ

อาจารย์บอกว่าทำให้ได้ใกล้เคียงนี้เลย

ทดลองเอาภาพรังสีเก่าๆมาประเมินดูว่าได้แบบนี้หรือไม่ถ้าไม่ได้ต้องปรับวิธีการทำงานอย่างไร

ขอบคุณอาจารย์เกียรติ  มากๆค่ะ

หมายเลขบันทึก: 299315เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2009 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การจัดท่าพื้นฐานของการถ่ายภาพรังสีทรวงอก

Postero-anterior (PA)

คาสเสทที่ใช้ 14x17 นิ้วสำหรับผู้ชาย วางตามแนวยาว และ 14x14 นิ้วสำหรับผู้หญิงวางตามแนวยาว

ผู้ป่วยยืนหันหน้าเข้าหา Bucky แยกเท้าออกเล็กน้อย เพื่อให้ยืนมั่นคง ขอบบนของฟิล์มให้อยู่เหนือหัวไหล่ ประมาณ 4 นิ้ว คางวางบน คาสเสท ไหล่งุ้มไปข้างหน้า ฝ่ามือแตะสะโพก ข้อศอกดันไปข้างหน้าให้มากที่สุด หน้าอกแนบชิดกับ bucky จัดลำตัวให้ระนาบลำตัวอยู่กึงกลางฟิล์ม จัดศูนย์กลางของลำรังสี(CP) ที่ T-spine ที่ 6 และจัดหลอดเอกซเรย์ ให้ตั้งฉากกับฟิล์ม(CR) ระยะโฟกัส 72 นิ้ว

ลักษณะภาพที่ได้ในท่า PA ที่มีคุณภาพ

1 ภาพจะแสดงให้เห็นคลุมตั้งแต่ยอดปอด จนถึงฐานปอด

2 แนวกระดูกสันหลังอยู่กลางฟิล์มและตรงไม่บิดเบี้ยว

3 กระดูกไหปลาร้า(Clavicle)ทั้งสองข้างอยู่ในระดับเดียวกัน

4 กระดูกสะบัก(scapula)แยกออกจากเงาปอดทั้งสองข้าง

5 เห็นแนวฐานของปอด ลึกลงไปถึงระดับซี่โครง(rib)คู่ที่ 9-10

6 มีความดำที่ตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

7 มีคอนทราสพอเหมาะทำให้มองเห็นส่วนของปอดและ mediastinum

8 เห็นรายละเอียด(definition)และรอยต่อของส่วนต่างๆแยกจากกันได้ชัดเจน

9 ภาพมีลักษณะ ขนาดเท่าของจริง

10 ภาพชัดเจนไม่มัว

11 มีเครื่องหมาย แสดงตำแหน่ง ซ้ายขวา ยืน นอน ชื่อสกุล และเลขทะเบียนชัดเจน

12 ภาพไม่มีสิ่งแปลกปลอม(Artifact)

หมายเหตุ

1 กรณีแพทย์สงสัย Pneumothorax ก่อนถ่ายภาพต้องให้ผู้ป่วยหายใจออกให้หมด ซึ่งจะทำให้เพิ่มความดันในช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้เห็น Pneumothorax มากและชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเป็นเพียงเล็กน้อย

2 การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ใช้เทคนิคkVp สูง(130-150 kVp) เพื่อลดคอนทราสระหว่างเนื้อปอดกับ mediastinum ทำให้เห็นทุกส่วนของช่องอกในฟิล์มเดียวกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท