KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๗๐๓. การประเมินที่ถูกต้องคือ กระบวนการ KM



 การประเมินที่ทำอย่างถูกต้องเหมาะสมคือการหมุนเกลียวความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้ประเมิน


 ผู้ปฏิบัติงานได้พลังภายนอก คือผู้ประเมิน มาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนางานและพัฒนาตัวเอง   เป็นพลังของการได้มุมมองที่แตกต่างจากมุมมองของผู้ปฏิบัติงาน


 การประเมินควรได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มันเข้ามารับใช้เป้าหมายนี้มากที่สุด 


 ดังนั้น กระบวนการประเมิน กระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประเมินกับผู้รับการประเมินจึงสำคัญยิ่ง   สำคัญกว่าผลการประเมิน


 กระบวนการสำคัญ ๘๐%   ผลการประเมินสำคัญ ๒๐%


 ผู้ประเมินทำหน้าที่รับใช้ผู้รับการประเมินด้วยการเก็บข้อมูล   และประมวลข้อมูล   เอามาใช้เสวนากับผู้รับการประเมิน ด้วยท่าทีของการเสวนา (dialogue) หรือสื่อสารแนวราบ   เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน   ยืนยันความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ความสำเร็จตามเป้าหมาย ลัส่วนที่ถ้าปรับปรุงก็จะบรรลุความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ หรือความสำเร็จตามเป้าหมาย ได้ในอนาคต


 ในกระบวนการ dialogue นี้ ผู้รับการประเมินต้องมีทักษะในการ “ล้วงความรู้” ของผู้ประเมิน เอามาใช้ต่อ    ผมเคยทำเช่นนี้เมื่อราวๆ ปี ๒๕๔๐ เมื่อ สกว. ว่าจ้าง TRIS ให้มาประเมิน สกว.   เป็นครั้งแรกที่ผมรู้จักเครื่องมือ Balanced Score Card   การประเมินครั้งนั้นทำให้ผมได้ความรู้ทั้งวิธีมองผลงานจากหลายมิติหรือหลายมุมมอง   และวิธีวัดผลงานในมิติเหล่านั้น 


 การประเมินจึงเป็นการดึงเอาความรู้ภายนอกเข้ามาใช้ในการพัฒนางาน และพัฒนาคน

 

วิจารณ์ พานิช
๘ ส.ค. ๕๒

    

หมายเลขบันทึก: 298764เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

(ใคร่ครวญอยู่นานว่าจะเขียนหรือไม่ดี) ด้วยความที่อ่อนด้อยในความเข้าใจ KM ทำให้อ่านแล้วไม่แน่ใจในแนวทางแบบ การประเมิน กับ กระบวนการ KM ดีนัก

เท่าที่เข้าใจโดยสรุปการประเมินก็คือการพูดคุยกันในสิ่งที่ทำไปแล้ว และกำลังทำอยู่ ว่าสำเร็จหรือไม่อย่างไร อย่างเปิดใจ เพื่อชื่นชมกับความสำเร็จ และเรียนรู้สิ่งที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ แต่เป้าหมายที่สูงสุดคือเพื่อสร้างสัมพันธภาพและความรื่นรมในการทำงานร่วมกัน

 

ดังนั้นแนวทางการประเมินในปัจจุบันจึงไม่ใกล้เคียง KM เลย เพราะ การประเมินทำเพื่อวัดผลสำเร็จของงาน แต่ไม่ได้ชื่นชมหรือมองสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงาน

ถ้าเข้าใจไม่ถูกต้อง ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท