๔๒. ยอมให้ ต้องยอมผูกพัน


รู้เห็น และยินยอมให้ ต้องผูกพันตามที่ยินยอม

ข้อเท็จจริงได้ความว่า...สามีได้ทำหนังสือยินยอมให้ภริยานำที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.๓ก.) เนื้อที่ ๑๑ ไร่เศษ ซึ่งมีชื่อตนเป็นผู้ครอบครอง นำไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหาชั้นพนักงานสอบสวน และยังลงชื่อรับรองราคาประเมินที่ดินพิพาทอีกด้วย ต่อมาปรากฎว่าภริยาผิดสัญญาประกันไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหาไปส่งได้ตามสัญญา  และถูกฟ้องต่อศาล โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้ชำระเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย คดึถึงที่สุด แต่ภริยาไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษา

โจทก์ขอหมายบังคับคดี และนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวมาขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้

สามียื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์โดยอ้างว่า ที่ดินดังกล่าวมิใช่สินสมรส แต่เป็นสินส่วนตัวที่ได้รับจากบุพการี โจทก์ไม่ได้ฟ้องตนด้วย จึงไม่มีอำนาจยึดที่ดิน ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

โจทก์อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่า...สามีได้รู้เห็นและยินยอมในการที่ภริยานำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมือภริยาผิดสัญญาประกัน และศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ตามสัญญา แต่ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ ไม่ว่าทรัพย์จะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวก็ตาม สามีจะมาอ้างว่าเป็นสินส่วนตัวและจะใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินหาได้ไม่ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย...(ฎ.๕๐๕/๒๕๕๑)

...ก็เป็นคติเตือนใจ สำหรับสามีภริยาทั้งหลาย ทรัพย์สินแต่ละอย่างกว่าจะะหามาได้ แต่สุดท้ายหลุดลอยไปอย่างง่ายดาย ทำไมจะไม่เสียใจ...

คำสำคัญ (Tags): #ปล่อยทรัพย์
หมายเลขบันทึก: 298259เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2009 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้ความรู้เพิ่มค่ะ บางเรื่องที่ยังไม่เคยเจอก็จะไม่รู้จริง ๆ ค่ะ 

          ครั้งหนึ่ง  มีคนรู้จักมีเรื่องคดีความถูกจับจะต้องติดคุก  มาขอให้ดิฉันใช้ตำแหน่งประกันตัวเขาออกมา  ดิฉันก็ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยแก่ตัวเองหรือเปล่า  ปรึกษาตำรวจแล้วเขาบอกว่า  ถ้าคนนั้นหายไปไม่ยอมมาตามที่ศาลนัด  ดิฉันจะต้องรับผิดชอบแทน   หนี้ที่เขาติดค้างกันอยู่นั้นดิฉันจะต้องชดใช้แทน  เห็นจะจริงใช่ไหมคะ

                                       

  • สวัสดีอาจารย์
  • การใช้ตำแหน่งไปประกันตัวผู้ต้องหา เป็นการค้ำประกันอย่างหนึ่ง หากนายประกันไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาให้ตามสัญญา ก็จะต้องรับผิดตามสัญญาที่เราไปทำไว้กับพนักงานสอบสวน เช่นเดียวกันกับกรณีดังกล่าว ต่างกันตรงที่หลักประกัน ตามคดีเอา น.ส. ๓ ก. ไปเป็นหลักประกัน  กรณีของอาจารย์เอาตำแหน่งไปเป็นหลักประกันแทน ซึ่งตำแหน่งแต่ระดับจะไม่เท่านกัน
  • ตำแหน่งของอาจารย์เทียบเท่าระดับ ๘  สามารถไปประกันผู้ต้องหาโดยตีเป็นทุนทรัพย์ได้ตั้งแต่ ๒ แสนบาทขึ้นไป
  • ถ้าไม่ใช้ญาตพี่น้อง อย่าไปประกันดีที่สุด...มีความเสี่ยงสูง ครับ
  • ขอบคุณ

สวัสดีครับ อ.ศรีกมล

แวะมาอ่าน ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับครับ อย่าไปประกันดีที่สุด (ไม่ว่าจะประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์) จริงอย่างอาจารย์บอกครับ

  • -ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท