ใช้จ่ายเงินของชาติเพื่อการศึกษาอย่างไรดี


          ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาชาติบ้านเมือง คือการมีพลเมืองที่มีการศึกษาดี   มีความรู้ความสามารถและคุณธรรม 

  
          แต่ละประเทศใช้จ่ายเงินเพื่อการศึกษาจำนวนมากมาย   แต่เงินจำนวนดังกล่าวให้ผลต่อความวัฒนาถาวรของประเทศไม่เท่ากัน   ขึ้นอยู่กับวิธีใช้เงิน   นี่คือสาระสำคัญของบทความเรื่องDumb Money : Too many nations are wasting their school spending. Here's how to get it right. เขียนโดย Stefan Theil ซึ่งอ่านได้ที่นี่ 


          โปรดสังเกตว่า วิธีใช้เงินที่ฉลาด ให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่สุดคือ ใช้เงินลงไปในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและการศึกษา   ไม่ใช่ถมเงินลงไปให้แก่ top & average performers   เขาบอกว่า การทุ่มเงินเข้าไปช่วยคนที่ไร้ฝีมือจะไม่ใช่เพียงช่วยให้คนยากจนเหล่านั้นมีรายได้เพิ่มและมีชีวิตที่ดีขึ้น   แต่จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจ คือเพิ่ม productivity และ GDP   และมีผลดีต่อสังคมวงกว้าง คืออาชญากรรมลดลง  ค่าใช้จ่ายด้านประกันสังคมลดลง  และทำให้สังคมเป็นปึกแผ่นแน่นหนาขึ้น   

 
          ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ คือ


•   ใน stimulus package ด้านการศึกษา รวม ๑๐๐,๐๐๐ ล้านเหรียญที่รัฐบาล ปธน. โอบามา อนุมัติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์   เป็นเงินสนับสนุนวิทยาลัยชุมชน ๑๒,๐๐๐ ล้านเหรียญ   เขามีหลักฐานว่า การอัดเงินเข้าไปที่ วชช. จะมีผลกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่า 


•   ผลการวิจัยของ OECD บอกว่า อัตราค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียน มีความสัมพันธ์น้อยมาก กับ student performance


•   หลายประเทศ และหลายรัฐใน สรอ. เน้นใช้ value added testing เพื่อดู performance ของโรงเรียน    ดีกว่าใช้วิธีดูผลคะแนนสอบของนักเรียน   เพราะนักเรียนที่เข้าแต่ละโรงเรียนมีพื้นฐานต่างกัน  


•   ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐ, ฝรั่งเศส และเยอรมัน เพิ่มค่าใช้จ่ายทางการศึกษาขึ้นมากมายโดยไม่มีผลให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นเลย   แต่สวีเดนและฟินแลนด์ไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย ก็สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาได้โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง 


•   ผลการศึกษาของ WB บอกว่าระหว่างการใช้เงินสร้างมหาวิทยาลัยวิจัย (elite)   กับการใช้เงินหนุนวิทยาลัยเทคนิค   การใช้เงินแนวทางหลังจะก่อผลดีต่อเศรษฐกิจมากกว่า

          ต้องอ่านรายละเอียดเอาเองนะครับ   จึงจะเห็นว่า วงการศึกษาไทยกำลังเดินผิดทางไม่ใช่น้อย   แต่อย่าลืมว่าผลการวิจัยของประเทศตะวันตกบางเรื่อง อาจไม่จริงสำหรับบริบทไทยก็ได้

 

วิจารณ์ พานิช
๓๑ ส.ค. ๕๒

     
    

หมายเลขบันทึก: 298124เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2009 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดำรง ลีนานุรักษ์ ม.แม่โจ้

เรียนอ.หมอวิจารณ์ที่เคารพนับถือ

ได้ตามอ่านบทวิเคราะห์ในนิวส์วี๊คแล้ว น่าที่ท่านผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับระดับนโยบายได้อ่านอย่างวิเคราะห์วิจัยหรือcontemplate ความจริงในบ้านเราผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องหรือมีโอกาศที่จะให้คำแนะนำแก่ระดับนโยบาย หรือได้เคยขึ้นเวทีเล่นบทผู้กำหนดนโยบายเอง ได้มีการพูดคุยสรุปในวงสัมนาระดมความคิดเื่พื่อสรุปทิศทางบ้าง กรอบนโยบายบ้างหรือยุทธศาสตร์บ้าง ทำกันมาก็หลายครั้ง และแต่ละครั้งผู้ทรงคุณวุฒิและทรงวัยวุฒิทั้งหลายก็ได้สรุปออกมาเป็นประเด็นที่แหลมคมที่อ่านแล้ว บอกได้ว่า ใช่เลย ต้องรีบทำ แต่ เวลาผ่านมา รัฐบาลเปลี่ยนไป ก็ไม่เห็นการนำหลักหรือกรอบเหล่านั้นไปทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเลย ทั้งๆที่ทุกรัฐบาลเวลาแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยเฉพาะนโยบายการศึกษา เห็นมีแต่วาทกรรมสวยหรู แต่พอมีโอกาศด้วยมีเม็ดเงินที่ทุ่มเข้ามาในระบบการอุดมศึกษาได้ ก็กลับเอาไปทุ่มสร้างมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สร้างให้เป็นworld class university แบบเอาขี้ช้างเป็นbench mark ในสภาวะปรกติการทำโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาตินี้ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้ทรัพยากรของชาติที่ให้นำ้ำหนักผิดอยู่แล้ว(ไม่อยากใช้คำว่าDUMP MONEYตามบทวิเคราะห์ของนิวส์วี๊ค) แต่การใช้เงินที่อ้างกับรัฐสภาว่าเอามาแก้วิกฤตที่เป็นอยู่ กลับเอาไปสร้างหอคอยงาช้างเลี่ยมทองในมหาวิทยาลัยชั้นนำและเป็นต่อในทุกด้านอยู่แล้ว ถือเป็นนโยบายกลับหัวกลับหาง อย่างนี้นี่ เรียกเป็นภาษาไทยไม่ถูกครับ คงต้องใช้ภาษาของ Stefan Theil ว่า double dump money ครับ เห็นแล้ววังเวงแทน มหาวิทยาลัยกลุ่มรภ.และรม.ครับ ผมไปอ่านเจอรายงานที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการศึกษาเคยระดมความคิดเรื่องกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษา ที่จัดทำโดยสกอ. เมื่อธค.48 เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ขอพื้นที่ตรงนี้บันทึกให้ได้อ่านกันครับ ด้วยรายชื่อผู้หลักผู้ใหญ่ที่ร่วมดำเนินการล้วนแต่ระดับปรมาจารย์ทั้งนั้น น่าเสียดายที่อะไรอย่างนี้ไม่ถูกนำมาปรับใช้ เราจะทำอะไรตรงนี้ได้บ้างครับท่านประธานกกอ.

-------------------------------------------------------------------------------------------

สรุปผลการประชุมหารือเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2548

เวลา 09.30-12.00 น.

ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ

------------------------------------

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดประชุมหารือเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษา โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2548 ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ เพื่อระดมความคิดในการจัดทำกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษาให้ชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และสามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) และยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษาที่ต้องการโดยเร่งด่วน รวมทั้งเพื่อให้ได้กรอบแนวคิดสำหรับการหารือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะนำมาประกอบการจัดทำแผนฯ ยุทธศาสตร์ มาตรการในรายละเอียดต่อไป

ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้นประมาณ 80 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสื่อมวลชน (รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมปรากฏตามเอกสารแนบท้าย)

ประเด็นการประชุม

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้นำเสนอกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษาให้ที่ประชุมพิจารณาใน 8 ประเด็น ดังนี้

1) การผลิตและพัฒนากำลังคน

2) คุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา

3) การวิจัยและพัฒนา

4) การพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

5) การปฏิรูปการเงินอุดมศึกษา

6) โครงสร้างและการบริหารจัดการ

7) การผลิตและพัฒนาครู

8) การมีส่วนร่วมของเอกชนในการจัดการการศึกษา

สรุปผลการประชุม

1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน และดำเนินการในเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนก่อน รวมทั้งลงทุนในเรื่องที่มีผลทวีคูณที่ส่งผลให้เรื่องอื่นๆ ได้รับการพัฒนาไปด้วย ซึ่งในขณะนี้ควรเร่งรัดการพัฒนาอาจารย์เป็นลำดับแรก ซึ่งถ้าอาจารย์เก่ง ดี และมีปริมาณเพียงพอจะทำให้ด้านอื่นๆ มีคุณภาพตามไปด้วย

2. ตามกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษาที่ สกอ.เสนอในประเด็นที่ 6 ข้อ 3 การจัดตั้งองค์กรกลางที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาล (Buffer Agency) ในการประสานระหว่างรัฐและสถาบันอุดมศึกษา มีผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านเห็นด้วยในการจัดตั้งองค์กรอิสระระดับชาติที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาลในการกำกับเชิงนโยบายและจัดสรรงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษา และมีผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านเห็นว่า สกอ.ควรปรับบทบาทให้สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ สกอ.ยังมิได้ปรับบทบาทมาทำหน้าที่ตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้

3. มหาวิทยาลัยต้องเร่งรัดปรับปรุงคุณภาพการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ที่เป็นความต้องการของประเทศให้มีคุณภาพทัดเทียมระดับนานาชาติ รวมทั้งปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรและการเรียนการสอนที่สนับสนุนต่อการสร้างคุณลักษณะให้เด็กคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น นอกจากนั้น สกอ.ต้องทบทวนปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ทันสมัย โดยเฉพาะการปรับปรุงให้เด็กได้มีโอกาสเลือกเรียนในวิชาต่างๆ มากขึ้น

4. มหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นองค์กรที่สำคัญของสังคม จึงต้องมีบทบาทในการนำประเทศด้านต่างๆ ดังนี้

4.1 พัฒนาคนให้เป็นมันสมองของชาติ เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

4.2 สร้างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในระดับกลางและระดับสูงของประเทศ

4.3 ให้การศึกษาเพื่อสร้างอาชีพ และเป็นคนดีมีคุณภาพของประเทศ

5. รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เพียงพอกับการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัย และการแข่งขันในระดับนานาชาติได้

6. ต้องส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง สามารถช่วยเหลือพัฒนาและให้บริการชุมชนในท้องถิ่นได้อย่างครบวงจร ทั้งเรื่องการบริการวิชาการ การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในท้องถิ่น โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนอาจเพิ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรที่บริหารราชการในท้องถิ่นด้วย

7. ต้องสร้างดุลยภาพและความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิต โดยให้ความสำคัญกับสาขาการผลิตกำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศ ควบคู่กันไปกับสาขาวิชาที่เป็นพื้นฐาน เช่น สาขาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ฯลฯ ทั้งนี้ การผลิตและพัฒนากำลังคนต้องเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจเอกชน โดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการทำงานในสถานประกอบการจริง และให้มีการประเมินประสบการณ์การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนด้วย

8. มหาวิทยาลัยควรจะมองในเชิงรุกคือ มองในด้าน Supply Push เพื่อไปกระตุ้นให้เกิด Demand เช่น ในอดีตมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนหลายสาขาวิชาซึ่งถูกมองว่าตลาดไม่ต้องการ แต่เมื่อจบการศึกษาแล้ว ผู้จบสาขานี้เป็นที่ต้องการของตลาดและ สามารถประกอบอาชีพอิสระได้

9. การวิจัยและพัฒนาเป็นส่วนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ขณะนี้ยังขาดกลไกการสนับสนุน การจูงใจให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำผลงานวิจัย และควรส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยร่วมมือกับภาคเอกชนในการทำการวิจัยพัฒนานวัตกรรม และสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศ

10. วิธีการเร่งยกระดับคุณวุฒิอาจารย์ให้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกที่อาจจะทำได้รวดเร็วขึ้น นอกจากการให้ทุนศึกษาระดับปริญญาเอกแล้วคือ การสร้างแรงจูงใจให้คนที่จบปริญญาเอกเข้ามาเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เช่น การปรับเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ เพื่อดึงดูดให้คนดีมีคุณภาพสูงเข้ามาสู่ระบบอุดมศึกษาและรักษาผู้ที่อยู่ในระบบอุดมศึกษาให้คงอยู่ต่อไป และต้องกำหนดแนวทางในการดึงดูดนักวิชาการไทยในต่างประเทศ และนักวิชาการชาวต่างประเทศเข้ามาเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ การให้ทุนพัฒนาอาจารย์ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกต้องเตรียมการจัดหาอัตราว่างรองรับผู้จบการศึกษาเหล่านี้ด้วย อย่าให้เหมือนในอดีตที่ผ่านมาที่ไม่มีอัตราว่างรองรับ

11. ต้องพัฒนาอาจารย์ที่อยู่ในระบบอุดมศึกษาอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทั้งด้านการสอน และการเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัย

12. ต้องปรับปรุงกระบวนการสรรหาผู้นำในสถาบันอุดมศึกษาให้ได้ผู้นำและทีมงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

13. การบริหารงานภายใต้โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการระบบอุดมศึกษาที่ต้องการความคล่องตัวและรวดเร็ว

จัดทำโดย กลุ่มพัฒนานโยบายอุดมศึกษา

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

-----------------------------------

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมหารือ

เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2548

เวลา 09.30-12.00 น.

ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ

-------------------------

ประธานที่ประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง)

รองประธานที่ประชุม นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ

ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุม

1.นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ

2.นางสาวเจือจันทร์ จงสถิตย์อยู่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

3.ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน

4.ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต

5.ศาสตราจารย์ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

6.ศาสตราจารย์พจน์ สะเพียรชัย

7.ศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

8.ศาสตราจารย์สมหวัง พิธิยานุวัฒน์

9.ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ

10.ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์

11.รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์

12.รองศาสตราจารย์วันชัย ดีเอกนามกูล

13.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ พุทธิชีวิน

14.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์

15.ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง

16.ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์

17.นายถนอม อินทรกำเนิด

ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

1. ศาสตราจารย์พิเศษภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

2. นายสุชาติ เมืองแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

3. นางสาวจิรณี ตันติรัตนวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

4. นายสรรค์ วรอินทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

5. นางสาวพรสวรรค์ วงษ์ไกร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการ

อุดมศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้าน

นโยบายและแผน

6. นางแน่งน้อย พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐาน

การศึกษา

7. นางสาววรนาถ พ่วงสุวรรณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

8. นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผล

อุดมศึกษา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนัก

นโยบายและแผนการอุดมศึกษา

9. นางมยุรี สิงห์ไข่มุกข์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน

และประเมินผลอุดมศึกษา

10. นางสาวชุตินันท์ อิทธิรัตนา แทนผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักติดตาม

และประเมินผลอุดมศึกษา

11. นางพาณี พันทนา แทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนา

สมรรถนะบุคลากร

12. นายขจร จิตสุขุมมงคล ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักนิติการและ

พิทักษ์ผลประโยชน์จากกิจการอุดมศึกษา

13. นายสุภัทร จำปาทอง แทนผู้อำนวยการสำนักประสานและส่งเสิรม

กิจการอุดมศึกษา

14. นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษา

ต่างประเทศ

15. นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน

16. นายสุริยา เสถียรกิจอำไพ แทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนา

ศักยภาพนักศึกษา

17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพรรณี สมบุญธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์

18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยี

สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

19. รองศาสตราจารย์ดำรงค์ วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการปฏิรูป

ระบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท