ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

สร้างสื่อนวัตกรรมบนข้อจำกัด


การจินตนาการก่อนการสอน จะทำให้เกิดการพัฒนาสื่อประกอบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของครู เสมือนเป็นหน้าที่หลัก เนื่องจากต้องพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม แต่งเติม เพื่อให้สื่อมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้เน้นความสำคัญของสื่อในท้องถิ่นและสื่อประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศ

   สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มีหลากหลาย หากสื่อมีคุณภาพก็จะช่วยส่งเสริม หรือไม่ก็กระตุ้นการเรียนรู้ให้มีคุณภาพได้ ดังที่ สสวท.กำหนดคู่มือสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (สสวท.๒๕๕๐ : บทนำ)

   ๑.อุปกรณ์การทดลอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น กล้องจุลทรรศน์ เครื่องชั่ง มัลติมิเตอร์ เครื่องแก้ว เครื่องหรืออุปกรณ์ให้ความร้อน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ฉพาะใช้ประกอบการปฏิบัติการ

   ๒.สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือเรียน หนังสืออ่านประกอบ แผ่นภาพ  แผ่นภาพโปสเตอร์ วารสาร จุลสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราววิทยาศาสตร์เป็นต้น

   ๓.สื่อโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ แผ่นภาพโปร่งใส เทป สไลด์เป็นต้น

   ๔.สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่สื่อ สื่อประเภท CAI CD-Rom E-Learning เป็นต้น

   ๕.สารเคมีและวัสดุสิ้นเปลือง

   ๖.อุปกรณ์ของจริง ได้แก่ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างหิน แร่ และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

 สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจัดสรรมาแก่โรงเรียนหรือสถานศึกษา ก็จัดตามกรอบของหลักสูตรที่กำหนด เมื่อหลักสูตรได้มีการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แต่ละสถานศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาสื่อของตนเองให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ตนเองกำหนด จึงยากที่รัฐจะกำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่จะจัดให้เหมือนกันทั้งประเทศ

    ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องอาศัยครู บุคลากร หรือเครื่อข่ายที่จะพัฒนาสื่อใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสื่อแต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทจำเป็นต้องทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ

    ดังการทำการทดลองเรื่องการทดสอบแป้งในอาหาร ของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ นักเรียนได้มีโอกาสเตรียมวัสดุและอุปกรณ์มาเอง คือ ๑.อาหารที่เขาจะพิสูจน์สมมุติฐาน ๒.ไอโอดีน   แต่ปัญหาอยู่ที่ ไอดอดีนในท้องตลาดไม่มีขาย ซึ่ง ไอโอดีนดังกล่าวจะอยู่ในรูปของยา ที่มีชื่อเรียกว่า ทิงเจอร์ไอดอดีน บ้างก็ ไบโอดีน ที่มีร้อยละของ ไอโอดีนเจือจางอยู่

   หากความจำเป็นต้องใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนจริง การนิยามผลของการพบแป้ง จะทำอย่างไร

  ครูจะต้องพัฒนา และดำเนินการควบคุมการทดลองอย่างไร เพื่อที่จะให้นักเรียนมี มโนมติที่ ทิงเจอร์ไอโอดีที่เจือปนอยุ่นั้นแสดงผลได้

  ปฏิบัติการนี้ได้ผ่านทดสอบมาแล้วเป็นเวลา ๒ ปี ซึ่งยังให้นักเรียนได้ concept เดิมอยู่ คือ ไอโอดีนทดสอบอาหารจำพวกแป้งได้

   ภาพรวมกิจกรรม

       นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอาหารมาเพื่อทดสอบแป้ง โดยมีอาหารหลายชนิด ซึ่งในการทดลองนี้นักเรียนจำเป็นต้องทดลองควบคู่กับแป้งมัน หรือแป้งข้าวเจ้า ด้วย เพื่อนิยามสีของทิงเจอร์ไอโอดีน(จากสีน้ตาล กลายเป๋นสีคล้ำดำ พบแป้ง ถ้า ยังคงเป็นสีน้ำตาลอาจจะไม่พบแป้ง)

 

   แต่ละแผนการสอนของครูจำเป็นต้องกำหนดภาพรวมของกิจกรรมไว้ก่อนการดำเนินการสอน การจินตนาการก่อนการสอน จะทำให้เกิดการพัฒนาสื่อประกอบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   

หมายเลขบันทึก: 297889เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่มีสื่อใดที่จะทำความภาคภูมิเท่าสื่อที่ตนสร้างเอง (นักเรียนจึงอยากที่จะเรียนรู้)

Curious [ADJ] อยากรู้อยากเห็น, Syn. inquiring, prying

  • ดีใจที่พบครูวิทยาศาสตร์เหมือนๆกันครับ
  • ภาพที่ลดขนาดก่อนอัพโหลด ที่ผมใช้ให้พอดี คือ ปรับด้านกว้างให้ประมาณ 700 พิกเซลครับ จะเต็มหน้าของบันทึกเราพอดี ถ้าอาจารย์ต้องการให้ภาพขนาดเป็นเท่าใดของหน้า กะเอาได้เลยครับ
  • วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี ถ้ามีครบๆ ให้นักเรียนได้เรียน ได้ทดลอง อย่างเต็มที่ เด็กๆจะสนุกกับการเรียนรู้มาก ครูวิทย์เรารู้ดี แต่โรงเรียนที่มีครบ น่าจะน้อยมาก นอกจากโรงเรียนใหญ่จริงๆ..ปัญหาคล้ายๆกันนะครับ
  • ขอบคุณสาระดีๆที่นำเสนอครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท