****เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน กนกวรรณ นู๋เล็กเองจ้า***


การศึกษาไทยก้าวไกลด้วย ไอที

การศึกษาไทยก้าวไกลด้วยไอที

โดย   กนกวรรณ  สืบส่วน  

 
        นับเป็นความจำเป็นของระบบการศึกษาไทย    ที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ
พัฒนาการศึกษาอย่างเหมาะสม    ใช้การลงทุนต่ำเมื่อเทียบกับผลที่จะได้รับ    และเพื่อการ
เตรียมพร้อมของไทยในการแข่งขันในทางเศรษฐกิจโลก….

บทนำ

        เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว   ที่มีผู้กล่าวถึงความสำคัญของ   "ไอที"   ซึ่งมาจากคำว่า Information Technology  หรือที่ภาษาไทยใช้คำว่า   "เทคโนโลยีสารสนเทศ"  คำ ๆ นี้ถูกใช้
บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ   เช่นเดียวกับคำว่า  "โลกาภิวัตน์" หรือ "โลกไร้พรมแดน"   (Globalization) ในท่ามกลางภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบันนี้ หลายคนต่างพยายามมองหาสิ่งที่จะ
ใช้เยียวยาแก้ไขปัญหาความอ่อนแอของประเทศ    ซึ่งรายได้ไม่พอกับรายจ่ายเช่นในเวลานี้
นอกจากแนวคิดเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"   ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว  แนวคิด
เกี่ยวกับไอที ก็อาจเป็นอีกความหวังหนึ่งที่อาจนำใช้พลิกวิกฤติให้กลายเป็นโอกาสขึ้นมาได้

ไอทีคืออะไร

        อันที่จริงแล้วคำว่า  ไอที   อาจเป็นที่คุ้นเคยและเข้าใจกันดีแล้วในกลุ่มชนที่ได้รับการ
ศึกษา    หรือติดตามความเคลื่อนไหวทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ อยู่เสมอ  แต่ชาวบ้าน
ร้านถิ่นที่ยังลำบากยากจนหรืออยู่ห่างไกลความเจริญอาจไม่เข้าใจไอทีเท่าใดนัก
        คำว่า ไอที นี้   รองศาสตราจารย์ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์  ได้อธิบายว่า ไอที  เป็นผลรวม
ของเทคโนโลยีสองประเภท  คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์    ซึ่งได้แก่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำ  ชิพ   เครื่องพิมพ์  สายสัญญาณ   โมเด็ม  โปรแกรม ฯลฯ  กับ    เทคโนโลยี
โทรคมนาคม   หรือที่เราเรียกว่าการสื่อสารทางไกล   เช่น โทรศัพท์  โทรสาร   ไมโครเวฟ
สายใยแก้วนำแสง   ดาวเทียมสื่อสารเป็นต้น เมื่อรวมกันแล้วมันช่วยให้มนุษย์ใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีสองตัวนี้ได้กว้างขวางและหลากหลายขึ้น  อินเตอร์เน็ต เป็นตัวอย่างของการนำ ไอที มาใช้งานที่ชัดเจนที่สุด

มองการศึกษาไทยในเชิงระบบ

        การศึกษาไทย หากมองในเชิงระบบ (System) แล้วอาจจำแนกได้สองแง่ คือในแง่ของ กระบวนการ (Process) ซึ่งประกอบด้วย   การนำปัจจัยป้อนหรือวัตถุดิบ (Input)  เช่นเงินงบ
ประมาณ  ครู นักเรียน เข้าสู่กระบวนการผลิต (Process) เพื่อแปรรูปหรือเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่น  การปฐมนิเทศ การเรียน   การสอน  การอบรม  การดูงาน   การทำการบ้าน   การใช้
อินเตอร์เน็ต   เพื่อให้เกิดผลลัพธ์  (Output)     คือการที่ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาอย่างมีความรู้
คู่คุณธรรม   พร้อมที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของสิ่งแวดล้อมที่ระบบการศึกษาตั้งอยู่   ซึ่งหมายถึง
สังคมไทยโดยรวมนั่นอง    และหากมองระบบการศึกษาไทยโดยแง่ขององค์ประกอบแล้ว
ก็จะประกอบไปด้วยผู้ให้บริการซึ่งได้แก่ครู อาจารย์ คนงาน ภารโรง เจ้าหน้าที่ นักวิชาการ
ผู้บริหารต่าง ๆ กับผู้รับบริการ   ซึ่งได้แก่นักเรียน  นิสิต   นักศึกษา  และประชาชนทั่วไป
ระบบการศึกษาทั้งสองนัยต่างมีโครงสร้างอันเดียวกันคือ   การจำแนกการศึกษาออกเป็น
5  ระดับ  คือก่อนประถมศึกษา   ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา   อาชีวศึกษา   และอุดมศึกษา
อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยว่า   ระบบการศึกษาไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคม หากแต่ต้อง
พึ่งพิง    กล่าวคือทั้งรับและส่งพลังงานให้กับระบบอื่นอยู่เสมอ    การมองการศึกษาในเชิง
ระบบจะช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างไม่แยกส่วน  ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมเรียกว่า วิธีการคิด
หรือมองแบบองค์รวม  (Holistic Approach)   ซึ่งหากเราไม่เข้าใจในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้แล้ว
ก็อาจทำให้สูญเสียทั้งเวลาและทรัพยากรในการทำงานไปมาก

จะพัฒนาการศึกษาด้วยไอทีได้อย่างไร

        ดังได้กล่าวแล้วว่า ไอที   มีคุณสมบัติที่ดีเด่นหลายประการเช่น   ความสามารถในการ
เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ    การทำงานซ้ำ ๆ   การคิดคำนวณ   การเปรียบเทียบ  การนำเสนอ
การลดข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่เป็นต้น     และแน่นอนที่สุดว่า   คุณสมบัติเหล่านี้
สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ แต่จุดหนึ่งที่น่าคิดก็คือว่า  การประยุกต์ใช้ไอที
ในระบบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า     เพราะมีความได้
เปรียบด้านการลงทุนและผลกำไรที่มองเห็นและหาได้    แต่สำหรับระบบการศึกษานั้นเล่า
เราจะทำอย่างไรกัน    เพราะต้องยอมรับว่ากว่าร้อยละเก้าสิบของการลงทุนทางการศึกษา
เป็นเรื่องของการไม่แสวงกำไร      คำถามที่ต้องการคำตอบและต้องการการลงมือทำก็คือ
ทำอย่างไรเราจึงจะใช้จ่ายเงินเพื่อลงทุนด้านไอทีให้น้อยที่สุด    แล้วให้ครอบคลุมกลุ่มเป้า
หมายมากที่สุด    ภายในเวลาอันรวดเร็วที่สุด  และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ
มากที่สุด    คำตอบอาจไม่ได้อยู่ในสายลมอีกต่อไปแล้ว  สำหรับยุคนี้แล้ว   คำตอบอาจอยู่ที่
สายไฟเบอร์ออพติค !

ไอที   จะช่วยให้สามารถจัดการศึกษา
จนทำให้ประเทศพร้อมที่จะแข่งขันในทางเศรษฐกิจ
ในระดับโลกได้จริงหรือ

        จริง !    ถ้าคนไทยมองภาพรวมของสังคมไทยในเชิงระบบ   และมองเพื่อแก้ปัญหาทั้ง
องค์รวม     ท่านผู้อ่านคงต้องการให้ขยายความว่าผู้เขียนหมายความว่าอย่างไร     สำหรับ
ตัวอย่างนั้นคงไม่ต้องดูอื่นไกลเลย    เอาแค่การขุดถนนของสองหน่วยงานคลาสสิค   อย่าง
การประปากับองค์การโทรศัพท์ก็เพียงพอแล้ว    ถ้าองค์กรต่าง ๆ ในบ้านเมืองทำงานอย่าง
เข้าใจองค์รวม    และมีวิสัยทัศน์ มองเห็นปัญหาทั้งระบบ   พวกเราคงไม่ต้องเป็นทุกข์และ
เศร้าใจกับการจราจรเช่นทุกวันนี้    ในทำนองเดียวกัน   การนำ ไอที  มาพัฒนาประเทศนั้น
หากได้มีหน่วยงานใดในประเทศนี้วางสิ่งที่เรียกว่า แบ็คโบน (Back Bone) หรือสายสื่อสาร
สมรรถนะสูงไปให้ครบทุกจังหวัด ให้เพียงพอที่จะรองรับการต่อเชื่อมของสรรพหน่วยงาน
ต่างกระจายกันอยู่ เช่น หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ    ก็สามารถเกาะแบ็คโบนเพื่อ
เชื่อมโยงกันได้ทั้งประเทศ    พร้อม ๆ กับที่หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข    หรือ
กระทรวงอื่น ๆ   ก็สามารถทำได้โดยที่ประเทศไม่ต้องเสียงบประมาณเพื่อวางแบ็คโบนให้
เป็นรายกระทรวง     ถ้าสนนราคาของการวางสายไฟเบอร์ออพติค    ตกอยู่ที่กิโลเมตรละ
5 ล้านบาท  ท่านผู้อ่านลองคิดคำนวณดูเถิดว่าเราต้องผลิตข้าวให้ได้กี่ล้านเกวียน เราต้องส่ง
แรงงานออกไปขายที่ต่างประเทศอีกกี่ล้านคน   เราจึงจะมีเงินมาถมการลงทุนตรงนี้  โดยที่
ยังไม่นับว่าปัญหาสังคมที่จะตามมานั้นจะมีเท่าไร    ความล้าหลัง   หรือความรุ่งเรืองตรงนี้
จำเป็นต้องอาศัยความมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร   ที่ต้องเป็นผู้ตัดสินใจอย่างโปร่งใส   และรับ
ผิดชอบต่อประเทศชาติ

บทสรุป : โครงการอุทยานไอที ซีมีโอ-ดาราคาม 2000
ย่างก้าวที่สำคัญของซีมีโอ

        เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวคราวครึกโครมทางหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ข่าวหนึ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่า
หลายท่านคงยังพอจะจำได้    นั่นคือเรื่องการประมูลในโครงการ    เอส ดี เอช  ซึ่ง  ณ วันนี้
ผู้เขียนเองก็ยังไม่ทราบว่ามีความคืบหน้าไปอย่างไรบ้าง     แต่ที่แน่ ๆ   คือความสูญสลาย
(หรืออย่างน้อยที่สุดก็ความล่าช้า)      ของโอกาสในด้าน ไอที    นั้นเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก
แต่ไม่ว่าโครงการ  เอส ดี เอช   จะเกิดขึ้นช้าหรือจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ตาม   ความจำเป็นที่ต้อง
แสวงหาช่องทางในการพัฒนาไอทีในทางอื่นนั้นยังคงมีอยู่    เพราะในเชิงอนาคต   อาจารย์
ดร. จุมพล พูลภัทรชีวิน   กล่าวไว้ว่ามนุษย์เราควรทำตัวให้เป็นตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง
(Change Agent) คือแทนที่จะรอคอยให้เหตุการณ์หรือปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงหาทาง
แก้ก็ให้ชิงลงมือทำ   หรือทำตัวเป็นเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงเสียเลย  ในโลกของนักอนาคต
นิยมเราไม่เชื่อว่ามีเทวดา   ไม่มีพระพรหมที่จะคอยลิขิต   ถ้าหากจะมีก็เรานี่แหละที่จะเป็น
พระพรหมเสียเอง นั่นคือเราต้องเชื่อว่า เรานี่แหละสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตได้   เราต้อง
การให้อนาคตเป็นอย่างไร    เรากำหนดได้    และเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ด้วยการลงมือทำ
เสียแต่ในวันนี้ !
        ในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ      ที่มีบทบาทเป็นผู้นำในด้านการศึกษาของ
ภูมิภาคนี้  "ซีมีโอ"   หรือที่มีชื่อเต็มว่า "องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
ได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่จะต้องสร้างและพัฒนาต้นแบบไอทีเพื่อการศึกษา   ให้เกิดขึ้น
อย่างเป็นจริงเป็นจังให้ได้    และ "โครงการอุทยานไอที   ซีมีโอ-ดาราคาม 2000"  ก็นับเป็น
โครงการที่เป็นตัวอย่างของความพยายามอีกโครงการหนึ่ง   ในแผนงานด้านไอทีของซีมีโอ
ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่ให้ทั้งความหวัง    และคำตอบสำหรับการปฏิวัติระบบการ
ศึกษาด้วยไอที !
ในเมื่อบ้านเมืองกำลังวิกฤติ
ในเมื่อประเทศชาติกำลังต้องการคนกล้าคิด   กล้าทำ  กล้านำ  กล้าลงทุน   กล้าร่วมมือ
ท่านทั้งหลาย   ทั้งที่อยู่ในภาครัฐ   รัฐวิสาหกิจ  เอกชน   จะชักช้าอยู่ใย
ทำไมท่านไม่ไสช้างไทย   ช้างไชยโย   ช้างแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันออกมา
มาร่วมกันปฏิวัติการศึกษาด้วยไอที
เพื่อรังสรรค์ให้ประเทศของเรา   ภูมิภาคของเรา  โลกของเรา   เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
อย่าลืม !   มาพบและทำความรู้จักกับกับเรา

และ โครงการอุทยานไอที ซีมีโอ-ดาราคาม 2000 ได้ที่ 
หมายเลขบันทึก: 29773เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท