ชาวนาชาวไร่ชาวสวนกับนายทุน


กระดูกสันหลังของชาติ

ผมเป็นลูกหลาน "ชาวนา" ชนชั้นที่ได้ชื่อว่า "ชีวิตลำบากยากเข็ญ"

แม่และปู่ของผม ก็เป็นเหมือนกันกับพ่อแม่ที่เป็นชาวนาคือ

ไม่ต้องการให้ลูกหลานของตน สืบทอดการเป็นชาวนา เหมือนอาชีพอื่นๆ

ท่านคงไม่อยากผมให้ลำบากเหมือนท่าน ก็พยายามส่งเสียให้ผม

ได้ร่ำเรียนได้ทำงานที่ไม่ใช่ชาวนา ไอ้ใจผมก็มันเหมือนลูกหลานทั่วไปครับ

ยิ่งห้ามก็ยิ่งยุ อยากกลับใช้ชีวิตเหมือนยังเด็กๆ ทำนาทำไร่

แต่ไอ้จะกลับไป มันก็มีอดีตฝังจำ ภาพมันติดในสมอง ภาพของแม่ลำบาก

ทำนามันเหนื่อยยาก ไหนจะต้นทุน ปุ๋ยและสารพัดค่าใช้จ่าย

ไอ้ที่กล่าวมาก็มันเท่าไหร แต่ไอ้ที่ผมฝังจำเอามากๆคือ

การถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนพ่อค้า ที่ทำนาบนหลังชาวนา

ราคาให้ต่ำบ้าง พอมีโครงการจากรัฐมาช่วยเหลือให้พอได้ลืมอ้าปาก

กลับถูกไอ้คนกลุ่มนี้โกงกินกันซะอีก ชาวนาก็เลยไม่เคยจะมีชีวิตที่ดีขึ้น

อย่างกับอาชีพอื่นๆพอสมควร

แม้ว่า เป็นบุญของชาวนาไทย ที่องค์ "พ่อหลวง" ได้พระราชทาน

หลักเศรษฐกิจพอเพียง มาให้กับชาวนา ได้ปรับตัวให้อยู่ในโลกของ

ระบบทุนนิยมได้ แต่พอชาวนาก็ได้อยู่กันแบบพึ่งพาตนเอง

ทำนาแบบเอาไว้กิน เหลือจึงขาย เพียงพอให้ชีวิต ไม่ก่อหนี้

ก็เริ่มมีการเข้ามาหากินกับชาวนาอีกแล้ว เช่น ชาวนาไม่ใช้ปุ๋ย

ไม่ใช้สารเคมี ผลิตข้าว,ผัก ปลอดสารพิษ ออกมาขาย

นายทุนสมองใส แต่จิตใจสกปรก ก็ไปนำสินค้าตัวอื่นๆ

มาปลอมเป็นสินค้าปลอดสารพิษขายแทน บ้างก็อาศัยว่า

มีทุนเยอะกว่า ก็กว้านซื้อที่นา แล้วทำนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

เมื่อชาวนาที่ขายที่ดิน กลับต้องไปเป็นลูกจ้าง "ทำนา" ให้

 

มืดมนเหลือเกินกลับทางออกของชีวิตชาวนา

คำสำคัญ (Tags): #ชาวนา
หมายเลขบันทึก: 296772เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2009 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท