การอ่านและการเขียนให้อะไรกับชีวิต


การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมประเภทหนึ่งที่ต้องอาศัยสมาธิ

การอ่านและการเขียน

ห้อะไรกับชีวิต

          การอ่านและการเขียน  เป็นทักษะ  2  ประการในทักษะ   4  ประการ  ที่มนุษย์ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน  ได้แก่  ทักษะการฟัง   พูด  อ่าน  และเขียน

          การฟังและการพูด  เป็นทักษะที่ถูกมองว่าง่ายมากกว่าการอ่านและการเขียน  เพราะใครๆ  ที่มีอวัยวะทางการออกเสียง  และฟัง  หรือคนพิการก็สามารถพูดได้และฟังได้ทั้งนั้น

          ส่วนการอ่านและการเขียนถูกมองว่าเป็นทักษะที่ยาก  โดยเฉพาะการเขียน  แต่ความจริงแล้วทักษะทั้งสองนี้ไม่ใช่เรื่องยาก  หากมีความตั้งใจ  อดทน  และฝึก  อีกทั้งยังเป็นเรื่องของความชอบส่วนตน  เนื่องจากมีหลายคนที่ไม่ชอบพูด  หากแต่ชอบเขียน  และอีกหลายคนที่ประทับใจกับการอ่านจดหมายรักมากกว่าการฟังคำว่ารัก

ประโยชน์ของการอ่าน

 1.  ได้รับความรู้  ความคิดเห็น  อันนำไปสู่การเกิดปัญญา

           มีหลายครั้งที่ยามมีปัญหาคับอกคับใจไม่สามารถปรึกษาใครได้ การอ่านเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้ได้รับความรู้แก้ปัญหาตลอดจนมองเห็นหนทางในการแก้ปัญหาได้กระจ่าง   ชัดเจนขึ้น

2.  เกิดจินตนาการ

          หนังสือสร้างขึ้นจากจินตนาการของผู้เขียน  ผู้อ่านจึงได้ซึมซาบจินตนาการเหล่านั้นเข้าไว้ในจิตใจ   ตลอดจนเกิดประกายสรรค์สร้างจินตนาการที่เจิดจรัสขึ้นมาในชีวิตของตนเอง   มนุษย์ต่างกับสัตว์โลกตรงการมีจินตนาการ   ใครมีชีวิตจริงที่แสนจะแห้งแล้งเพราะกิจวัตรประจำวันและภาระหน้าที่   ที่แสนซ้ำซากจำเจ   ลองหาหนังสือที่คุณพอใจสักเล่ม  หยิบมันขึ้นมาอ่าน  เพื่อจุดประกายจินตนาการให้กับชีวิต

 

3.  ได้รับประสบการณ์

          มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความอยากรู้อยากเห็น  อยากทำนั่นอยากทำนี่ แต่ก็มีกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานอีกหลายอย่าง   ที่กีดกันไม่ให้เราทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ดังใจฝันหากเราได้สามารถทำสิ่งที่ต้องการ  นั่นคือ   การได้รับประสบการณ์ตรง  เพราะเราได้ไปสัมผัสกับสิ่งนั้น ๆ  เอง  ในทางตรงกันข้าม  หากมีบางอย่างก็ใช่ว่าเราจะหมดหวังเสียทีเดียว  การอ่านเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ทางอ้อมให้กับมนุษย์   ใครล่ะจะรู้ว่าเมื่อถึงคราวที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริง   ประสบการณ์ทางอ้อมที่เราได้รับจากการอ่านจะช่วยเราไว้ได้

          นักเขียนหลายคนบรรยายฉากการเสพย์ติด  และอารมณ์ที่บรรเจิดได้อย่างดีเยี่ยม  จนผู้อ่านอาจหลงคิด  ว่าผู้เขียนท่าจะเคยลองเสพจริง ๆ  แต่จริง ๆ  แล้วเกิดจากการที่ผู้เขียนอ่าน  และศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเกิดประสบการณ์ทางอ้อมนั่นเอง

4.  ได้พักผ่อน และได้รับความบันเทิง

          การอ่านหนังสือเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง  ที่ประหยัดและปลอดภัยตัวผู้เขียนเองนอกจากจะต้องอ่านตำราต่าง ๆ   เพื่อมาเตรียมการสอนแล้ว   นอกเหนือเวลาทำงานผู้เขียนยังใช้การอ่านเป็นการสร้างความบันเทิงให้กับชีวิต  การมีหนังสือดีๆ  อ่านแม้สักเล่มเท่ากับมีเพื่อนคลายเหงาที่ดีผู้หนึ่ง

5.  การอ่านเป็นการฝึกสมาธิแบบหนึ่ง

          เมื่อพูดถึงคำว่าสมาธิ  หลาย ๆ คนคงนึกถึงวัด  พระ  ความศักดิ์สิทธิ์  และความยิ่งใหญ่   แต่ความจริงแล้วเราสามรถสร้างสมาธิได้จากการอ่านหนังสือ   เพราะการอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมประเภทหนึ่งที่ต้องอาศัยสมาธิ   การรวบรวมความสนใจให้เพ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง   ซึ่งในที่นี้  หมายถึงตัวหนังสือที่ลอยอยู่เบื้องหน้าเป็นทิวแถว  ยังไม่เคยพบเห็นใคร  ที่ขณะอ่านหนังสือแล้วจะประกอบกิจกรรมอย่างอื่นไปได้ด้วยดี

 

 ประโยชน์ของการเขียน

1.  ได้ตอบสนองอารมณ์

                 การเขียนเป็นทางระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง  มนุษย์หากไม่พูดก็ต้องเขียน  การพูดค่อนข้างเสี่ยงมากกว่าในการมีผู้มาพบมาฟังในสิ่งที่ไม่อยากให้ใครได้ยิน  และในแง่กลับกันการพูดคนเดียวเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากกว่า  เพราะใคร ๆ  อาจคิดว่าเราบ้าหรือเสียสติไปก็ได้

2.  เป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่า

                   ปัจจุบันการใช้วาจาสัญญายังไม่เป็นที่ยอมรับ  การเขียนสัญญาเป็นพฤติกรรมที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย  ในอดีตหากไม่มีการจารึกถ้อยคำไว้  ไฉนเลยเราอนุชนรุ่นหลังจักได้ทราบประวัติศาสตร์ได้

 

                   จะเห็นได้ว่าการอ่านเป็นเป็นกระบวนการที่ทำให้ความคิดของเราดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่

                      ครู  70 % เชื่อว่า  การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด  สำหรับเด็กในการเรียนรู้ ในขณะที่พ่อแม่ 62 % เชื่อว่า  การอ่านเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุด  สำหรับเด็กในการเรียน   แสดงให้เห็นว่าทั้งครูและพ่อแม่ต่างก็จัดอันดับความสำคัญของการอ่านมากกว่า  ทักษะทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์  การอ่านเป็นกิจกรรมที่โดดเดี่ยวพอๆ กับการเขียน หมายถึงเป็นกิจกรรมที่ต้องทำด้วยตนเองและกระทำคนเดียว (เราเคยเห็นการร้องเพลงคู่ ร้องเพลงประสานเสียง แต่ยังไม่เคยพบการอ่านคู่ หรือการอ่านประสานเสียงเลย)

 

ครูสุภาภรณ์ พลเจริญชัย 

โรงเรียนเทศบาล4(เพาะชำ)

 

 

ข้อมูลจาก

http://www.bookandreading.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%ad/

 

 

หมายเลขบันทึก: 296707เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2009 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ประโยชน์ของการอ่าน จะเกิดได้เมื่อคนอ่านรักการอ่านด้วยนะคะ ถ้าอ่านไปใจไม่อยู่กะหนังสือ การอ่านก็ไม่มีประโยชน์

                       

                            อย่างน้องสตาร์นี่ เรียกว่ารักการอ่านตัวจริง

ถามครูอ้อย ก็จะตอบว่า ชีวิต คือ การอ่านแล้วเขียน และ ก็เขียนเพื่อ การอ่าน

แม้แต่ เพื่อนนั่งอยู่ข้างๆๆ ครูอ้อยยังต้องอ่านเธอ  อ่านใจเธอ อ่านความรู้สึกของเธอ เพื่อการเตรียมรับ ในการตอบ และสนทนา

ครูอ้อย ตอบกว้างไปไหมคะ

สวัสดีค่ะ

มาขอบคุณค่ะที่ไปเยี่ยมกัน

เพราะพอกลับมาเยี่ยมบ้างเลยพบว่าเรื่องที่ต้องการอยุ่ที่บ้านนี้นี่เอง (เรื่องวิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล) คือเคยอ่าน แล้วจำไปเล่าให้น้องสาวที่ปฏิบัติธรรมฟัง แต่จำไม่ได้ว่าอ่านมาจากบล็อคไหน เพราะตอนนั้นก็ลืมเซฟไว้

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

การอ่านได้ประโยชน์มหาศาลขอเพียงขยันอ่านเถอะนะ..ขอบคุณค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท