dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย

 

 

 


                ชีวิตประจำวันของมนุษย์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ตลอดเวลา  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิดทั้งคิดแบบแก้ปัญหา  คิดเชิงเหตุผล  คิดวิเคราะห์  ฯลฯ  จึงกล่าวได้ว่าประโยชน์ของวิทยาศาสตร์มีมากมาย  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ปฐมวัย  โดยเราปลูกฝังและวางรากฐานที่ถูกต้องให้กับเด็กในเรื่องเจตคติ ความรู้ความเข้าใจ  และทักษะการปฏิบัติแล้วด้าน   วิทยาศาสตร์ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นต้องฝึกฝนและพัฒนา  ให้เกิด  สำหรับทักษะพื้นฐาน  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  ทักษะการสื่อสาร  ทักษะการจำแนก  ทักษะการแสดงปริมาณ  เป็นต้น  เราจึงควรรู้ความหมายของทักษะพื้นฐาน  และหลักในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเล็ก    บ้าง  เช่น 

ทักษะการสังเกต

                ทักษะการสังเกต  หมายถึง  ความสามารถการใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลาย ๆ  ด้าน รวมกันเพื่อรับรู้ต่อสิ่งต่าง ๆ  ประสาทสัมผัสที่นำมาใช้ในการสังเกตเพื่อรับรู้สิ่งต่าง  ได้แก่  ทางตา  หู  จมูกและผิวกาย

                                                    จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์

1.       เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตอันจะเป็นพื้นฐานในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ทั่วไป

2.       เพื่อปลูกฝังลักษะนิสัยให้เป็นคนรอบคอบ  เมื่อพบเห็นสิ่งใดจะไม่เพียงมองผ่านไปเฉย ๆ  แต่จะสังเกตทุกอย่าง  อย่างรอบคอบ

3.       เพื่อฝึกให้เด็กสามารถนำเอาประสาทสัมผัสทั้ง  5  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้นและผิวกายมาใช้ในการสังเกต

4.       เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักเอาข้อมูลต่าง ๆ  ที่ได้จากการสังเกตมาช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา

5.       เพื่อให้เด็กได้รับความรู้กว้างขวางจากการได้สังเกตสิ่งต่างๆ

 

หลักในการจัดประสบการณ์

1.       ฝึกให้เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5  ทาง  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้นและผิวกาย

2.       ฝึกให้สังเกตจากส่วนใหญ่ไปหาสิ่งที่เล็กและซับซ้อน

3.       ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

4.       ส่งเสริมให้เด็กนำข้อมูลจากการสังเกตมาใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ

5.       จัดเตรียมสื่อ  อุปกรณ์  สถานที่  และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมและเหมาะสม

ทักษะการสื่อความหมาย

ทักษะการสื่อความหมาย  หมายถึง  ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต        การทดลอง ฯลฯ  มานำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างชัดเจนและถูกต้อง  เช่น  ภาษาท่าทาง  พูด  เขียน  รูปภาพ  ฯลฯ

 

จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์

                 1.   เพื่อให้มีทักษะในการบรรยายเหตุการณ์ต่าง ๆ  ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

 2.   เพื่อให้มีทักษะในการสื่อสารด้วยวิธีการต่าง ๆ

 3.   เพื่อให้เด็กเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี

 4.   เพื่อให้มีทักษะการตอบคำถามและตั้งคำถามที่เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์

 

หลักการจัดประสบการณ์

1.       กระตุ้นให้เด็กเป็นผู้อธิบายสิ่งต่าง    ที่เขาได้ค้นพบให้มากที่สุด

2.       เสริมแรงเด็กเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ  และมั่นใจในการคิดค้นหาคำตอบและนำเสนอข้อมูล

3.       ส่งเสริมสนับสนุนและฝึกให้เด็กเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี

4.       จัดสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฝึกทักษะการฟัง  พูด  อ่านและเขียน

 

ทักษะการจำแนกประเภท

                ทักษะการจำแนกประเภท  หมายถึง  ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลาย    ด้านรวมกันจัดสิ่งต่าง ๆ  ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียว  เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกแบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ  ความเหมือน  ความต่าง  และความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

 

จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์

1.       เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการจัดประเภทของสิ่งของด้วยวิธีการสังเกต

2.       เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับประเภทของสิ่งของ

3.       เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างและความเหมือนระหว่างสิ่งของด้วยลักษณะต่าง ๆ กัน

4.       เพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยความมีระเบียบในการจัดของให้เป็นประเภทเดียวกัน

 

หลักการจัดประสบการณ์

1.       กระตุ้นให้เด็กเสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลาย ๆ  ลักษณะให้ได้มากที่สุด

2.       สนับสนุนและส่งเสริมเด็กให้เหตุผลหลังจากที่จำแนกประเภท

3.       จัดหาวัสดุ  สื่อ  อุปกรณ์  อย่างหลากหลายและเหมาะสม

 

 

หมายเลขบันทึก: 296656เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นางสาวมณฑาทิพย์ แสงอินทร์

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังมีผู้ให้ความสนใจอยู่น้อยมาก ดิฉันคิดว่าการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าในตำรา หรือครูเป็นผู้ป้อนความรู้ให้ฝ่ายเดียว อีกทั้งการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ง่ายจังเลยยยย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท