ประวัติศาสตร์ล้านนา : พระยาติโลกราชะ พระเป็นเจ้าแห่งสามโลก


 
          ผมได้รับแจกหนังสือ “พระยาติโลกราชะ พระเป็นเจ้าแห่งสามโลก” เขียนโดย อุดม รุ่งเรืองศรี และเกริก อัครชิโนเรศ   อ่านแล้วนึกถึงคำบรรยายของ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เรื่อง ความสำคัญของรัชกาลพระญาติลกมหาราชในประวัติศาสตร์ล้านนา   และนึกถึงความสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จะศึกษาประวัติศาสตร์ของพื้นที่ที่ตนตั้งอยู่   ทั้งที่เป็นประวิติศาสตร์หลวง  และประวัติศาสตร์ราษฎร์

          เพื่อนิยามความเข้าใจความเป็นมาของสังคมในพื้นที่นั้นๆ ใหม่    ให้ครบถ้วนมากขึ้น   มีมุมมองใหม่ที่แตกต่างจากมุมมองเดิม ที่ครอบงำความคิดของผู้คนมานาน

          ผมไม่เคยรับรู้ความรุ่งเรืองของล้านนา และพระปรีชาญาณของกษัตริย์ล้านนานอกเหนือจากพญาเม็งราย    เพราะประวัติศาสตร์ไทยที่ผมเรียน เป็นประวัติศาสตร์เพื่อสร้างภาพความรุ่งเรืองของสุโขทัย – อยุธยา – รัตนโกสินทร์    กดอาณาจักรอื่นๆ เป็นเพียงบริวารหรือศัตรู    ประวัติศาสตร์แนวเก่านี้คับแคบและไม่ครบถ้วน    สร้างโลกทัศน์ที่บิดเบี้ยว ไม่ตรงความเป็นจริง

          สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงความจริงแท้มากขึ้น   ลดมายาภาพลง    ประวัติศาสตร์แนวดั้งเดิมเป็นมายาภาพอย่างยิ่ง    การวิจัยประวัติศาสตร์แนวใหม่ ที่ให้ความสำคัญแก่พื้นที่ที่ไม่ใช่ศูนย์กลางทางการเมือง    แต่มีผู้คนรวมตัวกันเป็นชุมชน มีพัฒนาการ มีการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมหรือพื้นที่ภายนอก   จะช่วยให้เราเข้าใจความเป็นไปในอดีตใกล้ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

          โดยที่ผมไม่หวังว่า เราจะเข้าสู่ “ความจริงแท้” ได้

 

วิจารณ์ พานิช
๓๑ ส.ค. ๕๒

หมายเลขบันทึก: 296463เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท