มายาภาพใน กกอ.


 

     ผมนั่งเป็นประธานการประชุม กกอ. มาแล้ว ๙ ครั้ง    ยิ่งนานขึ้นผมก็ยิ่งเห็นมายาภาพในที่ประชุมชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ 


     มายาภาพแปลว่าภาพหลอก ภาพที่ตนเห็น ไม่ใช่ภาพจริง  


     ที่ร้ายคือ กรรมการต่างคนต่างมีมายาภาพคนละแบบ    ในบางครั้งหรือบางเรื่อง แตกต่างกันแบบสุดขั้ว 


      ที่ดีคือ กรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่มาก   จึงไม่เสนอความเห็นแบบขัดแย้งกัน   ไม่มีการทะเลาะกัน หรือบลัฟกัน แบบที่เห็นในวงการเมือง 

 
     ที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องที่ซับซ้อนมากๆ หลายเรื่องไม่มีการตัดสินนโยบายที่ชัดเจนจริงจัง    ปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังเรื่อยไป    นี่คือสภาพสังคมไทยในเกือบทุกด้าน


     เพราะเราไม่มีวิธีเอาชนะมายาภาพที่ผิวเผินและขาดความครบถ้วน


    เราวางระบบงานเอาชนะปัญหานี้โดยจัดให้มีคณะอนุกรรมการวิจัยระบบอุดมศึกษา   ก็พบปัญหาใหม่ คือเจ้าหน้าที่ สกอ. ไม่มีทักษะในการจัดการให้เกิดงานวิจัย   แถมยังบอกว่าไม่มีเงินเสียอีก


     เราหวังว่า สถาบันคลังสมองของชาติจะช่วยรับงานจัดการวิจัยระบบอุดมศึกษาไปทำ    โดย สกอ. จัดสรรงบประมณให้เพียงพอ


     ถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ผมก็ไม่รู้จะเปลืองชีวิตอยู่กับเรื่องนี้ไปทำไม

 

วิจารณ์ พานิช
๕ ก.ย. ๕๒

 

คำสำคัญ (Tags): #520907#กกอ.#มายาภาพ
หมายเลขบันทึก: 296434เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

กราบเรียน ท่าน อาจารย์หมอวิจารณ์

  • ไม่กล้า "วิจารณ์" ครับ
  • แต่อ่านแล้ว "ซึ้ง และ Get" เลย ครับ
  • "นี่แหละ สังคมไทย ที่ ต้องพัฒนาสู่ LO ให้จริงจัง เลยหละครับ"

เรียนท่านอาจารย์หมอที่เคารพ

          มนุษย์อาจจะไปเหยียบดวงจันทร์ เดินทางทางข้ามโลก ข้ามทะเลได้อย่างรวดเร็วจากการพัฒนาทางวัตถุ แต่สิ่งที่มนุษย์ก้าวผ่านได้ยากที่สุด/เรียกได้ว่าพ่ายแพ้กันส่วนมากในปัจจุบัน คือการก้าวข้ามผ่านทางสภาวะจิตใจพื้นฐาน ที่เป็นลักษณะของความมีอัตตาที่สูงที่เป็นไปในลักษณะการสะสม วัตถุ ลาภ ยศ สรรเสริญ เกียรติและอำนาจ เพื่อสร้างทั้งภาพลักษณ์ และการได้รับการยอมรับจากสังคม เป็นการแพ้ใจตัวเองในสังคมทุกระดับ  แม้ในระบบการศึกษาที่บอกว่า สังคมอุดมปัญญา มีผลทำให้กระบวนทัศน์ดำเนินการ ตัดสิน วิเคราะห์ ตีความ อยู่ภายใต้สภาวะจิตแบบ mundane mind ซึ่งเป็นระบบการคิด และสติปัญญาที่ระดับนี้ ไม่ได้มีอิสระมากพอที่จะเห็นสิ่งต่างๆไปตามความจริง ...เห็นไปตามมายาคติ...กระผมประเมินตัวเองว่าเนื้องานส่วนใหญ่ กระผมก็ทำงานในระบบ "The wolrd of delusion" ทุกวัน...ไม่รู้ว่านานไป วันข้างหน้า สักวันกระผมจะเริ่มขัดแย้งในงานตัวเองกับจิตใจที่ต้องการในระดับลึกๆหรือไม่..หรือว่าตอนนี้กระผมเสียสติไปแล้ว..แต่กระผมไม่รู้ตัวเองก็เป็นได้

เรียนแสดงความเห็นด้วยความเคารพครับผม

  นิสิต

  •  เรื่องที่ซับซ้อนมากๆ หลายเรื่องไม่มีการตัดสินนโยบายที่ชัดเจนจริงจัง    ปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังเรื่อยไป    นี่คือสภาพสังคมไทยในเกือบทุกด้าน
  • เรื่องนี้ เสียดายเงินภาษีราษฎร์ครับ
  •      เพราะเราไม่มีวิธีเอาชนะมายาภาพที่ผิวเผินและขาดความครบถ้วน


    เราวางระบบงานเอาชนะปัญหานี้โดยจัดให้มีคณะอนุกรรมการวิจัยระบบอุดมศึกษา   ก็พบปัญหาใหม่ คือเจ้าหน้าที่ สกอ. ไม่มีทักษะในการจัดการให้เกิดงานวิจัย   แถมยังบอกว่าไม่มีเงินเสียอีก

  • ไม่มีเงินก็ทำได้ครับ แต่อยู่ที่ว่าเขาจะตั้งใจทำไหม

 


 

เรียนอาจารย์Prof. Vicharn Panich ที่เคารพ

  • บางทีการเปลี่ยนแปลงในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อในสังคมแบบเรา ๆ อาจต้องการความเด็ดขาด หรือเผด็จการก็อาจจะเป็นได้ ดูเหมือนการให้เสรี คุณงามความดีมีพลังไม่เพียงพอต่อการคานกับโลภะ โทสะ และโมหะ ของคนส่วนใหญ่
  • คนในบ้านเราปัจจุบันถูกปลูกฝังให้รังเกียจการใช้อำนาจ ทั้งที่เบื้องหลังในแทบทุกเรื่อง และในแทบทุกด้าน มีการใช้อำนาจกันอย่างหนักหนาสาหัส การเมืองบ้านเรามีลักษณะหน้าไว้หลังหลอก ใคร ๆก็รู้  แต่เรารังเกียจ และถือว่ามันช่างแสนจะโง่เขลา หากจะมีใครสักคนลุกขึ้นมาใช้อำนาจแม้จะเป็นไปเพื่อความเป็นธรรมก็ตาม
  • ปัจจุบันกลายเป็นว่า คนที่โดดเด่นในสังคม หรือในบ้านเมือง คือ คนที่มีทักษะสูงในการแสดงพฤติกรรมหน้าไว้หลังหลอก
  • ผมเคยได้ยินท่านพุทธทาสสอนว่า ประชาธิปไตย หมายความว่าประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่  การปกครองจะโดยใครก็ตามถ้าเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยได้
  • ดูในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เรา การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากคนที่มีหัวใจยิ่งใหญ่ คนที่คิดทำประโยชน์เพื่อคนอื่น ทั้งนั้น
  • ผมเชื่อว่าเมืองไทย มีคนที่มีหัวใจยิ่งใหญ่ คนที่คิดทำประโยชน์เพื่อคนอื่น คงมีไม่น้อย แต่คงเป็นเพราะ ความคิดแบบประชาธิปไตย ที่หมายถึงอำนาจเป็นของประชาชน หรือประชาชนเป็นใหญ่นี่เข้าครอบงำเสียจนเต็มแผ่นดิน คนแบบนี้จึงไม่มัโอกาสเกิด
  • ผมเชื่อว่าการรู้จักอด รู้จักรอ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงจากข้างในออกมานั้นดีแน่  แต่เกรงว่ามันจะไม่ทันกับหายนะที่สังเกตเห็นว่ามันมีการเคลื่อนตัวที่ค่อนข้างเร็วมาก เกรงจะเข้าตำรา "กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้" เสียก่อน
  • ประโยค "ถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ผมก็ไม่รู้จะเปลืองชีวิตอยู่กับเรื่องนี้ไปทำไม" สะเทือนความรู้สึกผมจังเลย

paaoobtong
11/09/52
12:11

<h3>&nbsp;<span style="text-decoration: underline;"><em>The </em></span><a onmousedown="return clk(this.href,'','','res','1','')" href="http://worldofdelusion.com/"><em>World of Delusion</em></a>&nbsp;&nbsp;(ถูก) &nbsp;กระผมพิมพ์ "<span style="COLOR: #0000ff"><span style="BACKGROUND-COLOR: #ffff00">The wolrd of delusion" (ผิด)</span></span></h3>

แก้ไขใหม่ที่พิมพ์ผิดไปประข้อความที่ว่า "The world of delusion"

นิสิต

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

ผมเรียนรู้ว่าการเลียนแบบนโยบายที่มาจากต่างประเทศนั้นควรมีการปรับให้เหมาะสมกับไทยหรือใหม่ ผมกำลังกล่าวถึงนโยบายการเงินอุดมศึกษา ที่ตั้งหน่วยงานกันชนขึ้นมาเพื่อจัดการงบประมาณของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ (เลียนแบบอังกฤษ) และตั้งธงไว้ว่าจะยุบมหาวิทยาลัยเล็กให้ได้

1. ยุบแล้วสังคมดีขึ้นหรือไม่

2. มหาวิทยาลัยเล็กหลายแห่ง ผมว่ามีปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่นและธรรมาภิบาลมาก เป็นบ่อเกืดปัญหาทั้งมวลรวมถึงการบริหารจัดการและการไม่ผ่านการประเมิน ทำไมเราไม่ไปแก้ปัญหาตรงนั้น หรือการยุบคือการแก้ปัญหา

3. การปฏิรูปครั้งนี้ไม่ได้ใช้ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอุดมศึกษาใหม่ เพราะเน้นอุดหนุนคนเก่ง คนไม่เก่งอยากเข้าต้องจ่ายแพง ก็เป็นนโยบายแบบเดิม ๆ ที่ทำให้สังคมเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น มันมีนโยบายการเงินอุดมศึกษาอีกหลาย ๆ อย่างที่จะแก้ไขได้ แต่ผลของมันต้องออกมาว่า คนรวยจ่ายค่าเรียนมากกว่าคนจนหรือรัฐต้องอุดหนุนคนจนมากกว่า เช่นภาษีบัณฑิต แต่คงเป็นนโยบายไม่ได้เพราะคนรวยเป็นคนออกกฎหมาย

3. เห็นด้วยกับอาจารย์ ซึ่งทั่วโลกสนับสนุนให้เอกชนเข้ามารับภาระต้นทุนการศึกษาเพิ่มขึ้น

โดยความเคารพอย่างสูง

ฉันธะ

สาธุค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท