AAR มหกรรมจัดการความรู้ระบบบริการปฐมภูมิ


ฐานทักษะการออกแบบการเรียนรู้

วันที่

28 .. ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานมหกรรมจัดการความรู้ระบบบริการปฐมภูมิของ สปสช. ตอนแรกที่ได้ทราบจาก คุณอ้อม อุรพิณ ว่าจะให้มาช่วยเป็นวิทยากรรับเชิญดูแลฐานการออกแบบการเรียนรู้ ยอมรับเลยว่าตอบตกลงรับคำเชิญในทันทีโดยไม่มีลังเล เพราะดีใจที่จะได้มาเจอเพื่อนๆ พี่ๆ ที่ สคส. และรู้สึกเหมือนได้ตอบแทนคุณ สคส. ที่ช่วยเปลี่ยนมุมมองชีวิตการทำงาน ตั้งแต่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ IOCS เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับ ครูใหม่ วิมลศรี คือขอลางานไป แต่เนื่องจากตารางค่อนข้างแน่น จึงลาพักร้อนไปได้แค่วันเดียว แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าเพราะได้อะไรดีๆ กลับมามากมาย

ช่วงที่คิดออกแบบฐานยอมรับว่ายากอยู่เหมือนกัน เพราะถือว่าเป็นงานแรกที่ได้ออกมาทำภายนอกที่ทำงาน ซึ่งมีปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอยู่หลายอย่าง รวมถึงข้อมูล

Background ของผู้ที่มาเข้าร่วมก็มีไม่มาก แต่พอจะจินตนการและวาดภาพ ออกแบบกิจกรรมมาได้เป็น 2 กิจกรรม เจอคำถามมาเยอะเลยว่าทำไมต้องมี 2 กิจกรรม เพราะจริงๆ แล้วต้องการให้เห็นความแตกต่างของการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นด้าน "ความรู้" หรือเน้นทางด้าน "ทักษะ" ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้เหมือนกัน แต่มีวิธีที่จะทำให้สำเร็จต่างกัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย, องค์ประกอบพื้นฐาน และสภาพแวดล้อม ถ้าได้รับการออกแบบที่เหมาะสม ก็จะสามารถเห็นผลได้เร็ว และชัดเจนตามเป้า งานนี้ต้องขอบคุณ พี่หญิง นภิญทร ที่มาช่วยเป็นวิทยากรคู่เนื่องจากเวลาที่มีจำกัด ทำให้ต้องทำพร้อมกันทั้ง 2 กิจกรรม และอีกคนที่ขาดไม่ได้คือ น้องกิ๊ก มุจาลินท์ ที่ดูแลจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ทั้งหมด ยอมรับว่าน้องกิ๊กเก่งมากที่เตรียมของได้ตรงตามที่คิดออกแบบไว้ จนแอบยิ้มดีใจเลยตอนที่ได้เห็นทีแรก

งานนี้คาดหวังว่าคนที่เข้าร่วมจะได้อะไรไปบ้างจากกิจกรรมในฐานของเรา อย่างน้อยได้จุดประกาย มุมมองความคิด ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบให้มากจนเกินไป และการมาครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้เรียนรู้ เทคนิค หรือทักษะต่างๆ จากวิทยากรท่านอื่นๆ

ประทับใจมากที่ผู้เข้าร่วมทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม Alert

กว่าที่คิดไว้เยอะมาก หลายท่านมีอายุแล้ว แต่ตอนทำกิจกรรมเหมือนได้กลับเป็นเด็กอีกครั้ง ได้เห็นรอยยิ้มของผู้เข้าร่วมงาน เท่านี้ก็สุขใจแล้ว (ช่วงนี้งานค่อยข้างเครียด รอยยิ้มที่ทำงานเเหลือน้อย ได้มามหกรรมครั้งนี้เหมือนได้มาพักใจ มีความสุขมากครับ)

ช่วงเวลาหลังฐานที่ดูแลเสร็จได้มีโอกาสเข้าไป Observe

ฐานทักษะการจับประเด็นของครูใหม่ เสียงระฆังแรกที่ได้ยิน ยอมรับว่าความคิดหยุดไปชั่วขณะเหมือนกัน แค่จิตยังไม่ได้กลับมาที่ตัวทันที ยังมัวคิดกังวลเรื่องงานทั้งๆ ที่ตรงหน้าคือไม่ไช่ เสียงระฆังเย็นๆ เรียกสติกลับมาได้ดีทีเดียว การสร้างสมาธิและรู้จักหาจุดเชื่อมโยงน่าช่วยเสริมทักษะการจับประเด็นของตนเองดีขึ้น และคิดจะลองกลับไปฝึกที่ทำงานเช่นกัน แต่คงต้องเริ่มต้นด้วยการฝึกสติก่อน โดยเฉพาะการฟังในสิ่งที่ต้องการฟัง เพราะ Office ที่ทำอยู่ ไม่ต่างอะไรกับตลาดสด หรือตลาดหุ้น ที่มีแต่คนเดินไปมา เสียงโทรศัพท์ที่ดังทุกๆ หนึ่งนาที มือถือก็เข้า หัวหน้าก็เรียก สมองเหมือนจะรับรู้ในทุกสิ่งที่เข้ามา ยอมรับว่าจิตค่อนข้างฟุ้งซ่านและจับประเด็นเวลาคุยกับใครได้ไม่ดี จนมีนิสัย "เดี๋ยวส่งเอกสารเรื่องที่คุยกันให้ด้วยนะครับ" ซึ่งนั่นหมายถึงจับประเด็นเรื่องที่คุยไม่ค่อยได้ ขอกลับไปอ่านทำความเข้าใจอีกครั้ง หาเรื่องให้ตัวเองเหนื่อยเองเพราะต้องทำงานอย่างน้อยก็ 2 รอบ

เสียดายที่ไม่ได้เข้าไป Observe

ฐานทักษะการตั้งคำถามของ .เอ็ม มณฑล เพราะเป็นสิ่งที่ตนเองยังขาดอยู่มาก เนื่องจากงานปัจจุบันที่ทำส่วนใหญ่เป็นงานแก้ปัญหา เราเป็นผู้หาคำตอบให้กับปัญหาหรือคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นทุกครั้งเวลาที่เกิดคำถามขึ้นมา สมองก็จะพยายามคิดหาคำตอบของตัวเองทันที ผิดถูกไม่รู้ แต่ได้คำตอบออกมาแล้ว จึงไม่ถามคนอื่น ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะดีนัก ต้องพยายามแก้ไข เพราะหลายครั้งจะเกิดเหตุการณ์ที่ว่า "เราไม่รู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้ว่าต้องรู้" และไม่เคยออกปากถาม

สำหรับภาพรวมกิจกรรมในฐานการออบแบบการเรียนรู้ค่อนข้างพอใจ มีจุดที่ต้องปรับอยู่บ้างเช่น กิจกรรมเลขาขั้นเทพ คนที่ถูกเลือกออกมาบางคนเกิดความกดดันจากความตั้งใจของตนเอง และเพื่อนๆ ในทีม จึงคิดว่าจะปรับลดความเข้มของกฏลงมาอีกเล็กน้อย เช่น ให้เห็นแป้นตำแหน่งที่โดนปิดตั้งแต่แรก หรือแนบวิธีการสอนพิมพ์สัมผัส เพื่อเป็นต้นแบบความคิด หรือตัวอย่างที่จะเอาไปต่อยอดในการพลิกแพลงออกแบบ

ส่วนกิจกรรมเชฟมือโปร อาจจะเพราะมัวเพลิน หรือสนุกกับการลองผิด ลองถูก จนลืมที่จะออกแบบการเรียนรู้ จึงอาจจะต้องเพิ่มขั้นตอนให้สรุปรูปแบบที่ออกแบบมาได้ แล้วพิจารณาจุดเด่น จุดด้อยของวิธีที่เลือกมาก่อนลงมือ โดยในช่วงสรุปผลจะให้คุยกันด้วยว่าจุดเด่น จุดด้อย ที่คิดไว้ เป็นไปตามนั้นหรือเปล่า และถ้าต้องปรับวิธีการ คิดว่าน่าจะปรับที่จุดไหนมากที่สุด เป็นต้น

คราวหน้าถ้า สคส

มีงานหรือกิจกรรมให้ช่วย บอกมาได้เลยนะครับยินดีเสมอ เพราะถ้าสังเกตดีๆ ทุกครั้งกลับไป มักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับทักษะกระบวนการเรียนรู้ของตนเองอยู่เสมอ ไม่มากก็น้อย ยิ่งได้ฝึกใช้บ่อยๆ ยิ่งชำนาญ

หมายเลขบันทึก: 296007เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2009 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วันนี้คุยออกแบบ เอาไอเดียของถา "เชฟมือโปร" ไปใช้ KM Workshop แล้วครับ

โดยมีหญิง และอ้อ เป็นผู้ดัดแปลงและออกแบบ

อ่านแล้วเสียดายเลยที่งานนี้ไม่มีโอกาสได้ไปสำรวจ

แต่ก็รู้สึกได้ว่าทีมที่เคยร่วมโครงการ IOCS เก่งจริงๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท