การแพทย์ผสมผสาน


หมอที่เก่งคือหมอที่รักษาโรคที่ยังไม่เกิด

ผมชอบที่จะเรียนรู้ศาสตร์หลากหลายสาขา จนถูกแซวอยู่ย่อยๆว่ามีหลักสูตร อะไรบ้างที่ผมยังไม่ได้เรียน การเข้าไปเรียนรู้ที่หลากหลายทำให้ผมมีทางเลือกสำหรับการดูแลคนไข้ในระดับ ปฐมภูมิ

วันนี้มีโอกาสร่วมประชุมวิชาการ การแพทย์ไทย-จีน ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ " การรักษาโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขด้วยศาสตร์การฝังเข็ม " หลังจากที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมหลายปี ดูค่อนข้างคึกคักเพราะเป็นการร่วมมือของหลากหลายสมาคม และเป็นการรวบรวมเหล่าจอมยุทธขั้นเทพทั้งหลายในประเทศไทย ทั้งแพทย์จีนในเมืองไทย แพทย์แผนจีนรุ่นใหม่ แพทย์แผนปัจจุบันที่สนในศาสตร์แพทย์แผนจีน หรือแพทย์ที่สนใจเฉพาะการฝังเข็ม และได้พบเห็นแพทย์แผนจีนจากต้นฉบับในเมืองจีนที่มาร่วมประชุม และมีอาจารย์หลายท่านที่มาร่วมให้ความรู้ใหม่ๆ ดีใจกับเมืองไทยที่มีทางเลือกในการรักษาโรคที่หลากหลาย แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าสิ่งเหล่านี้จะกระจายไปสู่ประชาชนที่อยู่ในระดับปฐมภูมิในชนบทได้อย่างไร ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่เหมือนแพทย์แผนตะวันตกดังที่ผ่านมา

แต่ยังงัยก็ขอคารวะเหล่าจอมยุทธ ทั้งจากเมืองจีน และที่ซ่อนตัวอยู่ในเมืองไทยทุกท่านครับ

วันนี้ยิ่งฟังยิ่งตอกย้ำคำกล่าวในคัมภีร์เน่ยจิง ที่กล่าวไว้เมื่อหลายพันปีก่อนว่า หมอที่เก่งคือหมอที่รักษาโรคที่ยังไม่เกิด

 
   

หมายเลขบันทึก: 295709เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอคำนับหนึ่งลิตรด้วย ไวน์เซ่น

ไปไม่ชวนกันมั่งเลย เพ่

ผมก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุมมาหลายปีแล้วเหมือนกัน

"หมอที่เก่ง คือ หมอที่รักษา โรคที่ยังไม่เกิด"

นี่คือ ปรัชญาที่สำคัญ ที่ อาจารย์แพทย์ทั้งหลาย ควรใส่ใจและไตร่ตรอง

ชอบและขอบคุณ หมอสีอิฐ

ที่ช่วยสะกิด และเตือนใจ ให้แก่หมอทั้งหลาย ได้ตระหนัก ในเป้าหมายแห่งชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท