Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

จะนำอุปนิสัยทั้ง 7 ไปใช้ได้อย่างไร ?


จะเห็นได้ว่าอุปนิสัยทั้ง 7 นี้ สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวตะวันออกมาช้านาน แล้วคุณ Covey ก็รวบรวมออกมาเป็นหมวดหมู่ ถ้าสังเกตดีๆ นิสัยเหล่านี้เราถูกปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กๆ ในรูปคำอบรมสั่งสอนจากปู่ย่าตายาย จากศาสนา จากพ่อแม่ ครูอาจารย์ แต่เราไม่ได้เอาออกมาใช้กันเท่าไหร่นัก ซึ่งจริงๆแล้ว สามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตได้หลายเรื่อง เช่น เรื่องการเรียน การงาน ครอบครัว เพื่อนฝูง เป็นต้น

ดร.สตีเฟ่น อาร์ โควีย์ ผู้แต่ง "7 อุปนิสัย พัฒนสู่ผู้มีประสิทธิภาพ (THE 7 HABITS OF HIGHLY EFFECTIVE PEOPLE) หนังสือที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารฟอร์บให้เป็น 1 ใน 2 หนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในศตวรรษ 20  โควีย์บอกถึงหลักคิดพื้นฐานสำคัญสุดในการพัฒนาตนเองและการสร้างความเป็นผู้นำคือ ต้องผสานสรีระหรือกาย (Body), ความคิด (Mind), จิตวิญญาณ (Spirit), และหัวใจ (Heart) ให้เป็นหนึ่งเดียว

1.      Body สรีระเป็นเสมือนตัวแทนของเศรษฐกิจ

2.      Mind รับรู้ เรียนรู้ วิเคราะห์

3.      Heart เป็นตัวแทนของความรักความสัมพันธ์ ความมุ่งมั่นตั้งใจ

4.      Spirit เป็นเรื่องของจุดมุ่งหมายและหลักการ สำนึกต่างๆ ของชีวิต

4 เรื่องหลักที่กล่าวไปข้างต้น  เขาบอกว่าเป็นหลักคิดพื้นฐานของศาสนาทุกศาสนาในโลก!!! และทั้ง 4 องคาพยพต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปมิได้ หากขาดด้านใดด้านหนึ่งไปจะกระทบกับอีกด้านหนึ่งได้"

โควีย์บอกว่า องค์กรหรือผู้นำที่ไม่สามารถก้าวผ่านไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้เพราะ คนในองค์กรไม่สามารถจะผสมผสาน 4 เรื่องหลักเข้าด้วยกันเขาให้ลองถามตัวเองเล่นๆ ดูอย่างนี้ !!!!

1. หัวใจ (Heart) !!!

คำถามคือ จะมีสักกี่คนที่เชื่ออย่างแท้จริงว่ามีความสามารถเหนือกว่างานที่ทำงาน หรือ

ทำงานด้วยความกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิต หรือต้องตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องทำให้ผลผลิตมากขึ้นแต่ต้องกดให้ต้นทุนต่ำลง คำตอบที่ได้คือ คนส่วนใหญ่ไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์เยี่ยงนี้ และตรงนี้เองที่ต้องกลับไปขบคิดว่า วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดและมีอำนาจเหนือตัวบุคคลหรือไม่

โควีย์บอกว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดีสามารถให้ประโยชน์ได้แต่ก็แค่เครื่องจักรตัวหนึ่ง คุณอาจจะเป็นลูกน้องที่ดี แต่อาจเป็นเจ้านายที่เลวก็ได้ ต้องพิจารณาและดูตัวเองว่าเก่งเรื่องไหน  ทำงานไปแล้วถูกต้องถูกใจหรือไม่ หากมีคุณสมบัติที่กล่าวไปในข้างต้นนั่นแสดงว่าคุณค้นพบตัวจริงของคุณเข้าให้แล้ว ที่บอกว่าต้องขบคิดเพราะในโลกของเศรษฐกิจเราต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันจากจีนและอินเดีย และกว่า 80% ของสินค้าที่ผลิตขายกันอยู่ในโลกตอนนี้เป็นสินค้ามูลค่าเพิ่มที่ก่อเกิดมาจากฐานความรู้ (KNOWLEDGE WORKER) จากเมื่อก่อนที่สินค้ามูลค่าเพิ่มจากฐานความรู้มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น

2. ความคิด(Mind)

สตีเฟ่นเชื่อว่าหากมีจิตใจที่ปิดกั้นแล้วเป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนค่านิยมได้ หรือใช้วิสัยทัศน์ใหม่ๆ ได้

3. สรีระ Body

คำถามที่สตีเฟ่นอยากให้ตอบคือแต่ละวันคุณใช้เวลากี่เปอร์เซ็นต์ไปกับการทำงานเร่งด่วน หากแต่เป็นเรื่องที่ไม่มีความสำคัญ?

            คำตอบคือ  เวลากว่า 50% หมดไปกับงานเร่งด่วนแต่ไม่มีความสำคัญ อย่างเช่นเรื่องของการประชุม

4. จิตวิญญาณ Spirit

ถามว่าคุณให้เวลากับงานขององค์กรมากน้อยแค่ไหน หรือเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเล่นเกม หรือหมกมุ่นอยู่กับวาระซ่อนเร้น

คำตอบคือ 75% หมดไปกับเรื่องที่กล่าวในข้างต้น จะมีเพียงแค่ 25% เท่านั้นที่ทุ่มเทไปกับการทำงาน ไม่เท่านั้นอีกปัญหาสำคัญของคนและองค์กรคือขาดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน มีคนถามสตีเฟ่นว่าทำไมคนในองค์กรจึงไม่ไว้วางใจในกันและกัน เขาตอบแบบนี้!!! มันเกิดจากการที่กลุ่มคนยังยึดติดอยู่กับกรอบคิดในยุคของอุตสาหกรรมเดิมอยู่ ทำงานในแนวทางแบบเดิมอยู่สตีเฟ่นบอกว่ายุคของเศรษฐกิจมี 5 สมัยยุคแรกเป็นยุคของนักล่า หรือ Hunter/Gatherers

ก่อนจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคการทำ การเกษตร หรือ Agrarian โลกยังคงพัฒนาต่อเนื่องจากเกษตรกรรมสู่ยุคอุตสาหกรรม Industrial และปรับเปลี่ยนพัฒนาสู่ยุคของข้อมูลข่าวสารInformation/Knowledge Worker และยุคของสติปัญญา (Wisdom) ถึงตอนนี้เราอยู่ในยุคที่ 4 เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและสังคมแห่งความรู้ ก่อนพัฒนาสู่ยุคของสติปัญญา

สตีเฟ่นบอกว่าสิ่งสำคัญสุดในยุคนี้  คือ  การลงทุนเรื่องความรู้ เขาเชื่อว่าการลงทุนในเรื่องของมนุษย์ก็เหมือนกับการลงทุนในเรื่องเครื่องจักร แต่จะต่างกันก็ตรงที่คุณค่าของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นตามเวลา ขณะที่เครื่องจักรจะบุบสลายตามกาลเวลา

สตีเฟ่นยกตัวเหตุการณ์ครั้งที่เขามีโอกาสพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของบริษัทไมโครซอฟท์บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์อันดับต้นของโลก และผู้เชี่ยวชาญคนที่เขาพูดคุยด้วยบอกว่าซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ สามารถที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 10,000 เท่า นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่างานที่ใช้ความรู้จะแสดงประสิทธิผลออกมาได้อย่างเต็มที่

 

             ปัญหาที่สำคัญของพนักงานองค์กรก็คือ พนักงานมักไม่รู้เป้าหมายขององค์กร ไม่รู้ว่าองค์กรกำลังทำอะไร จะไปทิศทางไหน อย่างไร ซึ่งทำให้ไม่เกิดการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

ดังนั้น  ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า  ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ประกอบด้วย ปัจจัย 4 ด้าน คือ

1. ร่างกาย ( Body )

2. จิตใจ ( Heart )

3. สติปัญญา ( Mind )

4. จิตวิญญาณ ( Spirit )

หากขยายความของทั้ง 4 ปัจจัย ร่างกายจะหมายความรวมถึง ภาวะเศรษฐกิจ การดำรงชีพให้อยู่รอด ( To Live ) สติปัญญารวมไปถึง สมอง ความคิด ทำอย่างไรจะให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนา ( To Learn ) จิตใจจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์และสังคม ( To Love ) และสุดท้ายคือ บุคคลจะดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าได้อย่างไร จะสร้างตำนานของชีวิตให้กับโลกใบนี้ได้อย่างไร ( To Leave a Legacy )

จากการวิจัย โควีย์ ชี้ให้เห็นว่าความไว้วางใจในองค์กรมักอยู่ในระดับต่ำ เหตุผลที่ความไว้วางใจระหว่างกันและกันอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนสูง เพราะสติปัญญาของคนไม่ได้เรียนรู้ให้มีวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายเดียวกัน ไม่ได้ยึดถือค่านิยมในการอยู่ร่วมกัน เมื่อไม่เห็นความสำคัญเหล่านี้ ร่างกายจึงไม่ได้ถูกสั่งงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ด้วย จึงไม่มีพลังมากระตุ้นให้ทุ่มเทกายใจที่จะทำงาน สุดท้ายวิญญาณที่ไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงไม่มี นี่คือปัจจัยด้านพื้นฐานความต้องการของมนุษย์

ในระดับองค์กรแล้ว สิ่งที่ทำให้พนักงานไม่รู้เป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กร และไม่ปฏิบัติตามความต้องการขององค์กร มีสาเหตุตั้งแต่การขาดความชัดเจนของเป้าหมายเอง หรือไม่ได้อธิบายความหมายให้ทุกคนทราบ ทำให้ไม่รู้ว่าวิสัยทัศน์ขององค์กรจะไปทิศทางใด หรือบางคนรู้แต่ก็ไม่มีคำมั่นสัญญาว่าจะทำตามนั้นหรืออาจไม่มีการแปลงไปเป็นแผนปฏิบัติ หรือบางแง่มุม เพราะไม่ได้นำไปผูกโยงกับะบบการจ่ายค่าตอบแทน ไม่มีการผนึกกำลังประสานความต่าง ( Synergy ) ทำให้คนยังมองไม่เห็นวามแตกต่างความสามารถของแต่ละคน หรือเพราะคนไม่มีความรับผิดชอบจึงไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

ทำไมพนักงานบางคนจึงอยากจะทำหรือไม่อยากจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กร

โควีย์ ตั้งคำถาม 4 คำถาม เพื่อวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว คือ

1. ถ้าทำงานอยู่ในองค์กรที่มีการเมืองในองค์กรมาก และระบบการจ่ายค่าตอบแทนไม่ยุติธรรม ได้รับค่าจ้างที่ไม่เหมาะสมกับองค์กร จะทำอย่างไรถ้าได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรม แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างดี เช่น ไม่ได้รับการเคารพ มีวิธีปฏิบัติของหัวหน้าที่ไม่เสมอต้นเสมอปลายขึ้นอยู่กับอารมณ์ จะทำอย่างไร

2. ถ้าได้รับการจ่ายค่าจ้างที่ยุติธรรม ได้รับการปฏิบัติที่ดีจากหัวหน้า แต่ความคิดเห็นที่เสนอไปไม่ได้รับการตอบสนอง จะทำอย่างไร

3. ถ้าได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ได้ลาออกจากงานไปเลย หรือ สองทำตามคำสั่งแต่ผูกพยาบาทกับหัวหน้าของตนเอง สาม ทำไปตามกฎระเบียบของบริษัท สี่ รู้สึกอยากทำงานร่วมมือให้กับบริษัท ห้า มีคำมั่นสัญญา ทำงานให้กับองค์กรด้วยความจริงใจ และ หก มีความท้าทาย ตื่นเต้น ที่จะสร้างอะไร ใหม่ ๆ ให้กับองค์กร

4. ถ้าได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม ได้รับการปฏิบัติที่ดี ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีคุณค่า มีความหมายต่อเรา แต่ในที่ทำงานกลับมีแต่การหลอกลวงลูกค้าและคู่ค้าหรือแม้แต่พนักงานคนอื่นจะทำอย่างไร

จากคำถามทั้ง 4 เขาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เลือกตอบ 3 ข้อแรกมากที่สุด คือ ถ้าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีจะเป็นกบฎ หรือลาออกไปเลย ถ้าได้รับค่าจ้างที่ไม่เหมาะสมแต่ดูแลไม่ดี ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของหัวหน้า ก็จะทำตามสั่ง แต่ผูกพยาบาทไว้ หรือ ทำตามกฎระเบียบเท่านั้น ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือความคาดหมาย นี่เป็นเพราะการจัดการของผู้บริหารใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับจากองค์กรเข้ามาจัดการ แต่สำหรับยุค knowledge Worker แล้ว องค์กรต้องการคำตอบว่าพนักงานพร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจให้กับองค์กร หรือมีคำมั่นสัญญาว่าจะทำงานให้เสร็จ หรือ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีและมีความตื่นเต้นกับสิ่งที่ท้าทายตลอดเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ภาวะผู้นำจัดการ

ถ้าเราละเลยการดูแลปัจจัยทั้ง 4 ด้านของมนุษย์ เท่ากับว่าเราได้เปลี่ยนพนักงานไปสู่สิ่งไม่มีชีวิต แล้วเราจะจัดการกับสิ่งของในองค์กรอย่างไร ส่วนใหญ่คนเป็นหัวหน้าก็จะเข้าไปดูแลและใช้วิธีกระตุ้นจูงใจด้วย Carrot-and-Stick ทำได้ก็ให้รางวัล ทำไม่ได้ก็ลงโทษ แล้วองค์กรก็มุ่งไปสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้นบทบาทขององค์กรจึงต้อง กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมให้สอดคล้องกัน และองค์กรยังต้องสื่อสารถ่ายทอดให้พนักงานรับรู้ ว่าองค์กรต้องการมุ่งไปทางไหนอย่างแท้จริง จึงจะทำให้พนักงานมีคำมั่นสัญญาที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องแปลงไปสู่แผนปฏิบัติอย่างจริงจัง ต้องให้คุณค่าในความแตกต่างของพนักงานแต่ละคน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน และไม่ลืมที่จะสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมด้วย ต้องทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำตามนั้นออกมา พนักงานคือผู้มีส่วนในการผลักดันองค์กรอย่างแท้จริง และเขาจะทำได้ก็ต่อเมื่อเข้าใจ เห็นความสำคัญ และพร้อมที่จะฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ

7 อุปนิสัยนี้ ทำแล้วไม่ได้บอกว่าเราจะเป็นผู้สำเร็จในชีวิต แต่จะพัฒนาเราให้มีประสิทธิผลที่สูงขึ้น โดยพัฒนาเราจากการที่เป็นคนที่ "ต้องพึ่งคนอื่น" สู่การเป็นคนที่สามารถ "พึ่งพาตนเองได้"

จากนั้นพัฒนาสู่เป้าหมายการ "พึ่งพาซึ่งกันและกัน" การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข  ดังนั้น ต้องถามตัวเองว่า วันนี้อุปนิสัยของเราเป็นแบบผู้ที่มีประสิทธิผลหรือยัง

และที่สำคัญ คือ เรียนรู้อยู่เสมอ และต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตนะคะ

   อ่านอุปนิสัยข้ออื่นได้ที่นี่ค่ะ  http://gotoknow.org/blog/the7habits

หมายเลขบันทึก: 295703เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับตวามรู้ดีดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์มอบให้ครับ ผมเพิ่งจะไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้มาครับ พอมาอ่านบทความของอาจารย์ จะทำให้ผมเข้าใจมุมมองต่างๆ ได้ง่ายและลึกซึ้งยิ่งขึ้นครับ อาจารย์สรุปได้ดี และครบถ้วนมากครับ

ขอบคุณค่ะ  แล้วจะสรุปประเด็น  แตกประเด็นมาให้อ่านอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท