สื่อสารให้สร้างสรรค์ ต้องตรงกันในการมอง


Transactional analysis

        ในการสื่อสารให้สร้างสรรค์  ตามทฤษฎี Transactional analysis  จะเป็นการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ผู้ฟัง  ว่าเป็นผู้ฟังที่มองตัวเองแบบไหน  แล้วจึงสื่อสารตามมุมมองของเขาที่เขามองตัวเอง

 

      นั่นคือจะมีมุมมองด้วย  3   แบบ   คือ

 

1.    P (Parent)  มุมมองแบบ ผู้อาวุโส

2.    A ( Adult)   มุมมองแบบ   ผู้ใหญ่

3.    C ( Child)    มุมมองแบบ   เด็ก

 

ดังนั้น ในการสื่อสารแบบ I in you จะต้องวิเคราะห์ผู้ที่เราสื่อสารด้วย ให้ตรงกับมุมมองที่เขามองเขาเอง  ดังนี้

 

ถ้าผู้ที่เราสื่อสารด้วย เขามองตัวเองเป็นเด็ก (C)  เราก็คงที่จะต้องสื่อสารในมุมมองของการมองตัวเองเป็น ผู้อาวุโส(P)  อย่างนี้ ก็ไม่ขัดกัน

 

แต่ที่ผมเห็นบ่อยๆ และ ขัดกัน  อันจะนำไปสู่การสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์ คือ

 

ผู้สื่อสาร มักจะมองว่าตัวเองเป็น ผู้อาวุโส(P) และ มองคนอื่นว่าเป็นเด็ก (C)  ในขณะที่คนที่มองเขาว่าเขาเป็นเด็ก (C) นั้น  แท้จริงแล้ว  เขามองตัวเองว่าเขาเป็นผู้ใหญ่(A)   การสื่อสารในลักษณะนี้  นอกจากไม่สร้างสรรค์แล้ว  ยังแทบจะสื่อสารกันไม่ได้เลยครับ  อาจจะนำไปสู่การขัดแย้ง การทะเลาะถกเถียงกันหรือ การเก็บกด

 

เท่าที่ผมพบการสื่อสารในลักษณะดังกล่าว  มักจะเกิดขึ้นกับ

 

ผู้บริหาร            สื่อสารกับ       ลูกน้อง

ผู้นิเทศ             สื่อสารกับ       ผู้ถูกนิเทศ

ครู                   สื่อสารกับ       นักเรียน

ผู้มีอายุมาก        สื่อสารกับ       ผู้มีอายุน้อย

 

ทั้งผู้บริหาร ผู้นิเทศ   ครู    ผู้มีอายุมาก  มักจะมองว่าตัวเองเป็นผู้อาวุโส(P)  เป็นผู้เหนือกว่า  และ มองว่า ลูกน้อง  ผู้ถูกนิเทศ  นักเรียน ผู้มีอายุน้อย เป็น เด็ก(C)

 

ทั้งที่ตามความเป็นจริงแล้ว  ทั้งลูกน้อง  ผู้ถูกนิเทศ  นักเรียน  และ ผู้มีอายุน้อย   หลายๆคน   เขามองตัวเองว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ (A)

 

      เหล่านี้ ล้วนเป็นการมองที่เกิดจากวัฒนธรรม อำนาจนิยม  ครับ  เป็นการมองแบบ I am OK , You  are not OK เป็นการสื่อสารในระดับแค่ I in me เท่านั้นครับ เป็นการสื่อสารที่ ทำลาย มากกว่า สร้างสรรค์

 

      การสื่อสารจะให้สร้างสรรค์ ไปถึงขั้น สุนทรียสนทนา   ก็ควรที่จะเป็นการสื่อสารในระดับ I in you มองแบบ  I am OK , You  are OK นั่นคือ เป็นการสื่อสารด้วยการ ให้เกียรติคู่สนทนาตามที่เขามองตัวเองครับ เป็นการมองแบบ "มนุษย์นิยม"

 

       อย่าไปมองว่าพอตัวเองมีอำนาจแล้ว   คนอื่นก็เป็นเด็กไปหมด  ตามสไตล์ "อำนาจนิยม"

 

 

หมายเลขบันทึก: 295385เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 04:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะท่านรองฯ ขอบคุณนะคะที่ไปเยี่ยม blog รายการสำหรับเด็ก

มีอะไรแนะนำ ยินดีนะคะ blog ของท่านรองฯ มีข้อมูลให้เรียนรู้เยอะดีนะคะ

เป็นประโยชน์สำหรับมุมมองการบริหารที่ดีทีเดียวค่ะ

สวัสดีครับท่านรอง ทั้งเหม็ดทั้งเพ (ทั้งหลายทั้งมวล)ล้วนต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้นแล ....ครับ

Pขอบคุณคุณนกน้อยมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยม

Pคุณวอญ่าครับ

   ทั้งเหม็ดทั้งเพ คือ  เอาใจเขามาใส่ใจเรา

          ถูกต้องแล้วครับ

              ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ..สำหรับข้อคิดเรื่องการสื่อสารในการสนทนาร่วมกัน..

 

การให้เกียรติผู้และทำให้คู่สนทนารู้สึกมีคุณค่าในตนเอง  งานนี้มีชียไปกว่าครึ่งแล้วค่ะ

ถ้ามองแบบพุทธเขาเรียกว่าจะสื่อสารกับใครหากรู้จริตของเขาก็จะง่ายต่อการนำเสนอ

ธรรมะยามเช้าขอรับท่านรอง..

สุขสันต์ วันจันทร์ ค่ะ ท่าน ผอ.

 

Pขอบคุณคุณอ้อยเล็กครับ ที่เข้ามาเยี่ยม

Pคุณใบเฟิร์นครับ

     การให้เกียรติคู่สนทนา เป็นการสนทนาด้วยการสร้างสรรค์ครับ

                   ขอบคุณครับ

Pท่านธรรมฐืตครับ

      สื่อสารด้วยการมองจริต  ดีมากเลยครับ  เป็นการสนทนาอย่างสร้างสรรค์

                              ขอบคุณมากครับ

Pขอบคุณครูอ้อยครับ

     สุขสันต์วันจันทร์เช่นกันครับ  ทำงานให้สนุก เป็นสุขกับการทำงานนะครับ

สวัสดีครับ แวะมาเยี่ยมท่านอาจารย์ครับ

เห็นด้วยครับ หากใช้แ่ต่อำนาจหลงระเริงกับมัน ก็จะมองไม่เห็นตัวเอง มองเห็นคนอื่นเด็กไปหมดครับ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ครับ

Pคุณณัฐวรรธน์ครับ

     บันทึกนี้ ก็มุ่งตรงนี้แหละครับ

     ใช้แ่ต่อำนาจหลงระเริงกับมัน ก็จะมองไม่เห็นตัวเอง มองเห็นคนอื่นเด็กไปหมดครับ

            ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท