การวัดและการประเมินผลการศึกษา คือการฆ่าตัวตายของนักการศึกษาไทย


การวัดและการประเมินผล

การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ทางการศึกษาไทย จุดเริ่มต้นของการศึกษาหรือความล้มเหลว

การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้แบบฉบับทางการศึกษาไทย
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาหรือจุดล้มเหลวทางการเรียนรู้
บทความโดย  นายวรุตม์  โคตรคำหาญ  
บทนำ
        หากจะกล่าวถึงระบบการศึกษาของไทยนั้นหากย้อนกลับไปในรัฐไทยสมัยก่อนการศึกษาของคนส่วนใหญ่  ศึกษาอยู่ภายในวัดเรียนกับพระและการศึกษาดังกล่าวก็ไม่ได้มีแบบแผนในการจัดทำรายวิชาในกลุ่มสาระต่างๆ  ให้มันยุ่งยากเหมือนอย่างเช่นในปัจจุบัน  ที่สำคัญการศึกษาอย่างนั้นเป็นการถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรง  และเป็นการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาของผู้คนในท้องถิ่นและชุมชนนั้นๆรวมทั้งยังได้ศึกษาถึงจารีต  ขนบธรรมเนียมของท้องถิ่นตนให้รักษาไว้  การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาดังกล่าวเพื่อให้รัฐไทยเกิดสภาวะความทันสมัย  และทำให้ประเทศมีความเจริญให้เท่าทันกับอารยประเทศในทางตะวันตก  การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้นใน  ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่    ของ  อาณาจักรสยาม  หากจะวิเคราะห์ในมุมมองทางการศึกษานั้น  การปฏิรูปดังกล่าวต้องการให้การศึกษาเป็นการกระจายความรู้ให้ทั่วถึง  เพื่อไม่ให้กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวง และเป็นการเรียนรู้ที่ส่วนกลางได้จัดมาให้ศึกษาและเรียนรู้  รวมทั้งมีความเป็นระบบทางการศึกษามากขึ้น
        อย่างไรก็ดีพัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทยดังกล่าวก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการศึกษาอยู่ตลอดเวลาเพื่อต้องการที่จะให้การศึกษาและพัฒนาที่มาจากคนที่ได้รับความรู้และการถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ  ดังนั้นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญคือการจัดระเบียบทางการศึกษาเพื่อให้สยามดูมีความทันสมัย (Modernization) เพื่อให้ต่างชาติมองว่าสยามได้เปลี่ยนความหล้าหลังดังกล่าวเพื่อให้ประเทศที่ล่าอาณานิคมไม่มารบกวนความมั่นคงของสยามในช่วงนั้น  และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของรัฐไทย  
พัฒนาการทางการศึกษาในระบบรอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
        ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงสมัยของกรุงรัตน์โกสินได้ติดต่อการค้ากับชาวต่างชาติที่เข้ามาดำเนินการติดต่อค้าขาย  รวมทั้งการได้นำแนวคิดทางศาสนาของทางตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ย่างเช่น  สยาม  (ประเทศไทย)  เป็นต้น  การเข้ามาของกลุ่มชาวต่างชาตินั้นได้นำเอาวิทยาการที่ทันสมัยมาด้วย  เช่น  วิทยาการทางด้านการแพทย์  วิทยาการทางด้านการเมืองการปกครอง  และวิทยาการทางด้านการติดต่อค้าขาย  ในที่นี้จะได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาครั้งสำคัญกล่าวคือ  ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่  รัชกาลที่ 5  ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังใน  พ.ศ.  ๒๔๑๔  (พิมพ์พรรณ  เทพสุเมธานนท์ ร.ศ. , 2536 : 13 – 16)   โดยมีจุดประสงค์ให้ลูกหลานเชื้อพระวงศ์และลูกหลานข้าราชการที่รับใช้พระมหากษัตริย์นั้นได้เรียนรู้และให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่พอจะได้รับราชการได้  และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การศึกษาเป็น รูปแบบนัย”  (Formal Education)  โดยทรงให้จัดทำหนังสือแบบเรียนหลวง  รวมถึงมีการสอบไล่หรือการวัดผลประเมินผล  ขึ้นเป็นครั้งแรก  หลังจากนั้นพัฒนาการทางการศึกษาของไทยได้เริ่มนำหลักการของการศึกษาตามแบบตะวันตก  เข้ามาจัดการเรียนการสอนในสยาม  โดยในช่วง   รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชการที่    ได้ทรงประกาศตั้ง  “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”  ในวันที่  ๒๖  มีนาคม  ๒๔๕๙  โดยขึ้นกับกระทรวงธรรมาการ  ในปีแรกมี    คณะคือ  คณะแพทย์ศาสตร์  คณะรัฐประศาสนาศาสตร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์  (พิมพ์พรรณ  เทพสุเมธานนท์ ร.ศ. , ๒๕๓๖ : ๑๘)  ในปลายรัชกาลที่    ทรงให้กระทรวงธรรมาการโอนเข้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม  ในปี  ๒๔๖๙  หลังจากนั้นไม่นาน  เมื่อรัชกาลที่    ขึ้นครองราชย์ก็ได้ดำเนินการให้ความสำคัญในการศึกษา  แต่ที่ปัญหาที่ประสบในช่วงเวลานั้นคือ  ปัญหาภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศตกต่ำขั้นสูงสุด  ในที่สุด  ปี  ๒๔๗๕  ได้เกิดการปฏิวัติ  (Revolution)  ของคณะราษฎร์  
การศึกษาภายใต้การปกครองของคณะราษฎร์   
        ภายหลังการยึดอำนาจของคณะราษฎร์ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นการปกครอง  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  คณะราษฎร์ได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติโดยประกาศใช้แผนอยู่    ฉบับ  คือ  แผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๔๗๕  และ  แผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๔๗๙  รวมถึงการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนโดยเปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง  ขึ้นในปี  ๒๔๗๖  ดังนั้นการศึกษาของคณะราษฎร์ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก  ดึงที่จะสอดคล้องการคำประกาศคณะราษฎร์  ในข้อที่  ๖ โดยมีใจความว่า  “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร์”  (สุขุม  นวลสกุล , ๒๕๓๕ : ๗๔)   ดังจะเห็นได้ว่านโยบายในช่วงที่คณะราษฎร์ได้ทำการปกครองประเทศนั้น  มีการประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษาทั่วราชอาณาจักร  จึงทำให้มีโรงเรียนที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  โดยขยายไปทั่วทุกตำบล  รวมถึงมีการปรับปรุงหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในปี  ๒๔๘๐  รวมทั้งมีการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมขึ้น    แห่งที่จังหวัด  นครราชสีมา  และ  สงขลา  โดยคณะราษฎร์มีความต้องการที่จะให้การศึกษานั่นเป็นตัวช่วยสร้างให้สังคมในช่วงระยะเวลานั้นให้มีความเข้าใจในเรื่องของประชาธิปไตย  รวมถึงการที่เปิดโอกาสให้คนในชนบทได้มีโอกาสทางการศึกษา  อีกทั้งเป็นการเร่งสร้างงานให้กับคนในช่วงนั้น  อีกทั้งศึกษาได้เข้าสู่ระบบสากลดังที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับได้กล่าวไว้ถึงสิทธิทางการศึกษา
        เมื่อ  พันเอกพระยาพระหนพลพยุหเสนา  เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้มีประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๔๗๙  โดยมีความมุ่งหมายว่า  “ให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาเพื่อจะได้ทำหน้าที่พลเมืองตามระบอบรัฐธรรมนูญได้เต็มที่”  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้นำพาการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
        ๑.  เปลี่ยนแปลงชั้นเรียนสายสามัญศึกษา  ให้มัธยมศึกษาจบเพียงมัธยมศึกษาปีที่    แทนที่จะจบการศึกษาในมัธยมศึกษาปีที่    รวมทั้งจัดให้ผู้ที่ประสงค์จะเรียนในระดับอุดมศึกษาให้มีชั้นเตรียมอุดมศึกษา  ขึ้นด้วย
        ๒.  จัดให้การศึกษาในระดับอาชีวศึกษาไว้สำหรับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น  และมัธยมศึกษาตอนปลาไว้ด้วย
        อย่างไรก็ดีเมื่อจอมพล ป.  พิบูลสงคราม  ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี  ก็ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๔๙๔  โดยมีความมุ่งหมายว่า  “รัฐมีความมุ่งหมายให้พลเมืองได้รับการศึกษาพอเหมาะแก่อัตภาพ”   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในช่วงดังกล่าวได้กำหนดให้ระดับการศึกษามีการจัดการควบคุมให้เป็นระบบมากขึ้น  กล่าวคือมีการแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น    ระดับดังนี้  ๑.  การศึกษาขั้นอนุบาล  ๒.  ประถมศึกษา  ๓.  มัธยมศึกษา  ๔.  เตรียมอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาขั้นสูง  และ  ๕.  อุดมศึกษา  รวมทั้งได้จัดการศึกษาพิเศษเพื่อให้ผู้ที่จบการศึกษาไปแล้ว  และผู้ที่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระบบและอยู่ในช่วงวัยเรียน  ได้เรียนรู้อย่างเป็นครั้งคราว  หรือเรียกอีกอย่างว่า  “การศึกษาผู้ใหญ่”  โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง  อีกทั้งยังต้องการให้ประชาชนได้อ่านออกเขียนได้  เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขั้นตามอัตภาพังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น
พัฒนาการทางการศึกษาในช่วงสงคามเย็น
        ต่อมาช่วงสมัย  จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  เป็นนายกรัฐมนตรี  ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก  ทั้งในด้านการบริหารประทศ  การเมืองการปกครอง  รวมถึง  การศึกษา  ในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาดังกล่าว  เพื่อที่ให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่    พ.ศ.  ๒๕๐๔  ซึ่งในระยะแรกได้ใช้เค้าโครงการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๔๙๔  เป็นแบบ  โดยเปลี่ยนนี้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา  ซึ่งมีใจความสำคัญซึ่งผู้เขียนจะขออธิบายเป็นประเด็นดังนี้
        ประการที่    รัฐมีความมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนในรัฐได้รับการศึกษาที่สมควรแก่สติปัญญาของผู้เรียน  ความยากจนจะไม่เป็นอุปสรรคในการศึกษา  และการสนับสนุนทุนการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐ  เพื่อที่จะให้ประชาชนให้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
        ประการที่    การศึกษาต้องตอบสนองบริบททางสังคม  เพื่อที่จะได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ  และการปกครองของประเทศในช่วงระยะนั้น
        ประการที่    การศึกษาภาคบังคับจากเดิม    ปี  เป็น    ปี  ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ.ศ.  ๒๕๐๕  (ฉบับที่  ๓)  ซึ่งให้เหตุผลว่า  การศึกษาในระดับประถมไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคน  (Human  Development)  กำหนดให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างน้อยให้มีอายุ  ๑๕  ปีบริบูรณ์  แต่ที่สำคัญการขยายการศึกษาภาคบังคับดังกล่าวกลับมิได้บังคับให้ทุกท้องที่ยึดถือปฏิบัติตาม  
        ประการที่    ขยายการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาให้กว้างขึ้น  เพื่อที่ตอบสนองความต้องการของกำลังคนในสายอาชีพเพื่อเป็นการสร้างคนระดับสายอาชีพเพื่อพัฒนาประเทศ
        ประการที่    ขยายโอกาสการศึกษาในระดับอุดมศึกษาตามส่วนภูมิภาค  โดยได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคขึ้น  เช่น  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ซึ่งเปิดดำเนินการใน  พ.ศ.  ๒๕๐๗  และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ใน  พ.ศ.  ๒๕๑๐  ซึ่งเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ว่าในการพัฒนาประเทศนั้นสิ่งที่สำคัญที่ควบคู่กันไปนั่นก็คือการพัฒนาการศึกษาเพื่อที่จะสร้างให้ประชาชนได้เข้าใจถึงบทบาทของตนและบทบาทของผู้ปกครองที่ต้องการความมุ่งหมายเดียวกัน  กล่าวคือผู้ปกครองต้องการให้ประชาชนได้มีความกินดีอยู่ดี  เช่นกันประชาชนต้องได้รับความรู้เพื่อจะสามารถพัฒนาประเทศได้ไปในแนวทางเดียวกัน
        อย่างไรก็ดีหลักการในการพัฒนาการศึกษาก็ได้ถูกบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาจนถึงฉบับปัจจุบันที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง  (Human  Center)  ที่สำคัญการให้ความสำคัญแก่การศึกษาได้ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ  เช่นในรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.  ๒๕๔๐  ที่มีบทบัญญัติให้จัดทำกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  เพื่อเป็นกฎหมายที่รับรองการปฏิรูปการศึกษา  ทั้งในด้านการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการศึกษา  การปรับปรุงกระบวนการจัดการศึกษา  และมาตรการในการประกันคุณภาพทางการศึกษา  ซึ่งนำพาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษามาก็เป็นได้  สิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นนั้นคือ  การองค์กรใหม่ทางการศึกษา  คือสำนักงานปฏิรูปการศึกษา  สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  ที่มีผลทำให้การบริหารการศึกษามีความคล่องตัวและมีอิสระ  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนการสอนที่เดิมจากครูเป็นศูนย์กลางเป็นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  (สมหมาย  จันทร์เรือง  ,  ๒๕๔๔  :   - ๗)  
        ที่สำคัญในการจะทำให้การศึกษาในแต่ละสถาบันไปถึงจุดหมายความตองการนั้น  คือการวัดและประเมินผลทางการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าจะมีความเบี่ยงเบนทางการศึกษาในสู่แนวทางใดและสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษารวมไปถึงระดับกระทรวง  การวัดผลประเมินผลทางการศึกษาหากจะมองในภาพหยาบๆนั้นอาจจะหมายความเองว่าเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนที่เรียนมา  ตั้งแต่เปิดภาคการศึกษาจนถึงปิดภาคเรียนว่าผู้เรียนมีความเข้าใจเท่าใด  หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในการวัดผลประเมินผลนั้นเป็นสิงที่ไม่ใช่เพียงแค่การวัดความรู้ความเขาใจเท่านั้น  หากเป็นการวัดองค์ประกอบต่างๆทางการศึกษาที่ต้องสอดคล้องกันไปเป็นแนวระนาบ
        การวัดผลประเมินผลทางการศึกษาไทยนั้น หากจะกล่าวถึงผลเสียที่ผู้เขียนเองได้ประสบมาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจะได้บรรยายเป็นประเด็นดังนั้น
ข้อเสียการวัดผลประเมินผลทางการศึกษา   
        ประการที่หนึ่ง  การวัดผลประเมินผลทางการศึกษาไทย  ใช้รูปแบบที่อ้างอิงมาจากต่างประเทศโดยการนำมาสังเคราะห์จากนักวิชาการที่มากเกินไปทำให้  เกณฑ์การประเมินออกมาในรูปแบบที่ไม่สอดคล้องกับท้องถิ่นและภูมิภาคต่างๆ  ของไทย  ที่สำคัญการออกแบบการวัดผลประเมินผลนั้นไม่ได้คำนึงถึงผู้ปฎิบัติ  ทำให้ความเข้าใจและความคาดเคลื่อนของการวัดผลประเมินผลสูง
        ประการที่สอง  ลักษณะการวัดผลประเมินผลเป็นการข่มใจผู้เรียนและผู้สอนเป็นอย่างมาก  เพราะว่าการข่มใจผู้เรียนหมายถึงการที่ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินผลต่างๆมากมายในระบบการศึกษาทำให้ผู้เรียนที่ค่อนข้างเรียนได้ช้าและเรียนไม่ทันเพื่อนรู้สึกเบื่อหน่ายกับระบบการเรียน  รวมถึงผู้สอนก็ต้องข่มใจสอนเพราะหากว่านักเรียนไม่สามารถทำตามผลกำหนดขั้นต่ำได้จะทำให้ผู้สอนเองต้องถูกพิจารณาจากผู้บริหาร  จึงส่งผลให้เกิดการเรียนที่เรียกว่า  “เก็ง”  ทั้งในการสอนและการเรียน
        ประการที่สาม  การวัดผลประเมินผลที่ออกมาแต่ละสถานศึกษา  สำนักงานที่รับผิดชอบจากส่วนกลางไม่ให้ความไว้วางใจจากสถานศึกษาที่อยู่ตามภูมิภาค  โดยส่วนใหญ่จะให้ความไว้วางใจจากสถานศึกษาที่อยู่ในส่วนกลางและจังหวัดใกล้เคียง
        ประการที่สี่  หลักสูตรที่นำมาประเมินการเรียนการสอนดังกล่าวไม่ได้สอดคล้องกับภูมิภาคอย่างที่เป็น  เช่น  หากมีคำถามที่ถามผู้เรียนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  (อีสาน)  ว่า  “ให้นักเรียนอธิบายลักษณะแม่น้ำเจ้าพระยาว่าเป็นอย่างไร”  แน่นอนว่าผู้เรียนคงมึนงงกับคำถามเหล่านี้และผลที่ปรากฏออกมาในการวัดผลประเมินผลก็ไม่ดี  อย่างนี้เป็นต้น  ดังนั้นในการสร้างหลักสูตรต่างๆต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้และความสำคัญทางภูมิภาคด้วย  ถึงแม้ว่าในหลักสูตรแกนกลางจะได้ระบุไว้ว่าต้องนำความรู้ของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดทำหลักสูตร  แต่หากว่าสิ่งที่วาดไว้ในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ปรากฏเห็นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัด
        และนี้เป็นเพียงข้อเสียบ้างประการที่ผู้เขียนได้ระบุเป็นประเด็น  ในการวัดผลประเมินผลทางการศึกษาที่ลงทุนในการปฏิรูปในแต่ละครั้งก็นับว่าเป็นงบประมาณที่มากโข  และผลที่ปรากฏออกมาทำให้ค่าเบี่ยงเบนทางการศึกษากลับแย่ไปกว่าเดิม  จึงมีคำถามในใจหลายคำถามว่าจะพัฒนาการวัดผลประเมินผลทางการศึกษาอย่างไร
การปรับปรุงการวัดผลประเมินผลทางการศึกษา
        ในที่นี้ผู้เขียนจะนำเสนอการปรับปรุงแนวทางในการวัดผลประเมินทางการศึกษาพอเป็นแนวทางโดยสังเขป
        ประการแรก  ต้องให้ความรู้สำหรับผู้มีสอนเกี่ยวข้องในการวัดผลประเมินผลทางการศึกษา  เช่น  หัวหน้าสำนักงานเขตต่างๆ  ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูผู้สอน  และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่เข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ให้หน่วยงานของตนดำเนินการได้อย่างคล่องตัว  และไม่จำเป็นต้องยึดถือหลักการจากส่วนกลาง  เพราะส่วนการก็ไม่เข้าใจส่วนภูมิภาค  ดังนั้นเพื่อให้ความเสมอภาคทางการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญ  พ.ศ.  ๒๕๕๐  ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  ดังนั้นส่วนภูมิภาคเองต้องจัดทำ  มาตรฐานการวัดผลประเมินผลทางการศึกษาของตนจึงจะสามารถวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนได้ดี
          ประการที่สอง  ลดขั้นตอนในการวัดผลประเมินที่ยาวนานและใช้ทรัพยากรมาก  (กระดาษ)  
ในการวัดผลประเมินผล  ที่สำคัญการวัดผลประเมินผลการศึกษาดังกล่าวต้องให้ผู้สอนมาเป็นผู้กำหนดเอง  ทั้งนี้ไม่ต้องนำเอาผู้ที่ได้วิทยฐานชำนาญการมาเป็นผู้กำหนด  เพราะผู้ที่ได้วิทยาเหล่านี้ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวแทนของผู้สอนทั้งหมด  และผู้ที่ได้วิทยฐานะเหล่านั้นอาจคิดไม่เท่าทันกับครูที่สอน  โดยระบบการจัดการศึกษานี้ได้วางระบบให้สำนักเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตไว้แล้วต้องนำองค์กรเหล่านี้มาช่วยในการพัฒนาการศึกษา  ไม่ใช่ว่าตั้งสำนักงานเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นตัวประสานจากส่วนกลางและเป็นสำนักงานเอกสาร  ต้องเพิ่มบทบาทและภาระหน้าที่เข้าไป
        ประการที่สาม  กำหนดหลักสูตรที่มาจากท้องถิ่นเป็นหลักสูตรแกนด้วย  เพราะจะได้ให้หลักสูตรลูกที่ออกไปได้มีเค้าโครงความรู้จากท้องถิ่น  และถ้าหากเป็นไปได้ต้องนำผลงานทางวิชาการที่ผู้สอนได้เสนอทำวิทยฐานะ  มาใช้ในสถานศึกษานั้นๆ  เพราะหากไม่มีการนำ  นวัตกรรมทางศึกษา  และผลงานทางวิชาการเหล่านั้นมาใช้สอนอย่างเป็นรูปธรรมก็คงไม่มีความหมายอะไรเลย  ในการพัฒนาการเรียนการสอนในสถานศึกษา  และตัวบ่งชี้ที่ทำวิทยฐานะได้
        ประการที่สี่  ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการวัดผลประเมินผลทางการศึกษาจากส่วนต่างๆ  โดยเฉพาะส่วนกลาง  ต้องเข้าใจส่วนภูมิภาคที่ไม่มีความพร้อมบางอย่างและสิ่งที่ได้รับมาจากส่วนกลางนั้น  ไม่ได้รับเท่ากัน  เช่น  อุปกรณ์ในการเรียนการสอน  ห้องปฏิบัติการต่างๆ  รวมถึงงบประมาณที่หั่นแล้วหั่นอีกจาก  ส่วนกลาง  และยังมาหั่นอีกในเขตพื้นที่การศึกษา  รวมถึงต้องเข้าใจถึงบุคคลากรทางการศึกษาที่บางท่านบางคนยังเป็นผู้สอนรุ่นเก่า  ทั้งนี้ไม่ได้ดูถูกความรู้ความสามารถของท่านเหล่านั้นหากจะเป็นสิ่งที่ดีด้วยซ้ำไปว่าท่านเหล่านี้ยังอยู่ในวงการทางการศึกษา  จะต้องนำบุคคลากรเหล่านั้นมาให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์  ว่าการวางแผนในการวัดผลประเมินผลเหล่านี้ที่สร้างมาในความรู้สึกของท่านเหล่านั้นเห็นว่า  จะเป็นผลดีต่อผู้เรียนหรือไม่  รวมทั้งต้องเลิกหยุดกดขี่ครูผู้สอนด้วยการนำเอาวิทยฐานะมาเป็นตัวล่อเพื่อให้ครูได้ทำผลงาน  และครูต้องทิ้งงานไป  สิ่งเหล่านี้เป็นความล้มเหลวทางการศึกษาของไทย
        แน่นอนว่าการที่จะพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ต้องใช้ความอดทนและระยะเวลาที่ยาวนาน รวมถึง  การวัดความรู้ของคนไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขอยู่    ตัว  และมาสรุปว่าคุณเป็นคนที่ไม่มีคุณภาพ”  การจะวัดความรู้คนที่ได้ดีที่สุดนั้นคือ  บุคคลนั้นที่จบจากสถานศึกษาต่างๆเมื่อจบออกไปแล้วต้องไม่เป็นภาระของสังคม  และไม่ทำให้สังคมเสื่อมเสีย  และพร้อมที่จะเป็นคนที่จะพัฒนาประเทศต่อไป   นั้นคือสิ่งที่สูงสุดของการวัดผลประเมินผลทางการศึกษา

ที่มา  http://www.board.kswd.org/bbs/viewthread.php?tid=271

       การเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นการวัดที่ตัดสินคนที่ภายนอกมากเกินไป...ถ้าเราคิดว่านักเรียนที่ได้เกรด 4 วิชาคณิตศาสตร์และนักเรียนที่ได้เกรด 4 คนเราว่าคนไหนที่เรียนเก่งกว่ากัน

       แน่นอนเราต้องตอบว่านักเรียนทีเรียนคณิตศาสตร์เป็นเด็กที่เรียนเก่งกว่า ถ้าถามว่าเด็กคนไหนที่มีจิตนาการที่ดี มองโลกในแง่ดี ผมอยากจะเล่าเรื่องที่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในวงการศึกษาของไทย.....เด็กที่ครูว่าเรียนแย่เป็นเด็กที่โง่เพราะเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชาหลักไม่ได้แล้ววันหนึ่งเด็กคนนี้ได้กลายเป็นผู้ออกแบบศาลหลักเมืองของจังหวัดสุรินทร์ทุกวันนี้ทั้งครูและนักเรียนที่เรียนวิชาได้เกรด 4 คณิต ต่างมากราบไหว้ศาลหลักเมืองคนที่ครูว่าเขาเป็นคนโง่ คนที่ไม่ฉลาด..คิดในทางกลับกันว่าเรื่องนี้ถ้านักเรียนคนนี้คิดแก้แค้นครูผมคิดว่าเป็นการแก้แค้นทีแยบยลมกาที่เดียว...เวลามองคนให้มองหลายด้าน อย่างมองเขาด้านเดียวแล้วเราจะประเมินผิด

 

 

หมายเลขบันทึก: 294772เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วเพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็นบ้างนะครับเพราะว่าผมต้องส่งอาจารย์ต้องขอขอบคุณบทความดี ๆ ที่น่าอ่านของพี่วรุตม์ โคตรคำหาญ ผมว่ามีประโยชน์สำหรับครูและนักวิชาการการศึกษาโดยผมได้สรุปไว้ในตอนท้ายและยกตัวอย่างเรื่องจริงหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

คนเราย่อมถนัดแตกต่างกันนะคะ แสดงออกด้านที่ถนัดอย่างถูกทาง จะเกิดสิ่งดีอีกเยอะเชียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท