somtawin
นาง สมถวิล somtawin โชติคณาทิศ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์


สมถวิล โชติคณาทิศ. 2551. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สมถวิล  โชติคณาทิศ. 2552.   การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง บทประยุกต์  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน    โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง  สิงหเสนี)     

 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 

 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง บทประยุกต์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง  สิงหเสนี)

 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยถึงร้อยละ  70  และจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง  บทประยุกต์  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

      กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนพระยาประเสริฐสุน-ทราศรัย (กระจ่าง  สิงหเสนี)   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2551 จำนวน 41 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  จำนวน 16 แผน

2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่  แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้  แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร   

 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้  ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ค่า IOC และมีการหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.79 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์

 

 

 

            ผลการวิจัยพบว่า

 

นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎี     คอนสตรัคติวิสต์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70.25 และจำนวนนักเรียนร้อยละ 73.90  

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ  70 ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎี     คอนสตรัคติวิสต์  มีความคิดเห็น  พึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 

นอกจากนี้ ยังพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา สถานการณ์ปัญหาทำให้นักเรียน เกิดแรงจูงใจเพื่อที่จะขจัดความขัดแย้ง    นักเรียนใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงในการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้     ขั้นกิจกรรมไตร่ตรอง นักเรียนสามารถเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซักถาม โต้แย้งด้วยเหตุผลเมื่อเกิดความขัดแย้ง    กล้าแสดงออก ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น    ขั้นสรุปผลการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา  นักเรียนสามารถสรุปแนวคิด หลักการ แล้วนำหลักการนั้นไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาต่างๆ

 

หมายเลขบันทึก: 294415เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้เห็นกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นรูปธรรมค่ะ

ขอให้ประสบความสำเร็จทุกประการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท