หลากวจนะ "อริยสัจ" (จบ)


ความหมายของอริยสัจ ๔

ชาวพุทธส่วนใหญ่มองอริยสัจในแนวระนาบ ความรู้เกี่ยวกับอริยสัจจึงยังไม่ครบถ้วน รู้แต่เพียงแง่มุมเดียว หากเราได้มองอริยสัจเชิงปริมาตรอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามอง คือมีทั้งในแนวระนาบ และในแนวดิ่ง จะพบว่าอริยสัจนี้ช่างลึกซึ้ง และโชคดียิ่งนัก ที่เกิดมาแล้วได้รู้จัก ได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมในศาสนาพุทธเพื่อความสุขที่ถาวร

เหล่านี้เป็นการรวบรวมข้อเขียนเกี่ยวกับศาสนาพุทธในข้อธรรม อริยสัจ ๔ และการปริวัฏฏ์ ๓ ( หมุนเวียน ) จากการรจนาของอริยะบุคคลต่างๆ โดยพยายามเรียบเรียงให้เนื้อความติดต่อและสอดคล้องกัน เสมือนหนึ่งรจนาโดยบุคคลคนเดียว เพื่อความเข้าใจในศาสนาที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อเป็นหลักฐานทางการศึกษา

..........................................................................

๕ สัมมาอาชีวะ

.........................................................................

สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ หมายถึงละมิจฉาชีพทั้งปวง ประกอบแต่สัมมาอาชีพ

สุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ หลักพระพุทธศาสนา ( หน้า ๓๓ ) ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

............................................................................

สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพที่ถูกต้อง ซึ่งรวมทั้งการทำงาน และการเลือกอาชีพ และการใช้จ่ายทรัพย์ที่ได้มาจากการประกอบอาชีพอย่างถูกต้อง เหมาะสม คุ้มค่า การงานอาชีพที่เอื้อต่อการดับทุกข์ต้องเป็นอาชีพที่ทำไปเพื่อเลี้ยงกาย และเลี้ยงใจให้มีสุขภาพดีพอๆกัน กล่าวคือให้ร่างกายแข็งแรงพอจะต้านทานโรคภัยไข้เจ็บ และจิตใจแข็งแรงพอจะต้านทานการรุกรานของกิเลส ร่างกายสมบูรณ์ไร้โรคภัยเบียดเบียน ใจสมบูรณ์ ไร้กิเลสมารบกวน

ดร.พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ แก่นธรรม ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ( หน้า ๕๐ ) ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

.........................................................................

๖ สัมมาวายามะ

.........................................................................

สัมมาวายามะ พยายามชอบ แบ่งเป็น ๔ คือ

ก. เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น

ข. เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว

ค. เพียรทำความดีให้เกิดขึ้น

ง. เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และเพิ่มพูนให้ยิ่งๆขึ้นไป

สุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ หลักพระพุทธศาสนา ( หน้า ๓๓ ) ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

............................................................................

สัมมาวายามะ ความพากเพียรถูกต้อง คือพากเพียรที่จะขจัดกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว หรือเคยเกิดให้หมดไป ระวังกิเลสที่จะเกิดใหม่มิให้เกิดขึ้นอีก เมื่อจิตว่างจากการรบกวนของกิเลส ก็ถือโอกาสทำปัญญา ศีล และสมาธิให้มากขึ้นตามลำดับ เพื่อปิดช่องทางของกิเลสที่จะเข้าไปรบกวนจิตใจ แม้ว่าจะสร้างกุศลคือ ปัญญา ศีล และสมาธิ ให้เข้มแข็งได้ตามความเหมาะสมแล้ว แต่ถ้ายังไม่มั่นคงจริง เสร็จสิ้นเด็ดขาดจริงๆ ก็ยังประมาทไม่ได้ จะต้องหมั่นประกอบกุศลอยู่เนืองๆ

ดร.พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ แก่นธรรม ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ( หน้า ๕๐ ) ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

......................................................................

๗ สัมมาสติ

.........................................................................

สัมมาสติ ระลึกชอบ แบ่งเป็น ๔ คือ

ก. ระลึกรู้ตัวในเรื่องกาย และ อิริยาบถของกาย

ข. ระลึกรู้ตัวเมื่อรู้สึกสบาย หรือไม่สบาย หรือเฉยๆ

ค. ระลึกรู้ตัวว่าจิตใจกำลังเศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว

ง. ระลึกรู้ตัวว่าอารมณ์ ( ความคิด ) อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ

สุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ หลักพระพุทธศาสนา ( หน้า ๓๔ ) ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑0๑๗0

............................................................................

สัมมาสติ ความระลึกได้ชอบ โดยตั้งสติพิจารณาสิ่งทั้งหลายคือ กาย เวทนา จิต ธรรม ตามเป็นจริง

ดร.อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน พุทธศาสน์ แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต ( หน้า ๑๘๑ ) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๑๕๕๑

............................................................................

สัมมาสติ คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างถูกต้อง เป็นนายทวารสำคัญที่จะเฝ้าดูอาคันตุกะที่จะเข้ามาเยี่ยมเยียนใจ สติจึงต้องทำหน้าที่ตามดู ตามรู้ ตามเห็นอย่างใกล้ชิดในกาย ทั้งกายคือกองลม กายคือกองธาตุสี่ และกายคือตัวกู ซึ่งเป็นต้นตอของความทุกข์ทั้งปวง ตัวกูเกิดมาแล้ว กระบวนการทุกข์ก็เกิดมาบนความรู้สึกแห่งการมีตัวกู ของกู นั่นเอง ความรู้สึกสำคัญมั่นหมาย ว่าตัวกู หรือของกู เหมือนกล่องบรรจุข้อมูลแห่งความทุกข์ทั้งปวง ถ้ากล่องนี้ไม่มีข้อมูลแห่งทุกข์ ทุกข์ก็มีไม่ได้ หน้าที่สำคัญของสติ คือระมัดระวัง ไม่ให้ปรุงแต่งกายใดกายหนึ่งว่าเป็นตัวกู แต่รักษาธรรมชาติอันบริสุทธิ์เอาไว้

สติทำหน้าที่คอยดูความรู้สึกที่เป็นไปตามธรรมชาติ ว่ามีตัณหาแทรกเข้ามาบ้างหรือไม่ ถ้าตัณหาแทรกคราวใด ความรู้สึกที่เป็นหน้าที่ของจิตชนิดหนึ่งจะเสียความบริสุทธิ์ทันที รากของตัณหาจะเริ่มงอกออกมาเมื่อรู้สึกว่าพอใจ หรือไม่พอใจ ทั้งกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ก็เกิดตามมาทันที มีบวกมีลบ สวิงสวายวุ่นวาย ตึงเครียด หัวเราะ และร้องไห้ แต่ถ้าสติมาทัน ความพอใจและความไม่พอใจดับไป ใจปกติทำหน้าที่ตามธรรมชาติอันบริสุทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ

สติยังทำหน้าที่ดูแลจิตให้ปกติ ไม่ฟูไม่แฟบ ไม่ขึ้นไม่ลง เพราะถูกโลกธรรมทั้งฝ่ายที่พอใจ และฝ่ายที่ไม่น่าพอใจมากระทบ

นอกจากทำหน้าที่ดูจิตแล้ว ยังดูธรรม คือธรรมชาติที่เกิดกับจิต ว่าเป็นกุศล หรืออกุศล มีคุณหรือมีโทษทำลาย หรือรักษาความบริสุทธิ์ของจิตมากน้อยเพียงใด

สติเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะกลั่นกรองกระบวนการทำงานของจิตให้เป็นไปอย่างได้ดุลยภาพ

ดร.พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ แก่นธรรม ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ( หน้า ๕๑ ๕๒ ) ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวรวัฒนา กรุงเทพ

.........................................................................

๘ สัมมาสมาธิ

.........................................................................

สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือทำจิตให้แน่วแน่ด้วยอารมณ์อันใดอันหนึ่งที่ไม่มีโทษ ไม่ให้จิตฟุ้งซ่านไปหลายทาง

สุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ หลักพระพุทธศาสนา ( หน้า ๓๔ ) ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑0๑๗0

............................................................................

สัมมาสมาธิ ความตั้งจิตมั่นชอบ มีความมั่นคง นิ่งสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเป็นหนึ่ง ( เอกัคคตาจิต ) อันจะใช้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์พัฒนาปัญญาของตนในการรู้ความจริงต่อไป

ดร. อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน พุทธศาสน์ แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต ( หน้า ๑๘๑ ) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๕๑

............................................................................

สัมมาสมาธิ ความมั่นคงแห่งจิตอย่างถูกต้อง คือมั่นคง หนักแน่น จนสามารถทำงานประสานกับปัญญา ขจัดตัณหาได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที สัมมาสมาธิทำหน้าที่ปกป้องรักษาความบริสุทธ์ของจิต ความมั่นคงของจิต และความอ่อนโยน ยืดหยุ่นของจิต ที่พร้อมจะทำหน้าที่รับรู้ในเรื่องราวต่างๆอย่างไม่หวั่นไหวเปรอะเปื้อน

สัมมาสมาธิที่สูงสุดก็คือความสงบใจอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่หวั่นไหววอกแวกไปเพราะความพอใจ หรือความพอใจที่มากระทบ มีสติสัมปชัญญะ ทำงานร่วมกันอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เป็นความมั่นคงที่สมบูรณ์ สามารถเผชิญหน้าอารมณ์ได้ทุกชนิด แต่ไม่ติดกับอารมณ์ใดๆ เหมือนใบบัวสามารถอยู่ในน้ำก็ได้ บรรจุน้ำก็ได้ แต่น้ำไม่ซึมซาบ ไม่ติดใบบัว

ดร.พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ แก่นธรรม ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ( หน้า ๕๒ ) ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

......................................................................

หมายเลขบันทึก: 294305เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอบคุณมากครับ
  • ดีจังเลย
  • ทำให้ได้เรียน อริยะสัจ ในหลายๆๆแง่มุม

ตอนจบแล้วเหรอค่ะ

อ้าว....เพิ่งได้ดู ย้อนกลับไปอ่านดีกว่า

  • ธุค่ะ..

สัมมาสมาธิ ความมั่นคงแห่งจิตอย่างถูกต้อง คือมั่นคง หนักแน่น จนสามารถทำงานประสานกับปัญญา ขจัดตัณหาได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที สัมมาสมาธิทำหน้าที่ปกป้องรักษาความบริสุทธ์ของจิต ความมั่นคงของจิต และความอ่อนโยน ยืดหยุ่นของจิต ที่พร้อมจะทำหน้าที่รับรู้ในเรื่องราวต่างๆอย่างไม่หวั่นไหวเปรอะเปื้อน

จะจดจำไว้ค่ะ..

มาชม

เป็นวิชาความรู้ที่สามารถนำเอาไปปฏิบัติได้นะครับ

มรรคมีองค์แปดครบถ้วนชวนให้ชอบ       หากเรามอบศรัทธาปฏิบัติได้

จักพ้นทุกข์สุขทันทีที่เร็วไว                     แล้วทำไมใยชักช้าไม่มาทำ

เพราะเป็นพุทธตามพ่อแม่จึงแค่อ้าง        ไม่เคยสร้างความเข้าใจให้ลึกล้ำ

เสียโอกาสใช้ชีวีไม่หนีกรรม                   พบพระธรรมเมื่อใดจักได้ดี

สวัสดีครับ

ผมชอบตรงนี้มากเลย “ สัมมาสติ คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างถูกต้อง เป็นนายทวารสำคัญที่จะเฝ้าดูอาคันตุกะที่จะเข้ามาเยี่ยมเยียนใจ สติจึงต้องทำหน้าที่ตามดู ตามรู้ ตามเห็นอย่างใกล้ชิด

แต่บางครั้งเราเป็นนายทวารที่ไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะมักปล่อยให้ผู้มาเยือนมาก่อกวนอยู่เรื่อยเลย

อ่านแล้ว...อยากปฏิบัติธรรม...ฝึกสมาธิ...

          ...ทำอย่างไรนะ คนไทยทั้งประเทศจะมีสติ ยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาได้ ประเทศชาติจะได้สงบสักที...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท