องค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน(๒.การประยุกต์น้ำส้มควันไม้ใช้สำหรับสัตว์)


ผู้เขียนได้มีโอกาสพบกับนักวิชาการของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชียงราย คุณอรอนงค์ จึงประสานขอเอกสารองค์ความรู้ที่มีประโยชน์มาเผยแพร่ เผื่อให้ผู้อ่านที่สนใจนำไปทดลองใช้และนำไปบอกกล่าวให้เกษตรกรที่ไกล้ชิดด้วย

องค์ความรู้ภูมิปัญญาการเลี้ยงโคเนื้อ กระบือ

 

Ø การทำน้ำส้มควันไม้


ชื่อเจ้าขององค์ความรู้

            1. นายบุญชวน มะลัยโย  91 หมู่ 10 .ดงมหาวัน .เวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

            2. นายแปลก เดชะบุญ 138 หมู่ 6 .ศรีค้ำ .แม่จัน จังหวัดเชียงราย

            3. นายชูศักดิ์  หาดพรม  118  ม.1 ต.เมืองจำ กิ่งอ.ภูเพียง จังหวัดน่าน

ขั้นตอนการทำเตาถ่านควันไม้ไล่แมลง

            1. ก่ออิฐมอญกว้างและยาว1.5 และ 2 เมตร นำถังน้ำมัน 200 ลิตรที่เจาะด้านล่างเป็นรูปวงกลมศูนย์กลาง7นิ้ว ให้ชิดขอบเพื่อเป็นปล่องควัน ฝาถังตัดออกเป็นสี่เหลี่ยมกว้าง 26 ซม.ยาว 40 ซม. เพื่อเป็นประตูพาความร้อนเข้า

2. ใช้ข้องอใยหินเชื่อมด้วยดินเหนียวตรงช่องระบายควัน นำท่อใยหินขนาด5เมตรตัดครึ่งต่อข้องอตั้งขึ้น แล้วต่อข้องออีกอันปลายปล่องควัน แล้วเอาท่อที่เหลืออีกอันต่อเอียงลงพื้นดินเล็กน้อยให้น้ำส้มไหลลงถังเก็บน้ำส้มควันไม้ได้

3.ใช้หินหนุนปากถังเงยขึ้นเพื่อระบายน้ำออก ใช้ไม้ฟืนวางเรียงขวางเป็นหมอนสองท่อน นำไม้มาเรียงในถัง โดยให้ท่อนเล็กอยู่ด้านล่างท่อนใหญ่อยู่บน เรียบร้อยแล้วเอาบล็อกวางเรียงปากเตาตั้งขึ้นทางสูงข้างปากเตาข้างละก้อนและวางเทินบนหนึ่งก้อน อีกก้อนขวางปากเตาครึ่งหนึ่งและเจาะรูขนาดสามนิ้วให้อากาศเข้า แล้วเอาทรายถมถังให้มิด จุดฟืนปากเตาเร่งไฟเต็มที่เมื่อฟืนติดไฟแล้วให้ปิดปากเตามิดชิดเหลือแต่ช่องอากาศเท่านั้น ประมาณชั่วโมงที่สาม เริ่มเก็บน้ำส้ม ควันสีขาวปนน้ำตาล ประมาณชั่วโมงที่เก้า หยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ควันสีเทาปนน้ำเงิน พอควันใสเริ่มใช้กระเบื้องทดสอบความชื้นปล่องควันหนึ่งนาที ถ้าเปียกก็ยังไม่ปิดถ้าแห้งหมาดๆก็ปิดหน้าเตาห้ามอากาศเข้าเด็ดขาด และห้ามราดน้ำถังด้วย

 

 

Ø การใช้น้ำส้มควันไม้ขับไล่แมลงรบกวนในคอกสัตว์ 


ชื่อเจ้าขององค์ความรู้

                นายกีรติ   เรือนคำ  143 ม. 5 บ้านหนองช้างน้ำ ต.บ้านกาศ  อ.สูงเม่น จังหวัดแพร่

หลักการและแนวคิด

                ในช่วงฤดูฝน มักจะมีแมลงชุกชุม คอยรบกวนตัวสัตว์ (โค กระบือ) ยามค่ำคืน ทำให้สัตว์รำคาญ เกิดความเครียด มีผลต่อสุขภาพสัตว์ จึงคิดหาวิธีกำจัดและขับไล่แมลง (เหลือบ ริ้น ยุง เห็บ เหา) โดยใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นตัวสัตว์ และพื้นคอก ฝาผนังคอก

อุปกรณ์

1.       น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่าน

2.       ถังฉีดพ่น

วิธีทำ

1.       นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่าน ซึ่งเก็บทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน

2.       ผสมน้ำควันไม้ อัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 10 ลิตร

3.       ฉีดพ่นตามพื้นคอก และตัวสัตว์ 3 วัน/ครั้ง

วิธีใช้

                ฉีดพ่นพื้นคอกและฉีดพ่นตัวสัตว์ 3 วัน/ครั้ง หรือใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดตัวสัตว์ทุกวัน

ประโยชน์

                สามารถขับไล่เห็บ แมลงวัน และมดที่มารบกวนในคอกสัตว์ได้

ต้นทุนการผลิต เชิงมูลค่าและเวลา

                การผลิตน้ำส้มควันไม้ เกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ โดยการเผาถ่าน ด้วยเตาเผา ขนาด 200 ลิตร 1 เตา จะได้น้ำส้มควันไม้ประมาณ 3 ลิตร ราคาลิตรละ 100 บาท เกษตรกรสามารถตัดแต่งกิ่งไม้ในฟาร์ม แล้วนำมาเผาถ่านและเก็บน้ำส้มควันไม้ ไว้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

 

Ø การใช้น้ำส้มควันไม้รักษาขี้เรื้อนในโค 


ชื่อเจ้าขององค์ความรู้

                นายทองดี     เจริญกุศล     140/9 หมู่.2  ต.ทุ่งกวาว อ.เมือง จังหวัดแพร่ 54000

หลักการและแนวคิด

                น้ำส้มควันไม้ เป็นผลผลิตที่เกิดจากการเผาถ่านแล้วเกิดควันในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่าน แล้วควบแน่นกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่งจะเก็บในช่วงอุณหภูมิภายในเตา 300 400 องศาเซลเซียส หรือ

อุณหภูมิที่ปากปล่องควัน อยู่ระหว่าง 80 150 องศาเซลเซียส ของเหลวที่ได้มีลักษณะสีน้ำตาลใสหรือสีชา มีกลิ่นไหม้

                1. ส่วนประกอบที่สำคัญ โดยประมาณของน้ำส้มควันไม้

                                - น้ำ 85 เปอร์เซ็นต์ กรดอินทรีย์ 3 เปอร์เซ็นต์ สารอินทรีย์อื่นๆ 12 เปอร์เซ็นต์

                2. คุณสมบัติน้ำส้มควันไม้ที่ดี

                                - ค่าความเป็นกรด (PH) ประมาณ 3

                                - ความถ่วงจำเพาะ ประมาณ 1.012 1.024

วิธีใช้

                ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ บริเวณผิวหนังโคที่เป็นเชื้อรา หรือขี้เรื้อน เช้า เย็น ทุกวัน ประมาณ 3 วัน เชื้อราที่เป็นดวงจั้มๆ สีน้ำตาลหรือสีเทา บนตัวสัตว์ จากดวงจั้มๆสีน้ำตาล จะเปลี่ยนเป็นสีดำและจางหายไปในที่สุด 

 ข้อมูลโดย คุณอรอนงค์ พิมคำไหล

องค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง                             ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชียงราย

องค์ความรู้ยังมีต่อติดตามตอนต่อไปและให้ความคิดเห็นเสริมเติมเต็มกันได้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 294293เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท