Put the right job on the right man :แนวคิดการบริหารงานและบริหารคนยุคใหม่


Put the right job on the right man

             

                 สวัสดีค่ะ วันนี้ มีบทความของอาจารย์ ณรงค์วิทย์ แสนทอง มาฝากพี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ชาว gotoknow ทั้งหลาย  ซึ่งพอได้อ่านแล้วอาจจะนึกว่าอาจารย์เขียนผิด  แต่จริง ๆ แล้วอาจารย์ ท่านตั้งใจจะสื่อปัญหาการบริหารคนและการบริหารงานในองค์กรที่กำลังสร้างผลกระทบให้เกือบทุกองค์กรในปัจจุบัน  และมีแนวโน้มว่าปัญหานี้จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งพอจะสรุปสาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้

1.       คนทำงานคิดอย่างเดียวว่าขอให้ได้งานไว้ก่อน  ไม่สนใจว่างานนั้นเป็นสิ่งที่ตัวเองชอบ

หรือไม่

                                การหาคนให้เหมาะสมกับงานถือเป็นหลักเกณฑ์ที่ยังใช้ได้อยู่ แต่ต้องไม่ลืมว่าคนหางานหลายคนมีความสามารถหลายด้าน  ซึ่งเราอาจจะเห็นว่าเขามีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เรากำลังหาอยู่  แต่เราอาจจะไม่รู้ว่าคน ๆ นั้น เขาอาจจะมีความสามารถในด้านอื่น ๆ ที่โดดเด่นกว่าความสามารถที่เหมาะสมกับงานที่เรากำลังหาอยู่หรือไม่  ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราได้คนที่ทำงานนั้น ๆ ได้  แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ คน ๆ นั้นก็จะรู้สึกเบื่องาน   เพราะไม่ใช่สิ่งที่เขาชอบหรือถนัดมากที่สุด บางคนก็ทนทำไป แต่บางคนก็ทนไม่ไหวก็ลาออกไป ทำให้คนทำงานก็เสียเวลาที่มาจมอยู่กับงานที่ไม่ได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ องค์กรเองก็เสียเวลาที่ไม่สามารถพัฒนาให้เขาเติบโตขึ้นไปในสายงานนั้น ๆ ได้

2.       การอนุรักษ์งานเดิมให้คงอยู่  โดยไม่สนใจว่าใครจะมาดำรงตำแหน่ง

การยึดมั่นว่าฝ่ายเราจะต้องมีตำแหน่งนี้ต่อไป การยุบตำแหน่งงานใดตำแหน่งหนึ่งของ

แต่ละหน่วยงานไม่เคยอยู่ในความคิดของคนที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน เว้นเสียแต่ว่าผู้บริหารระดับสูงสั่งมา อยู่ดี ๆ จะคิดยุบเองคงไม่มีทางเป็นไปได้ และตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์กรมักจะมีอัตราการเกิดตำแหน่งใหม่สูงกว่าอัตราการตาย (ยุบ)ของตำแหน่งงานเก่า สุดท้ายตำแหน่งงานเยอะมาก ทั้งๆ

ที่ภาระงานโดยรวมขององค์กรยังมีเท่าเดิม

3.       มีงานฝากอยู่เรื่อย ๆ จนงานฝากมากกว่างานที่ควรจะทำในตำแหน่งงานนั้น ๆ

บางครั้งได้คนทำงานเก่ง ๆ มาดำรงตำแหน่งที่ถูกต้องและเหมาะสมในช่วงแรก แต่พอ

เวลาผ่านไปนาน ๆ งานบางงานไม่มีคนทำ  งานบางงานขาดผู้ดำรงตำแหนงชั่วคราว งานบางงานขาดผู้ดำรงตำแหน่งงานถาวร  ก็จะมีเศษๆ งานของตำแหน่งต่าง ๆ โอนมาให้คนทำงานในตำแหน่งอื่น โอนไปโอนมา บางครั้งก็บอกว่าฝากไว้ก่อน และงานบางงานฝากลืม สุดท้ายคนที่เก่งในตำแหน่งงานหนึ่ง จะต้องไปทำงานที่ตัวเองไม่เก่ง บางครั้งต้องใช้เวลาหมดไปกับงานที่ตัวเองไม่ถนัดมากกว่างานที่ตัวเองถนัด  เหตุการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีความสามารถ เพราะคนที่ไม่ค่อยเก่งผู้บริหารก็ไม่ค่อยมอบงานอะไรให้เพิ่ม ดังนั้น คนเก่งจึงได้รับงานเพิ่มเสมอ สุดท้ายวัน ๆ ก็นั่งทำแต่งานที่ตัวเองถนัดน้อย

                จากปัญหาดังกล่าว จะเห็นว่าการบริหารคนและบริหารงานในปัจจุบันและอนาคตจะใช้เพียงแนวคิดเดิมที่ว่า “Put the right man on the right job” เพียงอย่างเดียวคงจะไม่ได้ แต่จะต้องบวกด้วยแนวคิดที่ว่า “Put the right job on the right man”  เพราะการที่เรามีคนเก่งอยู่ในองค์กรแล้ว เราไม่ได้ใช้เขาอย่างเต็มที่หรือใช้งานเขาผิดที่ผิดทาง อาจจะสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันได้ แต่ถ้าเรามีคนเก่งอยู่แล้วและไม่อยากเสียเขาไปให้กับองค์กรอื่น  เราอาจจะต้องหันมาพิจารณาแนวคิดที่ว่าหางานให้เหมาะสมกับคนเก่งให้มากขึ้น

                การบริหารองค์กรในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาทั้งคนและงานควบคู่กันไป ถ้างานเหมาะสมกับภารกิจและกลยุทธ์ขององค์กรแล้ว  ก็คงจะต้องมาพิจารณาดูว่าเรามีคนที่เหมาะสมกับงานนั้นหรือไม่  ในขณะเดียวกันถ้าเรามีคนที่เก่ง ๆ เหมาะสมกับกลยุทธ์ขององค์กร ก็คงจะต้องมาพิจารณาดูว่างานต่าง ๆ ที่เรามีอยู่นั้นเหมาะสมกับคนเก่ง ๆ และเหมาะสมกับกลยุทธ์ขององค์กรในช่วงเวลานั้น ๆ มากน้อยเพียงใด  การที่จะพิจารณาว่าคนเก่งสำคัญกว่าหรืองานที่เหมาะสมสำคัญกว่าในแต่ละช่วงเวลานั้นให้ดูจากภารกิจและกลยุทธ์หลักขององค์กร

               

                 

คำสำคัญ (Tags): #hr
หมายเลขบันทึก: 294011เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

  ชอบมาตั้งแต่สมัยเรียนป.ตรีแล้วบทความนี้

ก็เห็นด้วยกับการบริหารองค์กรสมัยนี้ที่จะใช้งานไม่ค่อยถูกกับคนหรือใช้คนไม่ถูกกับงาน

ถูกต้อง ถ้าใช้คนไม่ถูกกับงานคนทำงานจะฝืนใจทำ งานก็จะออกมาไม่ดี นะจ๊ะ

แต่บางที่การให้งานกับคนที่เหมาะสมกับงานแต่ไม่อยากทำงานก็เป็นปัญหาเหมือนกันการบริหารองค์กรที่ยากที่สุดคือการบริหารคน...พี่ว่าจริงไหม?ครับ หาบทความดีดีมาให้อ่านข้อน้อยขอกราบคารวะ

ทำแบบนี้

ได้งานที่มีประสิทธิภาพแน่ๆ

เลยนะคะ

เป็นรูปแบบที่ควรนำไปประยุกต์ในการทำงานได้เหมือนกันค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมผลงานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท