เรื่องเล่าเข้าอบรม เรื่องที่ ๔


อีกเรื่องเล่าของคุณรจนา  พุทธิมา ค่ะ

การเข้าร่วมอบรมสัมมนา

เรื่อง :  การสร้างและพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงาน

สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน บริหารและปฏิบัติการ

                          ห้องสัมมนา 1   ชั้น  9  อาคารเพียรวิจิตร  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

...............................................

                        การไปอบรมสัมมนาของข้าพเจ้าครั้งนี้   ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายให้ความรู้

จาก   นายเรืองชัย  จรุงศิรวัฒน์   ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน  เชี่ยวชาญ ระดับ 9   ในหัวข้อเรื่อง

  เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงานจากงานประจำ ระหว่างเวลา  09.00  - 12.00 .โดยมีเนื้อหาสรุปได้ ดังนี้

                        ลักษณะของคู่มือการปฏิบัติงาน   เป็นงานเขียนทางวิชาการของข้าราชการ      หรือพนักงานสายสนับสนุน ที่ใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น ใช้ในการต่อสัญญาจ้าง หรือใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ เป็น ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

                        ชนิดของคู่มือการปฏิบัติงาน     แบ่งตามชนิด   หรือ  ลักษณะของการนำไปใช้งานได้   ดังนี้  1.   เป็นคู่มือที่เขียน ให้ผู้เขียนถือหรือใช้เป็นแนวในการปฏิบัติ    2. เป็นคู่มือที่เขียน ให้ผู้อื่นถือหรือใช้เป็นแนวในการปฏิบัติ   3. เป็นคู่มือที่เขียน ให้ผู้รับบริการถือหรือใช้เป็นแนวในการปฏิบัติ 

                        ระดับของคู่มือปฏิบัติงาน แบ่งได้  3  ระดับ  ดังนี้  1. Manual Book  เป็นคู่มือการปฏิบัติงานที่นำเอา  กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ  มติ  หนังสือเวียน    หรือหนังสือตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง มารวบรวมไว้ให้เป็นหมวดหมู่ แล้วจัดทำเป็นรูปเล่ม           2.  Cook Book  เป็นคู่มือการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นมาอีกหนึ่งระดับ มีลักษณะเหมือนระดับที่ 1  แต่ผู้เขียนได้เพิ่มขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน         3.  Tip Book เป็นคู่มือการปฏิบัติงานระดับสูงสุด ที่มีลักษณะเหมือนระดับที่ 1 ระดับ 2     แต่ผู้เขียนเพิ่มเทคนิค วิธีการ ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานของผู้เขียน

                        สาระสำคัญที่ควรมีในคู่มือปฏิบัติงาน

                        บทที่  1   ประกอบด้วย  ความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือ  วัตถุประสงค์  ประโยชน์ที่

คาดว่าจะได้รับ  ขอบเขตหรือข้อจำกัดของคู่มือ  คำจำกัดความเบื้องต้น และข้อตกลงเบื้องต้น(ถ้ามี)

                        บทที่  2   ประกอบด้วย โครงสร้างของหน่วยงาน (โครงสร้างการบริหาร,โครงสร้างอัตรากำลัง)    บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ  ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

                        บทที่  3   ประกอบด้วย  กฎ ระเบียบ  คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ มติ หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องเกณฑ์มาตรฐาน  การเก็บรวบรวมข้อมูล  วิธีการคำนวณ/วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

                        บทที่  4   ประกอบด้วย   กรณีตัวอย่าง   กรณีศึกษา   หรือเทคนิควิธี   (ยกตัวอย่างให้เห็นทั้ง 2   ด้าน   คือ   กรณีที่ถูก  หรือ ทำได้    และกรณีที่ผิด  หรือ ทำไม่ได้

                        บทที่ 5   ประกอบด้วย   ปัญหา  อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

·       บรรณานุกรม  เป็นรายชื่อสื่อสิ่งพิมพ์หรือเอกสารที่ใช้ประกอบการค้นคว้า

        ·       ภาคผนวก เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่เขียน แต่ไม่ใช่เนื้อหา เป็นส่วนที่นำมาเพิ่มขึ้นในตอนท้าย เพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น  แต่จะมีหรือไม่ แล้วแต่ความจำเป็น  ถ้าจะมีควรจัดไว้หน้าต่อจากบรรณานุกรม

สิ่งที่พึงระวังในการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน

1.       ความถูกต้องและความทันสมัยของเนื้อหา     หมายถึง      ถูกต้องตามหลักวิชาการของ

ศาสตร์สาขาวิชานั้นๆ  และความถูกต้องเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องในปัจจุบัน   เช่น  ทฤษฎี สูตร กฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ ฯลฯ

2.       ความครอบคลุมขอบข่ายของงานที่ปฏิบัติ     หมายถึง    คู่มือการปฏิบัติงาน     มีความ

ครอบคลุมทุกหัวข้อเรื่องที่เป็นสาระสำคัญของงานที่ปฏิบัติ

3.       การจัดเรียงลำดับของเนื้อหาในคู่มือ  หมายถึง  ลำดับขั้นตอนคู่มือการปฏิบัติงาน มี

การเสนอเรื่องราวที่จะเขียนหรือเรียบเรียง  เพื่อให้ผู้ศึกษาหรือผู้ใช้เข้าใจง่าย 

 

หมายเลขบันทึก: 293435เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากค่ะ

ได้องค์ความรู้เพิ่มอีกเยอะมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • ตามมาดูพี่อบรม
  • ได้ความรู้มากเลย
  • วันที่ 18 จะได้พบพี่ไหมครับ

พบค่ะ

แต่ที่คณะวิศว มีตั้ง 8 ชั้น คงต้องหาที่นัดและเวลาที่เหมาะๆ ถึงจะได้พบมังคะเนี่ย

งานนี้ มีชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 8 ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท