การประกันคุณภาพ


การประกันคุณภาพ

            

              ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ในหมวดที่ ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในมาตรา ๔๗ ซึ่งมีสาระสำคัญว่า สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

             ทำให้สถานศึกษามีความตื่นตัวในการรองรับการประเมินภายนอกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผมในฐานะครูช่วยราชการปฏิบัติงานกลุ่มนโยบายและแผน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มองว่าการเป็นผู้ประเมินภายนอกซึ่งมีหน้าที่หลักในการประเมินสถานศึกษา คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน และอื่น ๆ คงเป็นสิ่งที่ดีและเป็นงานที่ท้าทายถ้าได้มีโอกาสทำงาน เพราะก่อนที่จะไปประเมินสถานศึกษาอื่น นั่นหมายถึง ผู้ประเมินต้องมีความรู้ใน ความสามารถในสิ่งที่จะประเมิน ผู้ประเมินเปรียบเสมือนหมอโรงเรียนหรือเปรียบเสมือนกระจกใบหนึ่งที่คอยสะท้อนผลการจัดการศึกษาในแต่ละสถานศึกษา ทำให้เกิดความสนใจที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินภายนอก

             ทางคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดอบรมหลักสูตรการประเมินภายนอกเต็มหลักสูตรใช้ระยะเวลา ๑ สัปดาห์ มีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ นับเป็นความโชคดีหลังจากที่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว กระผมมีคุณสมบัติตามที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพภายนอกอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในเรื่องอายุต้องครบ ๓๐ ปีบริบูรณ์พอดี ซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นผู้ประเมินภายนอกที่มีอายุน้อยที่สุด กว่าจะได้เป็นผู้ประเมินก็ต้องผ่านหลายด่านพอสมควร เช่น การสอบในภาคทฤษฏีมีทั้งข้อสอบปรนัย และอัตนัย การสอบในภาคปฏิบัติต้องลงไปฝึกทำหน้าที่     ผู้ประเมินในสถานศึกษาจริง และต้องเขียนรายงานผลการประเมิน ซึ่งมีความยากพอที่จะทำให้หลาย ๆ คนไม่สามารถสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ด้วยความเป็นน้องที่สุดในกลุ่มก็เลยถูกวางตัวให้ทำงานมากกว่าคนอื่น ไม่ว่าในเรื่องของการทำเอกสาร และงานอื่น ๆ จนต้องอดหลับอดนอนในแต่ละคืนตลอดหลักสูตร และในที่สุดก็สามารถสอบผ่านและได้เป็น  ผู้ประเมินภายนอกได้อย่างสำเร็จ สังกัดมูลนิธิสุขแก้ว แก้ว-แดง ของดร.รุ่ง แก้วแดง

              กระผมได้มีโอกาสไปประเมินตามสถานศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ เช่น นราธิวาส ยะลา สตูล เป็นต้น ด้วยความเป็นน้องอีกเช่นเคยก็ถูกวางตัวให้เป็นผู้เขียนรายงานการประเมินเช่นเคย ซึ่งเป็นงานที่ผู้สว. (ผู้สูงวัย) ไม่ถนัด ทำให้เกิดการเรียนรู้งาน ได้เทคนิคต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัวจากการทำงานเอกสาร เช่น ทำให้เกิดทักษะและกระบวนการคิดในการเชื่อมโยงมาตรฐานต่าง ๆ ในการเขียนรายงาน เกิดความกระจ่างชัดในเนื้อหาต่าง ๆ ไม่ว่ามาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการประเมินภายนอกของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและรับรองคุณภาพภายนอก เป็นต้น ด้วยบุคลิกที่เป็นคนง่าย ๆ ทำงานคล่อง กระชับกระเฉง ทำให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ชวนเป็นคณะทำงานเพื่อไปประเมินสถานศึกษา และมอบงานให้เป็นผู้เขียนรายงานผลการประเมินภายนอกจำนวนหลายโรง กอปรกับบางสถานศึกษาเชิญให้เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรเพื่อเตรียมตัวรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก ทำให้เกิดการเรียนรู้ และมีประสบการณ์มากขึ้นเป็นลำดับ เป็นต้น

              ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้กระผมได้เรียนรู้ว่า ไม่มีอะไรหรอกในโลกนี้ที่เราทำไม่ได้ ถ้าเรามีความตั้งใจและมีความมุมานะที่จะทำ อยู่ที่ว่าเรามีโอกาสหรือเปล่า และที่สำคัญอย่าปล่อยให้โอกาสมันผ่านไปโดยที่เราไม่ได้เห็นคุณค่าของมันเลย

                                                                                        

หมายเลขบันทึก: 292929เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับวรรคสุดท้ายของคุณชาร์รีฟท์ที่ว่าไม่มีอะไรหรอกในโลกนี้ที่เราทำไม่ได้ ถ้าเรามีความตั้งใจและมีความมุมานะที่จะทำ อยู่ที่ว่าเรามีโอกาสหรือเปล่า และที่สำคัญอย่าปล่อยให้โอกาสมันผ่านไปโดยที่เราไม่ได้เห็นคุณค่าของมันเลย และทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเรามีทั้งดีและร้ายอยู่ที่ว่าเราเลือกที่จะใช้วิธีจัดการกับมันอย่างไร หากเราจัดการได้ดีสิ่งร้ายๆ ก็จะกลับกลายเป็นสิ่งที่ดีขึ้นมาก็ได้ และนั่นจะเป็นบทเรียนสอนชีวิตที่ดีแก่เราจริงๆ

อ่านเรืองการประกันคุณภาพแล้วทำให้เห็นภาพการทำงานของคนทำงานที่มุ่งมั่นสร้างคุณภาพให้เกิดในวงการการศึกษาของไทย ไม่มีอะไรที่ยากเกินความพยายามของมนุษย์ เห็นด้วยกับความคิดนี้นะคะ และขอเป็นกำลังใจให้กับคนที่ตั้งใจพัฒนาการศึกษาไทยให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป

การประกันคุณภาพ จากประสพการณ์ที่ผ่านมา ผู้ประเมินต้องทำความเข้าใจในบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่งให้ดี และเป็กัลยามิตรที่ดีจริงๆ ที่จะสามารถพัฒนาระบบประกันคุณภาพของแต่ละสถานศึกษาที่มีความพร้อมไม่เหมือนกัน ต้องพยายามพัฒนาระบบประกันคุณภาพให้เป็นงานประจำโดยผู้ปฎิบัติเห็นความสำคัญซึ่งเกิดขึ้นเองจากภายในตนเอง เปรียบเสมือนรับประทานอาหารแล้วก็ต้องดื่มนำตาม ทำให้เป็นกิจวัตรหนึ่งของการทำงานจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับคุณภาพของงานได้

การประกันคุณภาพการศึกษาในปัจจุบันมีความเป็นอย่างมากที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ การนำกระบวนการ PDCA มาใช้ในการทำงานเพื่อประกันคุณภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นผลชัดเจน ตามขั้นตอนดังนี้

P - Planning คือการวางแผนงานการทำงานอย่างเป็นระบบ

D - Doing คือการลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้

C - Checking คือการตรวจสอบงานที่ทำว่าเป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้หรือไม่ หรือมีปัญหาอะไรบ้าง

A - Action คือการนำงานที่ทำมาปรับ ทั้ง

ในแง่ของการปรับใหเดีขึ้นหรือปรับแก้ในส่วนที่เป้นปัญหา นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในองค์กรร่วมกัน

สำหรับผมไม่มีความรู้ในด้านการประเมินในด้านการศึกษาของการบริหารการศึกษา ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆในการอบรมการประเมิน ไม่ว่าคุณสมบัติของผู้อบรม รายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกอบรมและความสามารถของผู้อบรมไปแล้วที่นำไปใช้กับงานจริง แสดงว่าการอบรมบวกความสามารถของตนเองส่งผลที่ดีให้กับคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท