จำลองสถานะกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสำโรงใน 80 ปีข้างหน้า


ต้องเริ่มจ่ายบำนาญ ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ก็ ร้อง อ๋อ เลยว่า เห็นเลยว่า กองทุนจะต้องติดลบ

 

             ในสระที่เด็กรักป่า เต็มไปด้วย  กิจกรรมที่ชาวบ้านนำมาร่วมลงแรง ดูแล แบ่งปัน ทดลองทำกันที่

นี่  ตั้งแต่ เลี้ยงกบ  เลี้ยงปลา   เย็นนี้ ปล่อยปลาในสระ จากนั้นก็นมาแวะที่บ้าน คุยกัน

 

              ก็เลยมาคุยกันเรื่อง กองทุนสวัสดิการของตำบลสำโรง  จากที่ร่วมกันเก็บ ซ่อม ข้อมูลพื้นฐาน

ของกองทุน  และนำไปคำนวณประมาณการสถานะของกองทุนอีก 80 ปี ข้างหน้า จะเป็นอย่างไร

 

              สมาชิกแกนนำกลุ่มนี้ เห็น กราฟ  ที่แสดงการขึ้น ลง และติดลบของ กองทุน โดยเฉพาะ ปีที่

ต้องเริ่มจ่ายบำนาญ ในอีก  5 ปี ข้างหน้า ก็ ร้อง อ๋อ เลยว่า เห็นเลยว่า กองทุนจะต้องติดลบ จากนั้นก็คุย

กัน ว่าจะแก้ไขอย่างไร เป็นการทดลอง นำเสนอก่อนวันประชุมจริง ดังนี้

 

บันทึกการประชุมกลุ่มแกนนำ เรื่องการ นำเสนอ  การจำลองสถานะกองทุนสวัสดิการ

ตำบลสำโรง อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่ 27  สิงหาคม 2552  เวลา  19.30 น. -  20.30 น.

ผู้เข้าร่วมประชุม 

1. นายละเมียด     ผ่องใส   ( อบต.)

2.นายสมบูรณ์      ผ่องใส    ( อสม. )

3.นางนุทิน           เพชรมาก  ( ผู้ช่วยเลขาฯกองบุญฯ )

4.นายสำเภา         เพชรมาก   ( กรรมการกองบุญ ฯ )

5.นางอาริยา        โมราษฎร์   ( เลขาฯกองบุญฯ )

 

คำนวณ 2 กรณี คือ

-         กรณีที่ 1 คำนวณจากฐานจำนวนสมาชิกปัจจุบันปี 2552 จำนวน 366 คน

-         กรณีที่ 2 คำนวณจากการสมมติให้ประชากรทุกคน(ข้อมูลปี 2551 จำนวน 9,275 คน)

 

การประมาณการรายรับ รายจ่ายและสถานะกองทุนฯไปข้างหน้า 80 ปี ทำให้ได้สถานะกองทุนสวัสดิการตำบลสำโรง

 

กรณีรายรับมาจากเงินสะสมของสมาชิกเพียงอย่างเดียว ไม่มีเงินสมทบจากรัฐ นั่นคือกองทุนฯมีรายรับเพียงเงินสะสมวันละ 1 บาทจากสมาชิกปัจจุบัน จากกราฟที่ 1 ทำให้กองทุนยังคงมีเพียงพอสำหรับจ่ายสวัสดิการให้สมาชิกตั้งแต่ปีที่ 1 (2553)- ปีที่ 5(2557)  แต่เมื่อถึงปีที่ 6 (2558) ซึ่งเป็นปีที่กองทุนเริ่มจ่ายบำนาญ จะทำให้รายรับในปีนี้มีไม่เพียงพอในการจ่ายทำให้เงินคงเหลือของกองทุนคงเหลือเป็น -242,350 บาท

ทดลองนำเสนอให้กับที่ประชุม ฟัง / คิดตาม  มีคำถาม ต่างๆ

-          ผมมองกราฟ ผมดูรู้เลยว่า เราตายแน่นอน

-          แล้วจะตายทุกกองทุนมั้ย  หรือ กองทุนจะตายเร็ว ตายช้า

-          อะไรที่จะทำให้ยืดอายุ การตายของกองทุน

-          การได้เห็นงานวิจัย  เห็นข้อมูล ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น ที่อื่นๆ เขาจะได้ทำวิจัยและเห็นแบบนี้มั้ย

-          เราต้องมีการประชุมแกนนำ คุยกันกลุ่มเล็กๆก่อน เตรียมหาทางเลือก ทางแก้ปัญหาให้ตรงจุด

-          เราจะแก้ไขปัญหา กองทุนล้มได้อย่างไร

-          ต้องให้กรรมการทุกคนได้เห็นภาพกราฟ การคำนวณ อายุการเงินไปข้างหน้าแบบนี้ แล้วอธิบายให้เข้าใจ

-          การที่กรรมการบางคนพูดเรื่องค่าตอบแทน อย่าไปว่าเขา  คนทำงานสวัสดิการก็ต้องมีการดูแลกัน เพื่อให้กองทุนดำเนินไปได้

-          บางตำบล มีผู้สูงอายุเข้าไปเป็นสมาชิกทั้งตำบล และ รอรับบำนาญใน ปีที่ 5 ซึ่งก็ไม่นาน  ถึงตอนนั้นจะมีเงิน จ่ายบำนาญให้เขาได้มั้ย

 

ข้อเสนอจากวงประชุม

-          ทำให้กรรมการทุกคนเข้าถึงข้อมูล เห็นภาพสถานะกองทุนสวัสดิการใน 10 /20 /80 ปี ข้างหน้า เมื่อเห็นแล้ว อย่ากลัวว่า กองทุนจะตาย แต่ให้กรรมการช่วยกันบริหาร พยุงกันไป

-          เสนอให้ปรับกฎระเบียบ ในปี 2553 ยืดอายุการให้บำนาญแก่สมาชิกปี 53 เป็น  15 ปี

ส่วนสมาชิกเดิมก็รับตามเงื่อนไขเดิม ถือว่าเป็นรุ่นบุญทันใจ

-          เสนอให้จัดเก็บค่าบำรุงจากสมาชิก นอกจากค่าธรรมเนียมแรกเข้าแล้ว เพื่อนำมาใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรรมการ ไม่ให้กระทบกับกองทุนมากนัก

-          เสนอให้มีการขอบริจาคตามศรัทธากลับคืนมาจากสมาชิกครอบครัวผู้เสียชีวิต ที่กองทุนฯมอบให้

-          เสนอให้รณรงค์รับสมาชิกที่เป็นเด็กๆให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการออมแต่เล็กๆ  เป็นการขยายฐานกองทุนฯให้กว้าง และ อายุน้อยๆให้มากขึ้น

-          เสนอให้ นำเงิน กองทุนสวัสดิการ ไปให้สมาชิกกู้  ที่มั่นใจว่าได้ดอกผล เพื่อนำเงินมาเพิ่มเติมแก่กองทุน

-          เสนอให้ กองทุนอื่นๆ ในแต่ละหมู่บ้าน เช่น กองทุน เงินล้าน  บริจาคบางส่วนให้กับ กองทุนสวัสดิการในแต่ละปี

-          การจัดผ้าป่าตำบลเข้าช่วยเหลือกองทุนสวัสดิการของตำบล

-          เสนอให้  อบต. / อบจ. / รัฐบาล สนับสนุนกองทุน

-          จัดประชุมกรรมการ ที่ปรึกษา  สมาชิก กองทุนสวัสดิการ ให้เข้าใจ  เป้าหมาย อย่างแท้จริงของ กองทุน ที่เป็นการช่วยเหลือกัน เห็นปัญหาร่วมกัน เสียสละร่วมกัน ช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกัน

 

 

 

 

 

 

 

        

 

หมายเลขบันทึก: 291708เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท