5. บริษัท ฟิตคอร์ปเอเชีย จำกัด (ตอน คุณธรรมนำธุรกิจ)


ยิ่งเป็นผู้ให้ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นผู้รับมากยิ่งขึ้น
  1. องค์กรของท่านมีนโยบายหรือแนวทางในเรื่อง CSR อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมขององค์กรที่น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีต่อสังคมหรือองค์กรอื่นๆ  และภาครัฐควรให้การเสริมหนุนองค์กรที่ทำเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?

 

A:       บริษัทให้บริการทางด้าน Corporate Health และ Fitness เรามุ่งเน้นให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ เปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำลังกายในร่ม ห้องแอร์ มาเป็นออกกำลังกายกลางแจ้ง ท่ามกลางธรรมชาติ ในสวนสาธารณะต่างๆ ของกทม. เน้นให้ลูกค้าเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้พลังงาน และพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น จักรยาน      

 

  1. ท่านมีความคิดเห็นต่อคำว่า ธุรกิจคุณธรรม (ธุรกิจที่มีคุณธรรม) อย่างไร ให้อธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้?
    1. นิยามความหมาย 

ยิ่งเป็นผู้ให้ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นผู้รับมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เดี๋ยวมาเดี๋ยวไป ต้องจริงจังไม่เสแสร้ง ในเมื่อได้จากสังคมแล้ว ต้องรู้จักที่จะคืนกลับโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ใช่กอบโกยเอาแต่ได้เพียงฝ่ายเดียว ผู้ให้บริการต้องตื่นตัวในการพัฒนาประสิทธิภาพและปรับ เปลี่ยนวิธีการบริการให้รองรับแนวทางการตลาดในอนาคต พร้อมทั้งกำหนดนโยบายขององค์กร ในการแสดงตนเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม CSR เป็นกระบวนการสำคัญของการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กรที่คำนึงถึงผล กระทบต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กรอย่างสมดุล มีการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจ และดูเเลรักษาสังคมและสิ่งเเวดล้อม 

  1.  
    1. ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดธุรกิจคุณธรรม

"หัวไม่ขยับ หางก็คงไม่กระดิก" นั่นคือถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของทำ CSR แบบยั่งยืนแล้วล่ะก็ นโยบายต่างๆ ก็คงไม่อาจขับเคลื่อนไปได้ไกลนัก ผู้ประกอบการที่มีผลกำไรแล้ว บริจาคอย่างเดียว เพราะการบริจาคไม่ได้ช่วยให้สังคมน่าอนู่ขึ้น ถ้าธุรกิจของคุณยังทำลายสิ่งแวดล้อม  บริษัทแรก ได้รับกำไรมหาศาลบริจาคเงินให้กาลกุศลเป็นจำนวนมาก แต่มีการปล่อยปะละเลยเรื่องสารพิษ หรือน้ำเสีย ถามว่า สังคมได้อะไร? ในมุมมองกลับกัน ถ้าบริษัทแห่งที่ 2 ซึ่งอาจไม่ได้มีการบริจาคเงิน แต่มีการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายหลัก เช่นการบำบัดน้ำเสียอย่างถูกหลักการ มีการประหยัดพลังงาน เป็นต้น

  1.  
    1. แนวทางสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 

การปฏิบัติภายในองค์กร อาทิ การดูแลไม่ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร มีโครงสร้างอัตราค่าจ้างแรงงานที่ยุติธรรม มีระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม  การอบรมบุคลากร อาทิ มีหลักสูตรอบรมการเป็นพลเมืองที่ดีแก่พนักงานในองค์กร รวมทั้งส่งเสริมให้ พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยพัฒนาสังคมโดยรวมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

  1.  
    1. ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมและต่อองค์กรธุรกิจ

-     เพิ่มความสามารถให้กับองค์กรในการแข่งขันในตลาดได้ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่เรียนรู้
และศึกษามาแล้วว่าองค์กรไหนที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรบ้าง

-     เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร ต่อสาธารณะชน

-     เพิ่มความจงรักภักดีต่อองค์กรให้เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติการทุกระดับ ทำให้สามารถทำงานอยู่กับองค์กรได้นาน ไม่เปลี่ยนงานบ่อย ความเสถียรขององค์กรก็เกิดขึ้น อีกทั้งยั้งเป็นแรงจูงใจให้กับคนภายนอกอยากเข้ามาร่วมงานงานกับองค์กรอีกจำนวนมาก จึงเท่ากับว่าองค์กรมีตัวเลือกที่มีคุณภาพมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 291537เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท