R2R Seminar


"R2R" ไม่ยากอย่างที่คิด...Jan 26/08/2009

5-6 ส.ค.2552 ได้มีโอกาสไปนำเสนอผลงานวิจัยในการสัมมนาวิชาการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ซึ่งจัดโดย ส.ค.ร.ที่2 สระบุรี ณ Asia airport hotel   สิ่งที่ได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้ คือ ทำให้เข้าใจ R2R มากขึ้น และไม่รู้สึกว่ายากอีกต่อไป    และพอสรุป concept ของ R2R ได้ว่า

1. โจทย์วิจัยของงาน R2R ต้องมาจากงานประจำ  คือเป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ

2. ผู้ทำวิจัย ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง ( แต่ควรเป็นทีม ) 

3. ผลลัพธ์ของการวิจัยต้องวัดที่ผลต่อผู้รับบริการ  หรือบริการที่มีผลต่อผู้รับบริการโดยตรง  

4.การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการให้บริการผู้รับบริการโดยตรงหรือต่อการจัดบริการ

***สำหรับท่านที่คิดว่า R2R เรื่องยาก ขอให้ลองวิเคราะห์ตนเองว่าท่านอยู่ในกลุ่มใด ?

กลุ่ม 1 เก็บข้อมูลเอาไว้บ้างแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปอย่างไร

กลุ่ม 2 มีโครงการวิจัยหรือมีหัวข้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำ

กลุ่ม 3 สนใจที่จะทำมาก  แต่ยังไม่มีโครงการแน่นอน

กลุ่ม 4 สนใจที่จะทำพอควร แต่ไม่ค่อยแน่ใจ แบบว่า กลัว Statistics ?

กลุ่ม 5 ไม่ต้องการทำ ไม่สนใจ  คิดว่ายุ่งยาก  ไม่ได้จบโทมานี่หน่า          

วิเคราะห์ได้แล้วบอกด้วย ( พอจะหาที่ปรึกษาให้ได้นะ )

 สุดท้ายฝากไว้ให้ภูมิใจที่ได้รับรางวัลที่ 2 ในการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #r2r seminar
หมายเลขบันทึก: 291434เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อยู่กลุ่ม 4 ควรทำอย่างไรดี

น่าสนใจดีค่ะแต่ยังไม่รู้ว่าจะจัดตัวเองอยู่กลุ่มไหนดีเลยค่ะ.....วิลาวรรณ์

น้องโหนก เห็นทีจะไม่ได้อยู่กลุ่ม5 แน่ๆ เพราะมีข้อมูลอยู่เยอะ โครงการก็มีแยะ สนใจก็คงสนใจอยู่ แต่แบบยังไม่ค่อยแน่ใจ(รึเปล่านะ) ล่าสุดเห็นเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยนี่นา คิดว่าจะมีผลการศึกษามาให้ชื่นชมเร็วๆ นี้ เนอะ

แนะนำให้เริ่มด้วยการทำวิจัยแบบ Servey เพื่อดูอุบัติการณ์ โดยดูปัญหาใกล้ตัว วิเคราะห์ปัญหาให้ชัด พิจารณาข้อมูลที่มีอยู่เดิม ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หาทีมและที่ปรึกษาช่วย

สำหรับคุณที่อยู่กลุ่ม 4 แนะนำให้อ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องมากๆ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการต่อยอดความคิดของตนเอง และงานวิจัยที่ดีไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงเท่านั้น แค่สถิติเชิงพรรณนาร้อยละธรรมดา ก็สามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนางานได้แล้วค่ะ By Jan

ท่าทางงานวิจัยจะไปได้สวย รู้สึกคุ้มค่าที่ส่งไปอบบรม เยี่ยมครับ / boss

การทำวิจัยจากงานประจำเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายไม่ยาก พวกเราหลายคนเป็นเจ้าภาพงานตามภารกิจ มีข้อมูลในมือแต่ยังขาดการจัดการ ลองเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยเฉพาะ ผู้รับผิดชอบคลินิกพิเศษต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผู้ติดเชื้อ ANC จิตเวช เป็นต้น เมื่อจัดการข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ก็สามารถมองเห็นจุดที่เราต้องการพัฒนา ลองมองหาวิธีการทำงานที่แตกต่างจากเดิม แล้วเก็บผลงาน ใช้ข้อมูลเชิงวิชาการประกอบ หาเอกสารอ้างอิงที่สอดคล้องกับเรื่องของเรา แล้วเขียนเป็นเอกสาร ไม่จำเป็นต้องเล่มใหญ่ หนาปึ๊ก แค่นี้ก็เป็นผลงานวิชาการที่เกิดจากการทำงานประจำแล้ว

ขอให้ลงมือทำกันเยอะๆ นะ

ฉันทนา

ถ้าจะทำปรึกษาได้ไหมพี่?

ปรึกษาผมได้น่า แต่อย่าให้ช่วยทำ ยินดีให้คำปรึกษาครับ / boss

เหมือน boss เลย อ้อ! มีคู่มือที่เข้าใจง๊ายง่ายให้ยืมด้วย...by Jan

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท