การวัดผลการปฏิบัติธรรม (ต่อ)


วิธีที่ใช้วัดผลการปฏิบัติธรรม

ได้กล่าวถึงการวัดผลการปฏิบัติธรรมโดยย่อค้างไว้ ขอบันทึกต่อในบันทึกหน้านี้นะคะ

การนำธรรมะมาปฏิบัติ เกิดจาก เมื่อเรามีความคิดอยากพัฒนาตนเองแล้ว (กุศลฉันทะ บางท่านเข้าใจว่าความอยากเป็นตัณหาไปเสียทั้งหมด แต่ในความจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น) และมีศรัทธาในปัญญาของพระพุทธองค์ หรือก็คือเชื่อมั่นในศักยภาพในการพัฒนาของมนุษย์ (ตถาคตโพธิสัทธา) จึงเกิดกระบวนการทั้ง ๗ ในการแสวงหาความรู้ ครูผู้สอน เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ไล่เรื่อยไปจนถึงสามารถคิดตามธรรมเองได้ (บุพนิมิต) จึงเริ่มนำทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ หรือหนึ่งในอริยสัจ ๔ มาใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิต

เมื่อปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ไปสักระยะ เราคงอยากรู้ว่า เราก้าวหน้าในการปฏิบัติ หรือไม่ มีหลักวัดผลในเรื่องนี้อยู่ ๓ หลักค่ะ

๑. วัดด้วยหลักอริยวัฒิ ( หลักวัดความเจริญของอริยชน )

เป็นการวัดด้วยกุศลธรรมที่งอกเงย งอกงาม แทนที่อกุศลธรรม โดยมีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ประการ

ประการที่ ๑ ศรัทธา ดูว่ามีความศรัทธาในสิ่งดีงาม หรือแม้แต่ความมั่นใจในศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามโพธิสัทธา อันเป็นสิ่งที่ดี ดูว่าสิ่งเหล่านี้มีเพิ่มขึ้นหรือไม่

ประการที่ ๒ ศีล ดูว่ามีศีลเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือก็คือดูว่าการปฏิบัติตนต่อสังคม สภาพแวดล้อมดีขึ้น ราบรื่นขึ้น มีวินัยขึ้นหรือไม่

ประการที่ ๓ สุตะ ดูว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ นำประสบการณ์มาเพิ่มพูนเป็นความรู้ในการพัฒนาตนมากขึ้นหรือไม่

ประการที่ ๔ จาคะ ดูว่ากิเลสต่างๆลดลงบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะความโลภ โกรธ หลง มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวมมากขึ้นหรือไม่

ประการสุดท้าย ปัญญา มีความรู้ ความเข้าใจสิ่งต่างๆถูกต้องตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัยเพิ่มขึ้นหรือไม่ และนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หรือไม่

picture

๒ วัดด้วยการดูการทำหน้าที่ต่อธรรมต่างๆตามอริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔ อันประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ( หรือก็คือมรรคมีองค์ ๘ ) นั้น ในการนำมาใช้งานจริงๆ ต้องนำมาหมุนวน ( ปริวัฏฏ์ ) พิจารณา ๓ รอบ

คือรอบแรก รู้คำจำกัดความตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าคืออะไร (สัจญาณ หยั่งรู้สัจจะ )

รอบสองรู้ว่าเรามีหน้าที่ หรือควรปฏิบัติต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างไร ( กิจญาณ หยั่งรู้กิจ )

รอบสามดูว่าหน้าที่ต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เราได้ทำไปแล้วแค่ไหน ( กตญาณ หยั่งรู้การทำสำเร็จ )

อริยสัจ ๔ เมื่อหมุนวนพิจารณาครบทั้ง ๓ รอบ จึงเรียกว่า อริยสัจ ๔ ปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการเป็น ๑๒

picture

๓ ดูสภาพจิตที่เดินถูกทาง

สภาพจิต หากฝึกฝนถูกต้อง ควรเกิดองค์ธรรม ตามกันมาเป็นลำดับนั่นคือ

ปราโมทย์ ร่าเริง เบิกบานใจ อันนำไปสู่ ปิติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ

ปิติที่เกิดอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นตัวนำไปสู่สมาธิปิตินั้นมีอำนาจอยู่ในตัวอย่างหนึ่ง คือทำให้เกิด ปัสสัทธิความสงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับ ก็ย่อมเกิด สุขไม่มีภาวะบีบคั้นจิตมีความสงบ อันนำไปสู่สมาธิหรือความตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน

เมื่อสมาธิเกิด จิตอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า กัมมนีย์ ก็พร้อมที่จะนำจิตที่มีพลัง นุ่มนวล ควรแก่งานนี้ ไปใช้พิจารณาธรรมต่อไป

สำหรับการวาดหวายขาวต้นนี้ จะคล้ายๆการวาด หวายแคระสีขาว ค่ะ ต่างแค่สีปากกระป๋าเท่านั้น

.................................................

อ้างอิง

พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง ( หน้า ๔๒ ) สำนักพิมพ์ระฆังทอง นครปฐม

พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 291099เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 04:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผมวัดตัวเองง่ายๆ อย่างนี้ครับ

           1.   ดูจิตตัวเองทันใหม

           2.   เมื่อดูจิตทัน รู้ว่าจิตเกิด  แล้ว "ตบจิต" ได้หรือไม่ หรือ ปล่อยให้จิตมันตบเอาฝ่ายเดียว

การปฏิบัติบางครั้งถ้าทฤษฎีมากไปก็เข้าถึงยากนะขอรับ..

สาธุ..

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณคุณ Small Man มากค่ะที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

นมัสการพระคุณเจ้าธรรมฐิต

พระพุทธองค์ทรงค้นพบธรรมมากมาย ถ้าเราเร่งเรียนรู้ทั้งหมดในทีเดียว คงสับสนน่าดูนะเจ้าคะ

แต่ปริยัติ ไม่เรียนรู้เสียเลย ดิฉันก็กลัวหลงทางเจ้าค่ะ

จึงใช้ธรรมวิจัย เลือกเอาที่คิดว่าถูกจริตกับตนมาปฏิบัติเจ้าค่ะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ..สดชื่นๆค่ะ..

picture

 ปิติที่เกิดอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นตัวนำไปสู่สมาธิ

              งาม  งาม  ชื่นชม  สู่ สมาธิ

เคยสงสัยเหมือนกันว่าเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราปฏิบัติดีขึ้น หรือไม่อย่างไร แต่พอได้อ่านแล้วก็พอจะรู้ว่า อ้อ เราต้องวัดแบบ วัดด้วยหลักอริยวัฒิ ( หลักวัดความเจริญของอริยชน ) นี้ นี่เอง

(แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติถึง มรรคมีองค์ 8 หรอกนะคะ เพิ่งเริ่มเอง อิอิ)

ขอบคุณค่ะ ที่ให้ความรู้

สวัสดีครับ

เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับ

สำหรับผู้ปฏิบัติ

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ หมุนวนเป็นรอบครับ

เห็นกิเลส ละกิเลส มีสติมากขึ้น ก็ก้าวหน้าครับ

สำหรับผม ตอนเริ่มสนใจธรรมะจริงจัง อ่านๆแล้วปฏิบัติ คิดว่าตัวเองก้าวหน้า มีสติ มีสมาธิ แต่อาจเป็นมิจฉาสติ มิจฉาสมาธิได้ง่ายมากครับ

พอได้เข้าหาครูบาอาจารย์ถึงได้รู้ว่า คิดเอง เออเอง ก็อันตรายมากครับ ผิดหลัก หรือเข้ารกเข้าพงได้ง่ายมากครับ

ตอนนี้เลยใช้หลักว่า ถ้าไม่แน่ใจว่าถูกหลักไหม ติดอะไรหรือเปล่าก็ถามครูบาอาจารย์ดีที่สุดครับ

พอเราได้หลัก อยู่ในร่องรอย ค่อยวัดผล ใช้โยนิโสมนสิการครับ และหมั่นเข้าหาครูบาอาจารย์เป็นระยะๆครับ

ผู้ปฏิบัติบางท่านก้าวเดินมาไกลมากแต่เดินผิดทาง ต้องเริ่มต้นใหม่ น่าเสียดายครับ

บางท่านเดินไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ว่าผิดนี่ก็น่าเสียดายกว่าประเด็นแรกอีกครับ

ก้าวอย่างมั่นคง โดยมั่นใจว่ามาถูกทาง ดีที่สุดครับ

คุณ Phornphon คะ

พระคุณเจ้าปัญญานันทะ เคยบรรยายไว้ว่า การตรวจสอบว่าวิธีปฏิบัติถูกหรือไม่ ให้น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ ถ้าได้ แสดงว่าถูกค่ะ ถ้าไม่ได้ ผิด ให้ทิ้งไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

มาอ่านข้อคิดและสาระจากการปฏิบัติธรรมค่ะ

ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ตั้งใจจะ save ไฟล์นี้ไว้อ่าน ยามที่มีประสบการณ์ธรรมมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

ภาพวาด ... น่าจะสีน้ำ? งดงามมากค่ะ

(^__^)

สวัสดีค่ะคุณคนไม่มีราก

เช้านี้ คงทำกิจที่ควรทำแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

แม้พึ่งได้เข้ามาอ่าน แต่ก็เปี่ยมด้วยคุณค่ายิ่งนัก

จะพยายามเรียนรู้และน้อมนำไปปฏิบัติค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท