สรุปผลเวทีแลกเปลี่ยนครั้งที่ 5 (ตอนที่3)


ตัวอย่างขององค์กรที่นำมาแลกเปลี่ยนถึง....วิธีการสร้างความสุขให้กับบุคลากรในภาวะวิกฤต

ติดตามตอนที่ 3 กันต่อนะคะ เรามาถึงกลุ่มที่ 2แล้วคะ ลองมาฟังกลุ่มนี้กันดู ซึ่งเป็นกลุ่มในระดับผู้จัดการ HR ขององค์กร มาอ่านแนวความคิดและมุมมองกันดูคะ

 กลุ่มที่ 2

วิทยากรกระบวนการ   :  คุณนงลักษณ์ ยาจันทร์          โรงพยาบาลธนบุรี

ผู้จดประเด็น                :  คุณกนิษฐา  ตรีรัตนพร         บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

สมาชิกกลุ่ม

 

    1. Osotspa Co., Ltd.                                            คุณวิทูรย์  วงษ์โมรา
    2. บริษัท หลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)                  คุณสุขศิริ  บริบาลประสิทธิ์    
    3. องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล                            คุณสุดา สุขศิริ
    4. บริษัท สแปนชั่น (ประเทศไทย) จำกัด                      ดร.ปรอง  กองทรัพย์โต 
    5. บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)                     คุณปรีชา  ปลื้มจิตต์   
    6. บริษัท กรีนสปอต จำกัด                                       คุณเอกสิทธิ์  โฉมประดิษฐ์
    7. บริษัท บี.ฟู้ดส์ โปรดักอินเตอร์เนชั่นแนล  จำกัด            คุณกรรณิกา  จรางกุล
    8. บริษัท เอเซีย พรีซิชั่น จำกัด                                  คุณสัมฤทธิ์   สว่างคำ
    9. บริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด                                   คุณปิยนุช  บุญประคอง 
    10. โรงพยาบาลเทพธารินทร์                                      คุณธัญญา วรรณพฤกษ์     
    11. บริษัทโซนี่ซัพลายเชนโซลูชั่นส์(ประเทศไทย)จำกัด      คุณจตุรงค์ คงเมือง
    12. บริษัทC.P. PLAZA CO.LTD                                  คุณนิศรา  สุวรรณคดี   
     

ผู้นำเสนอ : คุณวิฑูรย์ วงษ์โมรา และคุณปรีชา ปลื้มจิตต์ 

 

การสร้างความสุขให้กับบุคลากรในภาวะวิกฤต

ประการแรก เป็นเรื่องของการสื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งสิ่งแรกคือการสื่อสารจากองค์กร หรือ ตัวบริษัทสู่พนักงานให้ได้มีการเตรียมตัว หลายบริษัทจะมีการสื่อสารจาก CEO ถึงตัวพนักงานระดับล่างเลย เช่น บริษัทโซนี่ โดย MD มาพูดคาราโอเกะภาษาไทยให้กับพนักงานระดับล่างฟังว่า บริษัทที่ญี่ปุ่นเค้าเลิกจ้าง เมืองไทยไม่มีเลิกจ้าง ดังนั้นเรื่องกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ หรือ บริษัท PTT chemical สื่อสารให้พนักงานตั้งแต่เริ่มมีวิกฤตประมาณกันยายนปีที่แล้ว  เมื่อเห็นว่าน้ำมันเริ่มผลิตลดลง ก็เริ่มสื่อสาร พนักงานเริ่มตระหนักและเตรียมรับความทุกข์ได้ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงสื่อสารว่าช่วงนี้เหตุการณ์เป็นอย่างไร สิ่งที่พนักงานเตรียมรับอย่างไร

ประการที่สอง การประหยัด เช่น การใช้กระดาษให้คุ้มค่า โดยการใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เป็นต้น

ประการที่สาม การทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เงิน โดยการพัฒนาภายใน โดยมีการพัฒนาการเรียนรู้กันเองภายในองค์กร มีการจัดอบรม ฝึกอาชีพ หรือ ทักษะต่างๆ ภายในองค์กร

ประการสุดท้าย การสร้างบรรยากาศ ให้พนักงานรู้จักระมัดระวังมากขึ้น และใช้แนวคิด Happy 8 เช่น เน้นเรื่อง Happy money ผมว่าความสุขอยู่ที่ใจแต่เงินก็ต้องรู้จักใช้อย่างมีความสุขด้วยเช่นกัน   สิ่งที่จะทำให้เกิดเงินได้ในหลายองค์กรคือ มีการฝึกอาชีพให้กับพนักงาน  โดยการให้พนักงานลงชื่อ เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนของเรา  เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยพนักงานในภาวะวิกฤต หรือ องค์กรของกรีนสปอต  HR มีการเข้าไปคลุกคลีกับพนักงาน  และจากการที่ลดโอทีของพนักงาน จึงมีการเสริมรายได้ให้พนักงานด้วยการที่ พนักงานบางคนขอเป็นเซลล์กรีนสปอต บางคนเอากรีนสปอตไปขาย เป็นต้น

          Happy heart เรื่องของจิตใจ อย่างเช่นในกลุ่มของเรามีโรงพยาบาล ความสุขของพนักงานเน้นที่การให้ เนื่องจากโรงพยาบาลก็ย่อมต้องมีการดูแลผู้ป่วย มันคือการทำบุญอย่างหนึ่ง ดังนั้นความสุขในการดูแลคนไข้และโรงพยาบาลก็ต้องให้เค้ามีความสุข ความสุขในการที่พนักงานพึงจะได้รับ สิ่งนี้ไม่เสียเงิน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ รายละเอียดจะมีอีกเยอะ ผมสรุปเท่าที่จำได้จริงๆ Happy 8 มีครบทุกตัว และสามารถนำมาใช้ได้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้  และที่น่าสนใจคือ บริษัทโอสถสภา มีศิลปินที่ให้การสนับสนุนอยู่ คือ โครงการธรรมคีตา ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างบทเพลงและธรรมะ ซึ่งใช้บทเพลงคู่ธรรมะ โดยคุณปู พงษ์สิทธิ์ บรรเลงเพลงตามแนวคุณปู และนิมนตร์ท่าน ว. วชิรเมธี มาบรรยายธรรมตามเพลง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เราทำในช่วงนี้ หรือ บริษัท เบทาโกร เรียกว่าห้องสีชมพู ให้พนักงานไประบายอารมณ์ จิตใจกับแพทย์ ซึ่งแพทย์จะสรุปประเด็นมาให้ ถ้าเป็นเรื่องที่แพทย์แก้ไขได้ในเรื่องจิตใจก็แก้ไขได้เลย แต่ถ้าเรื่องที่แก้ไขไม่ได้จะสรุปให้ CEO รับไปแก้ไข หรือ ที่ปรึกษาอย่างเช่นที่ กลุ่ม PTT l มีการให้พนักงานหรือครอบครัวที่มีปัญหาทุกเรื่องสามารถโทรไปปรึกษาแพทย์ได้ข้างนอกได้  และทางกลุ่มที่ดูแลจะโทรไปตรวจสอบว่าเดือนนี้มีครอบครัวหรือพนักงานโทรไปกี่ครั้ง บริษัทจะดูภาพรวมในองค์กรเป็นหลัก ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่นำไปใช้ได้

และอีกเรื่องหนึ่งคือ Happy Society หลายองค์กรทำจิตอาสา หรือกิจกรรมเพื่อสังคมสู่ภายนอก แต่ผมอยากจะเน้นให้เราทำภายในองค์กรเราด้วย ผมคิดว่าก่อนที่สังคมจะมีสุข เราต้องทำภายในองค์กรเราสุขก่อน  ฉะนั้นกิจกรรมด้านสังคมน่าจะเกิดภายในบริษัทก่อนที่จะไปเกิดข้างนอก  หลายเรื่องที่ผมจะออกไปทำข้างนอก    ตัวอย่างทาง HR ในบริษัทได้ถามไว้เช่น การบริจาคหนังสือ เราจะไปสร้างห้องสมุดด้านนอกแล้วห้องสมุดในบริษัทเรียบร้อยแล้วหรือยัง  ผมอยากให้ทุกอย่างเริ่มจากตัวเราเองก่อน หรือตัวอย่าง โครงการช่วงรับบริจาคหนังสือ เพื่อห้องสมุดของตัวเองก่อน หลังจากนั้นส่วนหนึ่งที่ได้ทำการคัดแยกแล้ว เป็นระดับชั้น เช่น ป.1 ป.2 ป.3 และนำไปให้น้อง หรือลูกหลานในองค์กร และหลังจากนั้นค่อยนำไปบริจาคข้างนอก

สรุปภาพรวมประกอบไปด้วย

1.      การสื่อสาร ทำความเข้าใจสภาวะภายในองค์กร

2.      การสร้างบรรยากาศ ลด-ควบคุมค่าใช้จ่ายบางตัวที่เกินความจำเป็น

3.   กิจกรรมเสริมคือ Happy 8 ลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนทางด้านจิตใจสูง และกิจกรรมอื่นๆ เช่น บริษัท กรีนสปอต เป็นต้น

          กลุ่มนี้เน้นการพัฒนา “คน” เพื่อเตรียมพร้อมรับได้ทุกสภาวะการเปลี่ยนในโลกปัจจุบัน

 

การขยายผลของการนำสิ่งที่ประสบความสำเร็จขององค์กรตนเองสู่องค์กรอื่นๆ

          แต่ละบริษัทก็เขียนเป็น Mind map ออกมาดังนี้คือ

   -  ขยายผลในกลุ่มลูกค้า ทั้ง partnership, Buyer, Sub-contact, Out-source, labor รวมทั้ง บริษัทข้างเคียง (KTC)

   -     ขยายผลไปในชุมชนรอบข้างโรงงาน เช่น ให้ทุนการศึกษา สร้างครัวคุณภาพภายในโรงเรียน (เบทาโกร)

   -      ชมรม CSR  Network Building เพื่อ share เรื่องต่างๆ รวมถึง Happy8

  -     จัดชุมชนสัมพันธ์ และงานอาสาเช่น ครูอาสา บริจาคแบ่งปันสิ่งของ  ดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม  (กรีนสปอต)

 

หมายเลขบันทึก: 290885เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท