เรื่องที่ (๔๐) คนที่มองไม่เห็นความผิดของตน


เข้มงวดต่อคนอื่น ปล่อยปละตัวเอง

คนที่มองไม่เห็นความผิดของตน

“เข้มงวดต่อคนอื่น ปล่อยปละต่อตัวเอง” เป็นโรคประจำตัวของคนทั้งหลาย  ในขณะที่เราวิจารณ์คนอื่นนั้น มักจะเห็นแต่ความผิดของคนอื่น แต่กลับมองไม่เห็นว่าตนกำลังทำความผิดในแบบเดียวกัน

มีพระอยู่ ๔ รูป ร่วมกันฝึก “การเข้าสมาธิเงียบ” ในแบบของเซน

ใน ๔ รูปนั้น มีอยู่ ๓ รูปเป็นพระอาวุโสแก่พรรษา  มีเพียงรูปเดียวที่อ่อนทั้งอาวุโสและพรรษา  เนื่องจากการฝึกจำเป็นต้องจุดตะเกียง  เพราะฉะนั้นหน้าที่การดูแลตะเกียงจึงมอบให้พระที่อ่อนพรรษากว่าเป็นผู้รับผิดชอบ

            “การฝึกสมาธิเงียบ” เริ่มต้นขึ้นแล้ว พระทั้ง ๔ รูปนั่งขัดสมาธิล้อมรอบอยู่กับตะเกียงดวงนั้น  ดำเนินการฝึกอย่างเคร่งครัด เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง พระทั้ง ๔ รูป มิได้ปริปากพูดอะไรเลย เนื่องจากมันเป็น “การฝึกสมาธิเงียบ” จึงไม่มีใครเอ่ยปากพูดเลยสักรูปเดียว  ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา

            แต่น้ำมันในตะเกียงน้อยลงทุกที ดูท่าจะแห้งไปในไม่ช้า พระรูปที่รับผิดชอบดูแลตะเกียง เห็นเช่นนั้นก็ร้อนใจ ในตอนนี้เอง ก็มีลมโชยมากระโชกหนึ่ง  ไฟในตะเกียงก็ถูกพัดจนริบหรี่ลง เกือบจะดับมิดับแหล่

            พระรูปที่ดูแลตะเกียงอดรนทนไม่ไหว ตะโกนขึ้นว่า “แย่แล้ว  ตะเกียงดับแล้ว”

            พระอื่น ๆ อีก ๓ รูป เดิมทีก็นั่งหลับตาขัดสมาธิ ไม่มีใครพูดอะไรเลย เมื่อได้ยินพระรูปนั้นตะโกนเสียงหลงดังนั้น  พระรูปที่นั่งถัดไปก็ลืมตาขึ้นพร้อมกับตำหนิว่า “ร้องเอะอะไปทำไม เรากำลังฝึกสมาธิเงียบอยู่มิใช่หรือ ร้องแรกแหกกระเชอไปได้ เสียสมาธิหมด” พระรูปที่นั่งถัดไปอีกรูปหนึ่งได้ยินเข้าก็บันดาลโทสะ เอ็ดพระรูปที่เอ๋ยปากตำหนิว่า “คุณก็ส่งเสียงเอะอะอยู่เหมือนกันไม่ใช่หรือแย่จริง ๆ”

 

            ส่วนพระอีกรูปหนึ่งซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าเพื่อน นั่งเงียบอยู่ตลอดเวลาที่พระ ๓ รูปส่งเสียงเอะอะกันอยู่ แต่ผ่านไปสักครู่ พระรูปนั้นก็ลืมตามองพระทั้ง ๓ รูป ด้วยความภูมิใจว่า “มีแต่ผมเท่านั้นที่ไม่ได้พูด”

            พระ ๔ รูป ซึ่งฝึกสมาธิเงียบในแบบเซนกันอยู่ ต่างก็เอ่ยปากพูดกันหมดเพราะเรื่องตะเกียงดวงเดียว  ที่น่าหัวร่อก็คือ พระอาวุโส ๓ รูป ในขณะที่ตำหนิคนอื่นว่าส่งเสียงพูดจาให้เสียสมาธินั้น ล้วนแต่ก็ไม่รู้ตัวว่า ตนก็กระทำผิดที่ “เอ่ยปากพูด” เหมือนกัน

            มีนักเรียนคนหนึ่งถามครูว่า “ที่คุณครูเขียนข้อความไว้ใต้ความเรียงของผมนั้น ผมสติปัญญาน้อย ดูไม่ออกจริง ๆ ว่า คุณครูเขียนว่าอะไรบ้าง  ขอได้โปรดอธิบายให้ผมทราบด้วย”

            ครูตอบว่า “ฉันเพียงแต่เขียนบอกเธอว่า เธอเขียนหนังสือหวัดเกินไป  วันหลังเขียนให้บรรจงสักหน่อยเท่านั้นเอง”

            ครูเห็นแต่ความ”หวัด” ของนักเรียน แต่หารู้ไม่ว่า ตนก็กระทำความผิดเรื่องเขียนหนังสือ “หวัด” เหมือนกัน จนนักเรียนก็อ่านข้อความที่ครูเขียนไม่รู้เรื่อง 

     จาก หนังสือปรัชญาของผู้สู้ชีวิต กว้อไท่ เขียน  บุญศักดิ์ แสงระวี แปล

บันทึกหลังเรื่องเล่า

เพื่อนครูครับ พระทั้ง ๔ รูป ใครประพฤติผิดมากที่สุด  เพราะอะไร

ใครรู้ช่วยบอกด้วยครับ

คำสำคัญ (Tags): #มองตัวเอง
หมายเลขบันทึก: 290258เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โทษคนอื่นเพียง เมล็ดงา

ปองติฉินนินทา ห่อนเว้น....

โคลงโลกนิติ มีว่าไว้มั้ง

We judge ourselves by our motives

and others by their actions.

เราตัดสินตัวเราด้วยจุดประสงค์ของเรา แต่ตัดสินคนอื่น ๆ ด้วยการกระทำของเขา ครับ คุณครู ป.๑

  • ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วได้ปัญญา
    นำมาพิจารณาตนเองได้ดีค่ะ

Many wish not so much to be virtuous; as to seem to be. Cicero (106-43 B.C.)

คนเป็นอันมากไม่ได้ประสงค์จะเป็ฯผู้ทรงคุณงามความดีเท่ากับประสงค์จะให้คนอื่นมองดูว่าเป็นเช่นนั้น

พระรูปที่ ๑ ผิดวินัย ข้อตกลง

พระรูปที่ ๒ ผิดวินัย ผสมโทสะ แต่แฝงเมตตาสั่งสอน

พระรูปที่ ๓ ผิดวินัย มีโทสะจริต

พระรูปที่ ๔ ผิดวินัย มีโมหะจริต ครือความหลงเข้าครอบครอง

********************

พระรูปที่ ๑ ครูผู้ช่วย คศ ๑

พระรูปที่ ๒ ครูชำนาญการ คศ ๒

พระรูปที่ ๓ ครูชำนาญการพิเศษ คศ ๓

พระรูปที่ ๔ ผู้อำนวยการโรงเรียน

(งดฮา)

รูปอะไรครับ

คุณผู้ไม่แสดงตน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท