ชุมชนบำบัด : เครื่องมือจัดการพฤติกรรม


ชุมชนบำบัด : เครื่องมือจัดการพฤติกรรม

ชุมชนบำบัด เชื่อว่าการเสพยาเสพติดจนติดเป็นนิสัยนั้นทำให้คนนั้นๆได้เรียนรู้พฤติกรรมของคนติดยาที่ไม่มีความซื่อสัตย์ ไม่รับผิดชอบ และพฤติกรรมอื่นๆอีกหลายอย่างที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป

ดังนั้น หากชุมชนบำบัดเป็นสถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้สามารถกลับมาเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับในสังคม สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติดแล้วนั้น  ในชุมชนบำบัดจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือเฉพาะเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคุคคลเหล่านั้น

แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1 เครื่องมือให้แรงเสริม หรือการเสริมแรง ( Reinforcers )
2 เครื่องมือยุติพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ( Extinguishers )
3 เครื่องมือลงโทษ (Consequences)

1 เครื่องมือให้แรงเสริม หรือการเสริมแรง ( Reinforcers )
-การชมเชย ( Push-Up ) 
เมื่อมีใครทำสิ่งที่ถูกต้อง ให้ชมเชยได้ทั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ อาจชมเชยด้วยวาจาหรือเขียนให้ทุกคนเห็นก็ได้
-การประกาศชมเชยในที่สาธารณะ (Public commendation, Affirmation) 
การให้รางวัลต่อหน้าชุมชน การเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบ และการเลื่อนขั้น
การให้สิทธิพิเศษ ( Status / Privilege )   
ให้รางวัลนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกหรือเห็นความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลง

2 เครื่องมือยุติพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ( Extinguishers )
-การเตือนด้วยวาจาหรือการช่วยเหลือกันในกลุ่ม(Verbal awareness/Pull-Up )
-การเขียนเตือนเพื่อช่วยเหลือกันในกลุ่ม(Written awareness / Pull-Up ) 
-กลุ่มเผชิญหน้า (Encounter Group)  
-การคาดโทษ (Hair Cut ) 
-การประชุมเรื่องสำคัญ (General Meeting)

เมื่อมีพฤติกรรมที่ร้ายแรงเกิดขึ้นในชุมชน เช่น การก่อความรุนแรง การเสพยาเสพติด ฯลฯ ถือว่าเป็น “วิกฤติ” ที่เกิดขึ้นในชุมชน และต้องมีการดำเนินการต่างๆ ดังนี้
สร้างขวัญและกำลังใจในชุมชนให้กลับมาเหมือนเดิม
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคล
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวก
ให้บุคคลนั้นกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเหมือนเดิม(ถ้าเป็นไปได้)


3 เครื่องมือลงโทษ (Consequences)
-การกักบริเวณหรือให้อยู่เฉพาะส่วน (Ban / Bench)
เป็นการแยกออกจากกลุ่มหรือลดบทบาทการเข้ามามีส่วนร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งการเข้ามาใช้สถานที่หรือสิ่งของ
-การร่างสัญญาความประพฤติ หรือเขียนประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ (Behavior Contract / Learning Experience)
เป็นการมอบหมายงานให้ทำในกรณีที่มีการละเมิดกฎระเบียบ งานนั้นคือการเขียนถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมที่ควรประพฤติ การขอโทษต่อชุมชนและยินดีที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเอง หรือการให้เขียนถึงสิ่งที่คิดว่าควรจะเป็นหรือควรจะทำ โดยให้เวลาจำกัด และไม่ให้ถามคนอื่น การเขียนนี้จะช่วยในกระบวนการเรียนรู้ได้มาก
-การเจรจา (Relating Table)
สมาชิกที่มีความขัดแย้งกัน ต้องการเวลาและสถานที่ที่จะมาร่วมพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นๆ โดยจะมีผู้ไกล่เกลี่ยร่วมรับฟังอยู่ด้วย ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยนี้จะเป็นผู้นัดหมายเวลาและสถานที่เพื่อให้มั่นใจว่าการสื่อสารนี้จะเกิดขึ้นอย่างเปิดใจกันและไม่มีการทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน

(คัดลอกบางส่วนจาก หนังสือ รู้ลึก....ชุมชนบำบัด โดย นรัญชญา ศรีบูรพา)

หมายเลขบันทึก: 289077เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท