เศรษฐกิจพอเพียงกศน.เสนา


“การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”

“การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ    สำคัญที่เราพออยู่พอกิน   และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน  แบบพอมีพอกิน  หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้   ให้มีพอเพียงกับตัวเอง” 

 

              พระราชดำรัสของ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม  พุทธศักราช  2540   ช่วงที่ประเทศไทยกำลังประสบวิกฤติเศรษฐกิจ

 

             วันนี้  “วิกฤติเศรษฐกิจ” หวนกลับมาคุกคามประเทศไทยอีกครั้ง  น้ำมันแพง  ข้าวสารแพง น้ำตาลแพง   และนำไปสู่ การจ่อคิวขึ้นราคาของสินค้า เกือบทุกอย่างที่เกี่ยวพันกับการดำรงชีวิต  แบบไม่ยอมน้อยหน้ากัน    คือความเป็นจริง ที่สะท้อนภาพอย่างชัดเจน  และครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงประเทศไทย  แต่เกือบจะทั่วโลก  ล้วนเผชิญปัญหาเช่นเดียวกัน    โดยเฉพาะหลายประเทศ  เลวร้าย ถึงขั้นเกิดการจลาจลแย่งชิงอาหารกัน     สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย      ตระหนักถึงปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น  จึงมอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัด    น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ไปส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชน    เพราะในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้    การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นวิถีทางดำเนินชีวิต จะเป็นทางออก ให้สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้

         
             นางภัชราพร มีรสสม  ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเสนา  กล่าวว่า ความพอเพียงจะต้องเริ่มจากส่วนเล็ก ไปหาส่วนใหญ่  โดยเริ่มจากครอบครัว ไปสู่ชุมชน  จึงเน้นแนวทางในการดำเนินงาน ให้นำหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ไปให้ความรู้กับประชาชนในอำเภอเสนา   เน้นที่ครอบครัวเป็นหลัก   จึงเกิดเป็นโครงการ จัด และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ซึ่งแนวทางการให้ความรู้กับประชาชน  โดยเริ่มจาก     ให้ชาวบ้านสำรวจตัวเองว่า   มีปัญหาอะไรในชุมชน  แล้วหาวิธีลดต้นทุนการผลิต จากนั้น  เพิ่มมูลค่าทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน

              “เมื่อรู้ปัญหา   เราก็เข้าไปส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้   โดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้   เริ่มจากลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรม   ลดต้นทุนการผลิต  ส่งเสริมให้ผลิตของบางอย่างใช้เอง   เช่น     สบู่  ยาสีฟัน ยาสระผม และน้ำยาล้างจาน  หรือจะเป็นการนำภูมิปัญญามาใช้  เช่น    บางชุมชนมีความรู้เรื่องยาสมุนไพร ก็จะไปส่งเสริมให้ได้เห็นประโยชน์  ผลิตยาสมุนไพรใช้เอง  ส่วนการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรในชุมชน เช่น บางชุมชนมีความสามารถเรื่องการใช้สมุนไพร ก็จะส่งเสริมการปลูกและผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำหน่ายและใช้เอง”       เพียงระยะเวลาสั้นๆ ของโครงการ หลายชุมชนมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป    เริ่มจาก  ชุมชนบ้านตากแดด  ด้วยสภาพที่เป็นชุมชนที่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม ทำให้คนในวัยหนุ่มสาว  นิยมทำงานในโรงงานมากกว่าจะทำงานอยู่ที่บ้าน   ปัจจุบันในหมู่บ้านจึงเหลือแต่ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ  ทาง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  อำเภอเสนา จึงเข้าไปส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม ให้ความรู้  เพื่อนำเอาความรู้ไปใช้ สร้างอาชีพเสริม   ทำให้ปัจจุบัน  ชาวบ้านในชุมชน มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งยังมีรายได้เสริม มาจากการตัดเย็บเสื้อผ้า  การทำน้ำยาล้างจาน  และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร จำหน่าย    ส่วนที่   ตำบลบ้านหลวง  ได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เห็นประโยชน์   และความสำคัญของ   ต้นไม้ประจำครัวเรือน  ได้แก่  ต้นกล้วย  โดยให้ความรู้ถึงคุณประโยชน์  วิธีการปลูกที่ถูกต้อง และช่องทางเสริมรายได้ ของกล้วย   โดยการทำธนาคารกล้วยพันธ์หายากขึ้นมา  เรื่องกล้วยไม่ใช่เรื่อกล้วยๆ อีกต่อไป  เพราะมันจะเป็นรายได้เสริมให้ชุมชนในอนาคตได้     ที่  ตำบลบ้านกระทุ่มและตำบลมารวิชัย  ได้ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร และสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันปลูกสมุนไพล  โดยการทำสวนสมุนไพรขึ้นมา  อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่ดีอีกด้วย   และในตำบลมารวิชัย  ยังมีการส่งเสริมให้ความรู้ประชาชน  ในเรื่องการใช้ปุ๋ยและยาชีวภาพ   ทดแทนการใช้สารเคมี   ซึ่งได้มีการร่วมมือกับภาคีเครือข่าย คือ   เกษตรอำเภอ  ในการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่        นายสายัญ  สุภาเกตุ  หนึ่งในนักศึกษาของ กศน.  ที่ร่วมโครงการ ยอมรับว่าเดิมใช้สารเคมีในการทำนา    แต่อยู่มาวันหนึ่ง  โดนพิษสารเคมีจนถึงกับทำให้ลุกไม่ขึ้น   จึงหันมานำหลักเศรษฐกิจพอเพียง และยืนยันว่าจะไม่หวนไปใช้สารเคมีอีก     และนอกจากการทำนาแล้ว ในบริเวณบ้านของนายสายัญ ยังปลูกพืชอีกหลายชนิดโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียว      

                   ผลลัพธ์ที่เป็นเหมือนคำตอบ   คือชาวบ้านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน    แถมยังสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ครอบครัวด้วย     นอกจากสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ดีขึ้นแล้ว    ภาพที่ติดตาและประทับใจเราคือ“รอยยิ้ม”   ของชาวบ้านทุกคน ที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน    นั่นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียง   นำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า “ความสุขอย่างแท้จริง”  

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 289072เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
โรงเรียนบ้านหนองโสน

เป็นการพอเพียงแบบเศรษฐกิจ

โรงเรียนบ้านหนองโสน

เป็นการพอเพียงแบบเศรษฐกิจ

มาให้กำลังใจในการทำงานค่ะ

สู้ๆๆนะคะ

มาเยี่ยมชมผลงานครับ ขอให้เป็นกลุ่มแนวหน้าของ กศน.จ.พระนครศรีอยุธยาอีกคนหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท