สิทธิในการเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศของคนไร้สัญชาติกรณีนางสาวศรีนวล เสาร์คำนวล: มีกฎหมายนโยบายอะไรมารองรับ?


อ.แหววมีข้อแนะนำ อ.ไหม ดังนี้ จะเขียนหนังสือ โดยไม่รวบรวมความรู้ไม่ได้ค่ะ 2. ก่อนที่จะเขียน ก็ต้องรวบรวมความรู้ก่อน เราต้องการความรู้ด้านกฎหมายก่อนเลย กฎหมายอะไรบ้างคะที่ให้สิทธิแก่ศรีนวลในการเดินทาง 3. ไหมลองตอบคำถามนี้มากันในโต๊ะเสวนาทางอีเมลล์ก่อนดีไหมคะ ?? อ.แหวว

 

v  ข้อเท็จจริง : นางสาวศรีนวล เสาร์คำนวล เกิดเมื่อ พ.ศ.2531 ที่บ้านสันเกล็ดทอง ต.โป่งงาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นบุตรของนายหนุ่ม และนางแสง เสาร์คำนวล ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูงตามแผนแม่บทฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม  2542 โดยสำนักทะเบียน อ.แม่สาย จ.เชียงราย

ในปี 2551 นางสาวศรีนวล เสาร์คำนวล นักเรียนไร้สัญชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนการศึกษาเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สตีเว่นพอยด์ รัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลา 5 ปี

ในการนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือที่ มท.0308.4/8132  ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2551 อนุญาตให้นางสาวศรีนวล เสาร์คำนวล เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อศึกษาต่อภายในระยะเวลาตามหลักสูตร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังจบหลักสูตรการศึกษา นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยยังได้มีหนังสือที่ มท.0308.4/8130  ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2551 ประสานไปยังปลัดกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ช่วยดำเนินการออกหนังสือเดินทางและ re-entry visa และหนังสือที่ มท. 0308.4/8131  ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2551 ประสานไปยังผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อให้ดำเนินการประสานในการตรวจลงตราเพื่อเดินทางออกนอกประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกัน กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้ดำเนินการออกหนังสือเดินทางประเภท Travel  Document for Aliens และออก re-entry visa มีกำหนดต้องกลับมาต่ออายุในราชอาณาจักรทุกๆ 1 ปี 

v  ปัญหา : แม้ว่านางสาวศรีนวล เสาร์คำนวล จะได้รับอนุญาตจากกระทวงมหาดไทยให้เดินทางออกไปศึกษาได้ตลอดหลักสูตรและเดินทางกลับเข้ามาในประเทศได้อีก  แต่ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องเพราะจะต้องเดินทางกลับมาต่ออายุหนังสือเดินทาง และ re-entry visa ที่ประเทศไทยทุกปี โดยในปีนี้ทางมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สตีเว่นพอยด์ รัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ให้ทุนเป็นผู้สนับสนุนค่าเดินทางดังกล่าว ซึ่งผู้ให้ทุนเองก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ตลอดทั้ง 5 ปี 

v  กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 

1.    ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948[1] (Universal Declaration of Human Rights -UDHR)

ข้อ 2

(1) ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าชนิดใดๆดังเช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือ สถานะอื่นๆ

Article 2.

Everyone is entitled to all the rights and freedoms set forth in this Declaration, without distinction of any kind, such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status. Furthermore, no distinction shall be made on the basis of the political, jurisdictional or international status of the country or territory to which a person belongs, whether it be independent, trust, non-self-governing or under any other limitation of sovereignty.

ข้อ 6

ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับนับถือว่า เป็นบุคคลตามกฎหมายทุกแห่งหน

Article 6.

Everyone has the right to recognition everywhere as a person before the law.

ข้อ 7

ทุกคนเสมอกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันจากการเลือกปฏิบัติใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญา และจากการยุยงให้เกิดการเลือกปฏิบัติดังกล่าว

Article 7.

 All are equal before the law and are entitled without any discrimination to equal protection of the law. All are entitled to equal protection against any discrimination in violation of this Declaration and against any incitement to such discrimination.

ข้อ 13

(1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนไหวและสถานที่อยู่ภายในเขตของแต่ละรัฐ

(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดๆไปรวมทั้งประเทศของตนเองด้วย และที่จะกลับยังประเทศตน

Article 13.

(1)    Everyone has the right to freedom of movement and residence within the borders of each state.

(2)     Everyone has the right to leave any country, including his own, and to return to his country.

ข้อ 22

ทุกคนในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม มีสิทธิในความมั่นคงทางสังคม และมีสิทธิในการบรรลุถึงซึ่งสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและทางวัฒนธรรม อันจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกียรติศักดิ์ของตน และการพัฒนาบุคลิกภาพของตนอย่างอิสระ ทั้งนี้ โดยความเพียรพยายามแห่งชาติและโดยความร่วมมือระหว่างประเทศและตามระบอบการและทรัพยากรของแต่ละรัฐ

Article 22.

Everyone, as a member of society, has the right to social security and is entitled to realization, through national effort and international co-operation and in accordance with the organization and resources of each State, of the economic, social and cultural rights indispensable for his dignity and the free development of his personality.

ข้อ 26

(1) ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในชั้นประถมศึกษาและการศึกษาชั้นหลักมูล การประถมศึกษาจะต้องเป็นการบังคับ การศึกษาทางเทคนิคและวิชาอาชีพจะต้องเป็นอันเปิดโดยทั่วไป และการศึกษาชั้นสูงขึ้นไปก็จะต้องเป็นอันเปิดสำหรับทุกคนเข้าได้ถึงโดยเสมอภาคตามมูลฐานแห่งคุณวุฒิ

(2) การศึกษาจะได้จัดไปในทางพัฒนาบุคคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และยังความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพหลักมูลให้มั่นคงแข็งแรง จะต้องส่งเสริมความเข้าใจ ขันติธรรม และมิตรภาพระหว่างบรรดาประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติหรือ ศาสนา และจะต้องส่งเสริมกิจกรรมของสหประชาชาติ เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ

(3) บิดามารดา มีสิทธิเบื้องแรกที่จะเลือกชนิดของการศึกษาอันจะให้แก่บุตรของตน

Article 26.

(1) Everyone has the right to education. Education shall be free, at least in the elementary and fundamental stages. Elementary education shall be compulsory. Technical and professional education shall be made generally available and higher education shall be equally accessible to all on the basis of merit.

(2) Education shall be directed to the full development of the human personality and to the strengthening of respect for human rights and fundamental freedoms. It shall promote understanding, tolerance and friendship among all nations, racial or religious groups, and shall further the activities of the United Nations for the maintenance of peace.

(3) Parents have a prior right to choose the kind of education that shall be given to their children.

2.         กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR)

ข้อ 2

1.   รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพปละประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายในดินแดนของตนและภายใต้เขตอำนาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้โดยปราศจากการแบ่งแยกใด ๆ อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ

2.   ในกรณีที่ยังไม่มีมาตรการทางนิติบัญญัติหรือมาตรการอื่นใด รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็น ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของตนและบทบัญญัติแห่งกติกานี้เพื่อให้มีมาตรการทางนิติบัญญัติหรือมาตรการอื่นใดทีอาจจำเป็น เพื่อให้สิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้เป็นผล

3.   รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะ

(ก) ประกันว่า บุคคลใดที่สิทธิหรือเสรีภาพของตนซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้ถูกละเมิดต้องได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผลจริงจัง โดยไม่ต้องคำนึงว่าการละเมิดนั้นจะกระทำโดยบุคคลผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่

(ข) ประกันว่า บุคคลใดที่เรียกร้องการเยียวยาดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาจากฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติที่มีอำนาจ หรือจากหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจตามที่กำหนดไว้ โดยระบบกฎหมายของรัฐ และจะพัฒนาหนทางการเยียวยาด้วยกระบวนการยุติธรรมทางศาล

(ค) ประกันว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจต้องบังคับการให้การเยียวยานั้นเป็นผล

Article 2

1. Each State Party to the present Covenant undertakes to respect and to ensure to all individuals within its territory and subject to its jurisdiction the rights recognized in the present Covenant, without distinction of any kind, such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status.

2. Where not already provided for by existing legislative or other measures, each State Party to the present Covenant undertakes to take the necessary steps, in accordance with its constitutional processes and with the provisions of the present Covenant, to adopt such laws or other measures as may be necessary to give effect to the rights recognized in the present Covenant.

3. Each State Party to the present Covenant undertakes:

(a) To ensure that any person whose rights or freedoms as herein recognized are violated shall have an effective remedy, notwithstanding that the violation has been committed by persons acting in an official capacity;

(b) To ensure that any person claiming such a remedy shall have his right thereto determined by competent judicial, administrative or legislative authorities, or by any other competent authority provided for by the legal system of the State, and to develop the possibilities of judicial remedy;

(c) To ensure that the competent authorities shall enforce such remedies when granted.

ข้อ 12

1.   บุคคลทุกคนที่อยู่ในดินแดนของรัฐใดโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการโยกย้าย และเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในดินแดนของรัฐนั้น

2.   บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีที่จะออกจากประเทศใด ๆ รวมทั้งประเทศของตนได้

3.   สิทธิดังกล่าวข้างต้นไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดใด ๆ เว้นแต่เป็นข้อจำกัดตามกฎหมาย และที่จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น และข้อจำกัดนั้นสอดคล้องกับสิทธิอื่น ๆ ที่รับรองไว้ในกติกานี้

4.   บุคคลจะถูกลิดรอนสิทธิในการเดินทางเข้าประเทศของตนโดยอำเภอใจมิได้

Article 12

1. Everyone lawfully within the territory of a State shall, within that territory, have the right to liberty of movement and freedom to choose his residence.

2. Everyone shall be free to leave any country, including his own.

3. The above-mentioned rights shall not be subject to any restrictions except those which are provided by law, are necessary to protect national security, public order (ordre public), public health or morals or the rights and freedoms of others, and are consistent with the other rights recognized in the present Covenant.

4. No one shall be arbitrarily deprived of the right to enter his own country.

ข้อ 16

บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายในทุกแห่งหน

Article 16

Everyone shall have the right to recognition everywhere as a person before the law.

ข้อ 26

บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในกรณีนี้ กฎหมายจะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติใด ๆ และต้องประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ

Article 26

All persons are equal before the law and are entitled without any discrimination to the equal protection of the law. In this respect, the law shall prohibit any discrimination and guarantee to all persons equal and effective protection against discrimination on any ground such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status.


หมายเลขบันทึก: 289063เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ น้องไหม
  • เป็นข้อมูลที่ดีมากเลย
  • พี่วันทนาจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • รวมทั้งได้จุดประกายความคิดอย่างอื่นเพิ่มเติม
  • ขอขอบคุณอีกครั้ง

(ต่อ)

3.    กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ.1966 (International Covenant on Economic Social and Cultural Rights – ICESCR)

ข้อ 2

1.  รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะดำเนินการ โดยเอกเทศและโดยความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการทำให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้กลายเป็นความจริงอย่างบริบูรณ์โดยลำดับด้วยวิธีทั้งปวงที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวมทั้งการกำหนดมาตรการทางกฎหมายด้วย

2.  รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกานี้จะใช้ได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น

Article 2

1. Each State Party to the present Covenant undertakes to take steps, individually and through international assistance and co-operation, especially economic and technical, to the maximum of its available resources, with a view to achieving progressively the full realization of the rights recognized in the present Covenant by all appropriate means, including particularly the adoption of legislative measures.

2. The States Parties to the present Covenant undertake to guarantee that the rights enunciated in the present Covenant will be exercised without discrimination of any kind as to race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status.

ข้อ 13

1. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษา รัฐภาคีเห็นพ้องกันว่าการศึกษาจะต้องมุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความสำนึกในศักดิ์ศรีของตนอย่างบริบูรณ์ และจะต้องเพิ่มพูนการเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รัฐภาคีเห็นพ้องกันอีกว่า การศึกษาจะต้องทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องส่งเสริมความเข้าใจ ความอดกลั้นและมิตรภาพระหว่างชาติ และกลุ่มเชื้อชาติ ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มศาสนาทั้งปวง และสานต่อไปถึงกิจกรรมของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ

2. รัฐภาคีแห่งกตินี้รับรองว่า เพื่อที่จะทำให้สิทธินี้เป็นจริงโดยบริบูรณ์

(ก) การศึกษาขั้นประถมจะต้องเป็นการศึกษาภาคบังคับและจัดให้ทุกคนแบบให้เปล่า

(ข) จะต้องจัดการศึกษาขั้นมัธยมในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษามัธยมทางเทคนิคศึกษาและอาชีวศึกษา ให้มีขึ้นโดยทั่วไป และให้ทุกคนมีสิทธิได้รับโดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการนำการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

(ค) ทุกคนจะต้องสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของความสามารถ โดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการนำการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

(ง) การศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องได้รับการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับหรือเรียนไม่ครบตามช่วงระยะเวลาทั้งหมดของการศึกษาขั้นประถม

(จ) จะต้องดำเนินการพัฒนาระบบโรงเรียนทุกระดับอย่างแข็งขัน ให้มีระบบทุนการศึกษาที่เพียงพอ และปรับปรุงสภาพของวัสดุประกอบการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง

3. รัฐภาคีทั้งหลายแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพเสรีภาพของบิดามารดาและผู้ปกครองตามกฎหมายในกรณีที่มี ในการเลือกโรงเรียนสำหรับเด็กของตน นอกจากที่จัดตั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้หรือให้ความเห็นชอบเพื่อประกันให้การศึกษาทางศาสนาและศีลธรรมของเด็กเป็นไปโดยสอดคล้องกับความเชื่อถือของตน

4. ไม่มีส่วนใดของข้อนี้จะแปลไปในทางก้าวก่ายเสรีภาพของปัจเจกชน และองค์กรในการจัดตั้งและดำเนินการสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในวรรค ๑ ของข้อนี้ และข้อกำหนดที่ว่า การศึกษาในสถาบันเช่นว่าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามที่รัฐได้กำหนดไว้

Article 13

1. The States Parties to the present Covenant recognize the right of everyone to education. They agree that education shall be directed to the full development of the human personality and the sense of its dignity, and shall strengthen the respect for human rights and fundamental freedoms. They further agree that education shall enable all persons to participate effectively in a free society, promote understanding, tolerance and friendship among all nations and all racial, ethnic or religious groups, and further the activities of the United Nations for the maintenance of peace.

2. The States Parties to the present Covenant recognize that, with a view to achieving the full realization of this right:

(a) Primary education shall be compulsory and available free to all;

(b) Secondary education in its different forms, including technical and vocational secondary education, shall be made generally available and accessible to all by every appropriate means, and in particular by the progressive introduction of free education;

(c) Higher education shall be made equally accessible to all, on the basis of capacity, by every appropriate means, and in particular by the progressive introduction of free education;

(d) Fundamental education shall be encouraged or intensified as far as possible for those persons who have not received or completed the whole period of their primary education;

(e) The development of a system of schools at all levels shall be actively pursued, an adequate fellowship system shall be established, and the material conditions of teaching staff shall be continuously improved.

3. The States Parties to the present Covenant undertake to have respect for the liberty of parents and, when applicable, legal guardians to choose for their children schools, other than those established by the public authorities, which conform to such minimum educational standards as may be laid down or approved by the State and to ensure the religious and moral education of their children in conformity with their own convictions.

4. No part of this article shall be construed so as to interfere with the liberty of individuals and bodies to establish and direct educational institutions, subject always to the observance of the principles set forth in paragraph I of this article and to the requirement that the education given in such institutions shall conform to such minimum standards as may be laid down by the State.

4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)

5.     อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women- CEDAW)

6.     อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – ICERD)

v  กฎหมายไทย

1.   พระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง พ.ศ.2522

มาตรา 17 

ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้

v  นโยบายของรัฐไทย

หนังสือด่วนมากที่ มท.0308.4/795 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2550 เรื่อง การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เกี่ยวกับการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาที่เป็นบุคคลไม่มีสัญาติไทยเดินทางออกนอกเขตควบคุมเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการศึกษาในสถานศึกษา โดยระยะเวลาการอนุญาตนั้นให้พิจารณาจากระยะเวลาที่ผู้นั้นศึกษาตามหลักสูตรและระยะเวลาในการเดินทางไปกลับเป็นสำคัญ(อยู่ระหว่างการออกระเบียบ มท.)

 

หลังจากระบุข้อกฎหมายแล้ว วิเคราะห์ข้อกฎหมายด้วยซิคะ บอกมาเป็นแถวทิวอย่างนี้ คงไม่พอนะคะ

เคยรู้เรื่องพวกนี้มาบ้างนะคะ  และติดตามงานเรื่องสัญชาติของอาจารย์แหวว และลูกศิษย์หลายท่าน

แต่สงสัยอย่างหนึ่งนะคะว่า

ทำไมตัวเจ้าของปัญหาถึงไม่เรียบเรียง และเขียนเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง อีกทั้งทำไมพวกเขาเหล่านั้นจึงไม่คิดทำอะไรที่มันเป็นแบบเพื่อตัวของเขาเองบ้างคะ เอาแต่ป้อนให้ ๆๆๆ สุดท้ายพอช่วยได้เสร็จแล้ว ดิฉันก็ไม่เห็นว่าจะมีใครทำอะไรต่อ ดิฉันหมายถึงว่าพอเค้าได้สัญชาติไทยแล้ว จบแล้วก็จบกันไป อันที่จริงพวกเขาน่าจะรวมพลังกันสร้างสรรสิ่งดีงามเพื่อสังคม และช่วยเหลือพวกเดียวกันนะคะ

งงงงงจริงๆค่ะ

  • ขอให้ข้อมูลกับคุณผ่านทางนิดหนึ่ง
  • เท่าที่เข้าร่วมประชุมกับ อจ.แหวว บ้าง
  • เห็นน้องฟองจันทร์ซึ่งมีปัญหาเรื่องนี้และขณะนี้ได้บัตรประชาชน 13 หลักแล้ว น้องยังมาช่วยงาน/และผลักดันให้คนที่มีปัญหาได้รับสิทธิต่าง ๆ เฉกเช่นพวกเราอยู่
  • เพียงแต่การทำงานของพวกเขายังไม่มีเสียงสะท้อนให้คนทั่วไปได้รับรู้มากนัก
  • แต่ถ้าติดตามงานเขียนของ อจ.แหวว น่าจะทราบความเคลื่อนไหวของบุคคลกลุ่มที่คุณผ่านทางถามได้ไม่มากก็น้อย
  • ขอตอบแทนเท่าที่พอทราบนะค่ะ
  • แต่ถ้าเป็นน้องไหม น่าจะมีข้อมูลตอบคุณผ่านทางมากกว่า
  • เพราะน้องเป็นหนึ่งในทีมงานที่คอยช่วยเหลือบุคคลกลุ่มนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท