เหล้า หรือ สุรา สารน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม


ร่วมรณรงค์เพื่อลดการดื่มสุรากันเถอะ

                  สุรา (อังกฤษ: liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่น ๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด คู่กับ "เมรัย" อันเป็นเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์อย่างเดียวกัน แต่ผลิตจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า"  (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี )
                 ประเทศไทยเรามีการดื่มเหล้ามายาวนานแต่ในอดีตและคงจะไม่มีทางที่จะหมดไป เพราะดูจากสภาพปัจจุบันที่มีการดื่มที่อาจจะกล่าวได้ว่ามากขึ้นเพราะมีบริษัทผู้ผลิตมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาเรื่อยๆ ทั้งภาษีที่มีการจัดเก็บจากสุราก็มีมากนำมาใช้เพื่อการรณรงค์ต่อต้านการดื่มอีกต่างหาก จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ( โดย สวรส. ) พบว่าจำนวนผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์มีมากกว่าผู้หญิง 3 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของผู้ชายทั่วประเทศ และร้อยละ 35 ของผู้หญิงทั่วประเทศ
                 การสูญเสียจากการดื่มสุรา
1. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น การบำบัดผู้ติดยา  ค่ารักษาโรคที่วินิจฉัยว่ามีสาเหตุมาจากสุรา  
2. ค่าการสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงาน เช่น การเจ็บป่วย  การได้รับอุบัติเหตุ แล้วทำให้ต้องหยุดงาน
3. ความสูญเสียที่เกิดกับสังคม  เช่นการตายก่อนวัยอันควร  การรักษาผู้ได้รับผลกระทบจากผู้ดื่มสุรา  การฟ้องร้องดำเนินคดี
                 ประเทศไทยมีการใช้มาตรการหลายๆรูปแบบเพื่อให้ลดจำนวนผู้ดื่มของไทย ไม่ว่าการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา    การออกกฎหมายกำหนดเวลาการจำหน่าย  การตรวจจับแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่   การร่วมกันรณรงค์ทางสื่อโทรทัศน์    หรืออีกหลายๆกิจกรรมแต่ก็ยังไม่เกิดผลที่จะลดเท่าที่ควรแต่อย่างน้อยก็เป็นการสร้างกระแสได้ในระยะหนึ่งแต่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง   แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องทำก็คือการสร้างจิตสำนึกตั้งแต่เด็กเพราะสื่อการโฆษณามากมายหลายรูปแบบในยุคปัจจุบันซึ่งเยาวชนก็สามารถเข้าถึงง่ายการใช้การป้องปรามอย่างเดียวคงไม่ได้คงต้องใช้มาตรการสร้างเสริมภูมิต้านทานต่อเด็กที่กำลังเติบต่อเป็นผู้ใหญ่ต่อไปน่าจะดียิ่งขึ้นจะดีกว่า

 

หมายเลขบันทึก: 288951เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้ามาแวะเยี่ยมทักทายคะ

จุ๊ก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท