จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ผิดตัวเป้ง


เมื่อสักเกือบๆ เดือนที่ผ่านมา ดร.อะหมัด ยี่สุนทรง แห่งวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี เอ๋ยปากเชิญผมส่งบทความเข้ารวมการนำเสนอผลงานวิชาการ ของวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน มอ.วิชาการ ผมตั้งคำถามให้แน่ใจข้อเดียวครับคือ มีคอมเม้นเตเตอร์หรือเปล่า? ถ้ามีผมจะส่ง หากไม่มีผมคิดว่า ผมเขียนใหม่ไม่ทัน ที่ถามแบบนี้เพราะว่าในช่วงเรียน ป.เอก ปีสองปีที่ผ่านมา ผมเขียนบทความไว้เรื่องหนึ่งครับ เป็นการสร้างประเด็นใหม่ๆ นิดๆ ที่สำคัญผมไม่แน่ใจว่าผมคิดถูกหรือเปล่า แต่บทความนี้มันสำคัญกับผมอย่างหนึ่งคือ มันจะเป็นประเด็นหนึ่งที่จะนำไปใช้ในการทำวิทยานิพนธ์

ด้วยเหตุนี้ ผมเก็บงานชิ้นนี้มาเกือบสองปีครับ เพื่อหาเวทีสัมมนาที่มีการคอมเม้นท เพื่อว่าจะบอกได้ว่า ผมคิดถูกหรือผิด? และเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นใหม่ของผมมาก ผมไม่กล้านำบทความนี้ขึ้นเวทีอื่นที่ไม่มีการคอมเม้นท์ กลัวว่ามันผิดแล้วไม่มีใครเตือน แต่ก็ยังงงตัวเองนิดหนึ่งเหมือนกันว่า บทความนี้เป็นบทความเดียวที่ผมยังไม่เคยให้อาจารย์ในสาขาวิชาช่วยอ่านช่วยติเลย

เมื่ออาจารย์ท่านบอกว่ามี ผมเลยส่งบทความนี้ไปครับ แต่กว่าจะได้รับคำตอบว่าโอเคขึ้นเวทีได้คือ เมื่อคืนตอนสองทุ่มกว่าๆ แถมไม่ใช่ผู้จัดเป็นคนโทรมาบอก หากแต่เป็นหัวหน้าสาขาวิชาโทรมาบอกว่าทั้งของผมและของท่านต้องนำเสนอพร้อมๆ กันในงานนี้ (งานนี้เป็นงานที่สองแล้วครับที่ได้ขึ้นเวทีพร้อมๆ กับหัวหน้า)

(บรรยายกาศคนเข้าร่วมครับ แฮะ อ.ฟูอัตก็ไม่พลาดเหมือนกัน)

สำหรับบทความนี้ทุกอย่างผมเตรียมไว้นานมากแล้วครับ แม้กระทั่งไฟล์นำเสนอ กะว่าเวทีไหนเวทีนั้นครับ ผมจะเอาบทความนี้ขึ้นให้ได้ ดังนั้นเมื่อทราบตอนสองทุ่มกว่าๆ ก็เลยทำการแก้ไขสไลด์นิดหนึ่ง (เปลี่ยนแค่ฉากหลัง)

สำหรับการประสานจากผู้จัดอย่างเป็นทางการสำหรับการนำเสนอผลงานครั้งนี้คือตอนเก้าโมงเช้า โทรมาสอบถามว่า คงทราบแล้วนะครับว่าผมต้องขึ้นนำเสนอตอนสิบโมงครึ่ง ฮิฮิ ทราบแล้วครับ แน่นอนครับ ผมกระตือรือร้นกับการนำเสนองานนี้มาก พยายามติดตามว่า จะได้ขึ้นเวทีหรือเปล่ามาอย่างต่อเนื่อง ในทุกวิธีการ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้คำตอบ ฮิฮิ หลังจากลงเวทีคุยกับ ดร.อะหมัด เรื่องนี้ ท่านบอกว่ามันเป็นปัญหาของคนทำงาน

ผมไปถึงงานช้าไปสักนิดหนึ่งครับ ประธานกำลังกล่าวเปิด คือ อ.นิฟาริด ระเด่นอะหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ท่านชวนคุยจากประเด็นของงานวิจัยของท่านเกี่ยวกับความเห็นของนักศึกษาอันเกี่ยวเนื่องจากวิทยาศาสตร์และศรัทธา ฟังแล้วน่าคิดครับว่า นี่คือวิกฤติของการสอนวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากการบูรณาการอิสลาม

(มาช้าเลยนั่งซะแถวหลังๆ เลยครับ ภาพเลยออกมาไม่ค่อยจะชัด)

ตอนจากนั้นก็เป็นอีกหนึ่งคนสำคัญครับ ผศ.ดร.หะสัน หมัดหมาน ซึ่งพิธีกรอย่างบังอุสมาน ราษฏร์นิยมแนะนำได้ถูกใจผมมากครับว่า ท่านคือ บิดาของอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับในประเทศไทย ผมว่าใช่เลย คนนี้แหละครับ คนเริ่มทำหลักสูตรอิสลามศึกษา ภาษาอาหรับ ภาษามลายู คนแรกในประเทศไทย (คิดว่าพูดไม่เกินความจริง) ที่สำคัญ ผมยังหาหลักสูตรใดที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมแล้วไม่มีชื่อท่านอาจารย์ไม่เจอเลยครับ ขนาดหลักสูตร ป.เอกที่ผมเรียนในหลักสูตรก็มีชื่อท่านอยู่ด้วย ที่สำคัญลูกศิษย์รักท่านทุกคน

(จำได้ว่าตั้งแต่ผมยังเรียน ป.ตรี ก็จะเห็นทุกครั้งที่ท่านขึ้นเวทีต้องเป็นกะปีเยาะสีแดงครับ)

วันนี้ท่านให้มิติของคำว่า อิสลามศึกษาได้ชัดเจนมากครับ และความจริง ข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับวิชานี้มันหายไปหมดแล้ว ด้วยความพยายามของทุกฝ่าย

ฟังอาจารย์หะสัน ต้องย้ายมานั่งแถวหน้าครับ ภาพจะได้ชัดๆ หน่อย แต่พอมานั่งข้างหน้าก็พบว่า ผมยังไม่หยิบเอกสารประกอบการสัมมนาครั้งนี้มาด้วยในตอนลงทะเบียน เอามาแต่แบบกรอกประวัติผู้นำเสนอและป้ายแขวนคอ จะออกไปเอาก็ไม่ได้แล้ว เพราะอย่างฟังอาจารย์หะสันพูดให้จบก่อน

(เอกสารสำหรับผมเลยมีแค่นี้ครับ มองไปโต๊ะข้างๆ เป็นแฟ้มกองใหญ่เลย)

เสร็จจาก อ.หะสัน ก็พักเบรคและแยกห้องนำเสนอครับ แต่ผมยังอยู่ห้องเดิม ในช่วงที่นำเสนอผมเป็นคนสุดท้ายครับ เลยมีเวลาพอจะหยิบงานตัวเองขึ้นมาอ่านบ้าง (สารภาพว่าเมื่อคืนยังไม่ได้อ่านทบทวนเลย เพราะมัวแต่แก้ไขสไลด์) แล้วก็เจอแต่ที่ผิดครับ ที่สำคัญพบว่า บทความยังไม่มีบทคัดย่อเลย (ฮิฮิ พลาดจริงๆ เรา)

(ดร.อะหมัด เป็นคนแรกที่นำเสนอครับ)

เสร็จจากการนำเสนอก็เป็นการซักถามและแสดงความคิดเห็นครับ แต่ที่ไม่เจออย่างที่ผู้จัดสัญญากับผมคือ คอมเม้นเตเตอร์ครับ ไม่มี ขนาดตอนก่อนขึ้นเวทีถามย้ำอีกครั้งว่ามีแน่นะ ผู้จัดก็ตอบว่ามี แต่สุดท้ายไม่เห็น แต่งานของผมก็มีอาจารย์สองท่านให้ข้อสังเกตครับ ซึ่งเป็นข้อสังเกตให้เห็นถึงความผิดพลาดตัวฉกาจเลยครับ คือหัวข้อบทความใช้คำผิด และความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่น่าจะยังไม่ครอบคลุม ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

(ลงมาจากเวที เจออดุลย์ เลยขอให้ช่วยถ่ายรูปให้หน่อย ฮิฮิ เพื่อเป็นหลักฐานว่ามานำเสนอบทความแล้ว กระเป๋าโน้ตบุ๊คหนักมากครับ เพราะเอาเอกสารทั้งหมดใส่ไว้ด้วยเลย)

ลงมาจากเวที ผมก็ได้รับฟังความเห็นจากอาจารย์อีกหลายท่านครับ เช่น ผศ.จีรพันธ์ เดมะ ผศ.อารีน สะอีดี ผศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต และอีกหลายๆ ท่านครับ ใจชื้นขึ้นเยอะเลย และช่วงทานข้าวเที่ยงได้คุยกับนักศึกษา ป.เอก จากมหาวิทยาลัย USM ถูกชวนให้ไปทำเอกที่นั่นครับ คนชวนก็ใช่ย่อยนะครับ เรียนจบเอกมาแล้วจากอินโดฯ แล้วก็มาทำปริญญาเอกใบที่สองที่ USM

ผมพอทราบเรื่องการเรียน ป.เอก ที่ USM มาบ้างครับ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคนอยากจบ คืออยากเป็นนักศึกษาไปนานๆ ครับ เหตุผลง่ายๆ ครับคือ ทุนวิจัยเยอะมาก ตราบใดที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ทุนทำงานวิจัยก็จะมีอย่างต่อเนื่องบวกกับเงินเดือนต่างหาก ฮิฮิ สูงกว่าที่ผมได้ตอนนี้เสียอีก ฮิฮิ ฟังไปกินไป เลยอยากทำปริญญาสองใบพร้อมๆ กันไปเลย (โลภครับ ความจริงใบเดียวก็จะเอาไม่ค่อยจะรอดแล้ว)

นักศึกษาท่านนี้รับผิดชอบการผลิตหนังสือของมหาวิทยาลัยชุดหนึ่งด้วยครับ ท่านเสนอให้ผมแปลบทความที่นำเสนอวันนี้เป็นภาษามลายู แล้วส่งให้ท่านเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือชุดนี้ด้วย อันนี้ผมสนใจมาก แต่ขอเวลาแก้ไขให้สมบูรณ์มากกว่านี้สักนิดหนึ่ง แล้วจะแปลส่งไปให้ครับ

อีกประเด็นหนึ่งของการคุยกันคือ ท่านชวนผมทำงานวิจัยร่วมระหว่างสถาบัน อันนี้เลยนึกถึงท่านคณบดีที่เคยคุยไว้หลายรอบแต่ยังไม่มีการขับเคลื่อนสักที ผมเลยตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้นิดหนึ่งครับ (ก็เป็นแค่อาจารย์ธรรมดาๆ คงทำอย่างที่คิดไม่ได้หรอกครับ) แต่แล้วก็ได้รับข้อเสนอว่า ถ้าใช้กระบวนการระหว่างสถาบันอาจจะลำบาก ก็ไม่ต้องใช้ทางนั้นก็ได้ แค่ให้ผมเขียนหนังสือแจ้งความประสงค์ไปที่ USM เป็นการส่วนตัวก็ได้ ทางโน้นไม่มีปัญหา เขาทำงานแบบสบายๆ ไม่ยุ่งยากพิธีการ ฮิฮิ อันนี้น่าสนใจจริงๆ

เอาเป็นว่า วันนี้เอาบทความสำคัญไปปล่อยได้แล้ว งานวิทยานิพนธ์คงเห็นช่องในการขับเคลื่อนแล้วครับ อินชาอัลลอฮ์ เดินหน้าได้แล้ว

คำสำคัญ (Tags): #มอ.วิชาการ#วิจัย
หมายเลขบันทึก: 288870เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • อัลฮัมดุลิลละฮฺ...วันนี้ตอนทานข้าวเที่ยงเช่นกันครับบนโต๊ะอาหารมีเพื่อนนักวิชาการรุ่นใหม่พูดกับผมว่า เท่าที่ตั้งข้อสังเกตหลายเวที มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาค่อนข้างนำเสนอเกินครึ่ง อย่างวันนี้ ๔ ในช่วงแรกก็เป็นของเราซะสองฟังแล้วผมใจชื้นมากครับ (อัลฮัมดุลิลละฮฺ) มีคนจับตามองเราอีกเยอะครับอาจารย์
  • ตอนบ่ายผมเปลี่ยนห้องไปห้องที่ ๓ ที่มีประเด็นของนักศึกษา ป.โท อิสลามศึกษา นำเสนองานแทบทั้งหมด ว่าจะนั่งอยู่เฉยๆไม่คอมเม้นท์ใคร แต่เดี๊ยวนี้ไม่รู้ทำไมอดไม่ได้ครับ (วันก่อนก็ไปคอมเม้นท์งานของวาระทางสังคมจุฬาเขาที่เป็นนักวิชาการมุสลิมรุ่นใหม่ อิอิ งานเข้าเลยครับ อาจารย์ ผศ.สุชาติ และทีมงานเดินเข้ามาถามเลยครับว่าเป็นอาจารย์จากไหน บอกด้วยความภูมิใจ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา)
  • พอวันที่สองของงานวาระทางสังคมวิจัยของจุฬาฯ ทางผู้จัดเลยให้เสนอแนะบทความอีก อิอิ อัลฮัมดุลิลละฮฺประสบการณ์ครับ
  •  เพราะผมไม่อยากเห็นนักวิชาการรุ่นใหม่ละเลยบางสิ่งบางอย่างโดยเฉพาะข้อมูลที่นำมาอ้างอิง เลยต้องคอมเม้นท์ครับ
  • สุดท้ายงานวันนี้ของ วอศ. ด้วยความไปว่าชาวบ้าน (เอ๋ย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซะเยอะ) เสร็จจากงานมีคนเดินมาทักครับแล้วขอเบอร์ (นึกในใจเลยครับ...งานเข้า) แต่็อัลฮัมดุลิลละฮฺครับ อิอิ
  • เราคงต้องร่วมผลักดันสังคมต่อไปครับ
  • ดูแลสุขภาพด้วยครับ
  • อัลลอฮฺคุ้มครองและตอบแทนในคุณงามความดีครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ فؤاد
สงสัยช่วงนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยของเรากำลังพยายามทำคะแนนกันอยู่กระมังครับ กลัวว่าเดี๋ยวประเมินแล้ว lu ไม่ผ่าน ฮิฮิ

  • ได้อ่านข่าวคราวเกี่ยวกับผลงานของพวกเราแล้ว ผมก็ชื้นใจ และเบาใจขึ้นเยอะ
  • ที่คิดว่าให้เดินได้สะดวกหน่อยจะลงเวทีกับเขาบ้าง (เพื่อสร้างความชุกชุมของพวกเรา)
  • พอได้เจอแบบนี้ อ่านเรื่องอาจารย์เล่า อ่านบทคอมเมนต์ของ อ. فؤاد ผมคงไม่ต้องรีบเร่งเท่าไร
  • ขอให้มีความสุขกับงาน และผมก็จะมีความสุขด้วย

หนังสือที่ผมให้อาจารย์ดูวันก่อน ผมโหลดจากนี้ครับ

http://faculty.ksu.edu.sa/yousif/250/Forms/AllItems.aspx

- แต่ก่อนคิดว่าถ้าใครมาคอมเมนต์ รู้สึกไม่ค่อยดี แต่ตอนนี้นี้รู้แล้วว่าเขาห่วงเรา

- อาจารย์เขียนวิทยานิพนธ์ชื่ออะไรครับ แบ่งเวลาอย่างไรประจำวัน งานรัดตัว

- ดีใจที่ความรู้บ้านเราก้าวหน้า

- อาจารย์ มีความสุขกับงานผมก็มีความสุขที่จะทำงานครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق
งานวิชาการรีบไม่รีบก็ต้องทำครับ แต่ต้องทำอย่างมีความสุขครับ

ขอบคุณครับคุณฮาลิม

  • วิทยานิพนธ์เรื่องระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยการประยุกต์จากทฤษฏีการศึกษาอิสลาม ครับ
  • เรื่องแบ่งเวลาอาจจะทำไม่ค่อยได้ครับ อยู่ที่ว่า ตอนนั้นอะไรสะดวกทำสุด หรือรีบสุด ก็จะหยิบสิ่งนั้นมาทำก่อนครับ อย่างตอนนี้งานวุ่นๆ อื่นเริ่มจะลดลงไปแล้ว ก็จะหันกลับมาทำวิทยานิพนธ์ต่อ ซึ่งหยุดมาเดือนกว่าแล้วครับ
  • ถ้าเรามีความสุขกับงาน งานเราก็มีคุณภาพด้วยครับ อินชาอัลลอฮ์

 

สลามอาจารย์ จารุวัจน์ มาติดตามงานวิชาการ ของอาจารย์ จากอิสลามวิทยาลับ ผลงานที่น่าสนใจน่าเรียนรู้ครับท่าน

วาอาลัยกุมุสลามครับ  วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
ขอบคุณครับที่ติดตามและให้กำลังมาโดยตลอด

แวะมาติดตามผลงานของอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท