ชีวิตที่พอเพียง : ๘๑๖a. ไปเปลี่ยนใจตัวเอง จากบริการสุขภาพปฐมภูมิ สู่ระบบสุขภาพชุมชน (๒)



ตอนที่ ๑

          สามโรงพยาบาลที่เราไปดูคราวนี้   มีเป้าหมายเดียวกัน คือสุขภาวะของประชาชนในอำเภอที่ตนรับผิดชอบ   และมองตรงกันว่าลำพังโรงพยาบาลชุมชนไม่มีทางทำให้เกิดได้   หรือจะกลายเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งสู้ยิ่งพ่ายแพ้   เพราะวิธีเอาบริการไปทำให้เกิดสุขภาวะของทั้งพื้นที่เป็นสิ่งที่ไม่มีวันทำได้สำเร็จ   การใช้บริการเป็นยุทธศาสตร์เดี่ยวจึงเป็นวิธีการที่ผิด    เพราะผู้ให้บริการจะโดนปัญหาความต้องการบริการถาโถมเข้ามาท่วมทับ   โดนปัญหาทับตาย 

          วิธีที่ฉลาดจึงไม่ใช่วิธีตั้งรับในโรงพยาบาล   แต่ต้องรุกออกไปในชุมชน   นี่คือที่มาของ รพสต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล)    และ รพสต. ก็ต้องไม่ตั้งรับอยู่ที่ รพสต.   ต้องรุกออกไปทำงานในชุมชน    ให้คนในชุมชนช่วยเหลือตัวเอง และรวมตัวกันช่วยเหลือกันเอง    เนื่องจากสุขภาวะเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตของผู้คน    และสุขภาวะเป็นเรื่องของการสร้าง ๘๐% เป็นเรื่องของการซ่อมสุขภาพเพียง ๒๐%  

          สุขภาพจึงเป็นเรื่องของคน เป็นเรื่องของแต่ละคน และของชุมชน   ที่จะต้องช่วยกันขจัดสิ่งที่ก่อปัญหาสุขภาพ   และต้องสั่งสมทุนสุขภาพไว้ให้แก่คนเอง และแก่ชุมชน/ท้องถิ่น/สังคม ที่ตนดำรงชีวิตอยู่    ระบบสุขภาพชุมชนคือระบบของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน   ไม่ใช่ระบบของรัฐ ระบบของรัฐ คือ PCU ต้องทำหน้าที่ empower ระบบของประชาชน      

          ยุทธศาสตร์สร้างนำซ่อมในระบบสุขภาพไทย มีความก้าวหน้ามากทีเดียว    แต่ในทางปฏิบัติ จะดำเนินการสร้างสุขภาพอย่างไร   เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และเป็นเรื่องของคนแต่ละคน และของแต่ละชุมชน    ทั้ง ๓ โรงพยาบาลเชื่อตรงกันว่า ต้อง empower ชุมชนให้สร้างสุขภาพของตนได้   และให้ดูแลปัญหาสุขภาพของตนเองได้ ช่วยเหลือกันเองได้ ในระดับหนึ่ง    คือ empower ภาคประชาชนให้ทำทั้งสร้างสุขภาพ และซ่อมสุขภาพเบื้องต้น

          แต่วิธีการของ ๓ รพ. นี้ ในการ empower ภาคประชาชน ไม่เหมือนกัน   แต่มีส่วนที่เหมือนกันแบบที่ “เหมือนกันยังกะแกะ” คือ เป็นขบวนการเรียนรู้ ผ่านการลองผิดลองถูก ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรมากมาย    โดยที่พันธมิตรเหล่านี้เห็นความตั้งใจ ความมุ่งมั่นที่จะทำเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาวะของผู้คน    จุดที่เหมือนกันคือผู้อำนวยการ รพ. ทั้งสามอยู่ติดที่ ไม่ต้องการย้ายไปรับตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น    ผู้อำนวยการทั้ง ๓ มีเป้าหมายชีวิตที่การสร้างสุขภาวะของผู้คน    ไม่ใช่เป้าหมายแสวงหาตำแหน่งราชการหรือการเมือง   และด้วยเหตุที่ทำมานานและต่อเนื่อง จึงมีทีมงานที่เข้มแข็งและมีอุดมการณ์เดียวกัน พูดภาษา LO คือมี Shared Vision   รวมทั้งเหมือนกันในด้านมีเครือข่ายในชุมชนและในประเทศมากมาย   กล่าวในภาษา KM คือมี social assets เยอะ   และที่เหมือนกันอีกอย่างหนึ่งคือ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่เป็นกบฎต่อระบบ   แม้จะทำงานอย่างมีนวัตกรรม ก็ประนีประนอมกับระบบและผู้มีอำนาจ    จนตนเองมีบารมีสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้มีอำนาจก็เกรงใจ   แต่ ผอ. ของ รพ. ทั้ง ๓ ก็ไม่แสดงความยิ่งใหญ่

          ในตอนต่อไป ผมจะตีความว่า ๓ รพ. นี้มีวิธี empower ภาคประชาชนแตกต่างกันอย่างไร

วิจารณ์ พานิช
๑๖ ส.ค. ๕๒
 

                  
                                   


หมายเลขบันทึก: 288779เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จุดอ่อน ที่ไม่ยอมแก้ไข คือ ระบบบัตรทอง มองเรื่องเงิน เรื่องบริการ เป็นการจัดการ บริหารระบบ จึงใช้เงินไขลาน จนท ให้ทำงาน เพราะเริ่มจากออกแบบ ระบบบริการ

ความจรืง ต้องออกแบบ ว่า สุขภาพดี คืออะไร รพ.หมอ พยาบาล เภสัช จะช่วยให้คนสุขภาพดีอย่างไร โดยให้เขาสุขภาพดีจริง มารพ. น้อยลง เพราะสุขภาพดี

ทีมสุขภาพ ของ รพ จะต้อง มีแนวคิด ของ social determinant of health

และ ช่วยจัดการ ชุมชน อย่างเนียน ให้ มี network of positive determinant มีชัยชนะเหนือ network of disease

ทีมสุขภาพ ต้องช่วยเปลี่ยน วัฒนธรรม การกิน การเสพสุข ของชุมชน

เปลี่ยนวัฒนธรรม สร้างปัญญา(เพื่อการพึ่งตนเอง ) สร้่างงาน (สัมมาอาชีพ )

จนท รพ ต้องมีวัฒนธรรมสุขภาพ ก่อน จะไปนำสังคม ชุมชน

สปสช ต้อง ให้ ผอ ทั้งสามท่าน เป็นที่ปรึกษา วางแผนพัฒนาระบบด้วย จึงจะสมดุล

ระบบสุขภาพชุมชน จะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสักกี่คนที่เข้าใจหรือแม้แต่เคยได้ยิน รอติดตามประเด็นนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

สมพร นวลเนตร สมศักดิ์ ทองแย้ม

จุดอ่อน ที่ไม่ยอมแก้ไข คือ ระบบบัตรทอง มองเรื่องเงิน เรื่องบริการ เป็นการจัดการ บริหารระบบ จึงใช้เงินไขลาน จนท ให้ทำงาน เพราะเริ่มจากออกแบบ ระบบบริการ

ความจรืง ต้องออกแบบ ว่า สุขภาพดี คืออะไร รพ.หมอ พยาบาล เภสัช จะช่วยให้คนสุขภาพดีอย่างไร โดยให้เขาสุขภาพดีจริง มารพ. น้อยลง เพราะสุขภาพดี

ทีมสุขภาพ ของ รพ จะต้อง มีแนวคิด ของ social determinant of health

และ ช่วยจัดการ ชุมชน อย่างเนียน ให้ มี network of positive determinant มีชัยชนะเหนือ network of disease

ทีมสุขภาพ ต้องช่วยเปลี่ยน วัฒนธรรม การกิน การเสพสุข ของชุมชน

เปลี่ยนวัฒนธรรม สร้างปัญญา(เพื่อการพึ่งตนเอง ) สร้่างงาน (สัมมาอาชีพ )

จนท รพ ต้องมีวัฒนธรรมสุขภาพ ก่อน จะไปนำสังคม ชุมชน

สปสช ต้อง ให้ ผอ ทั้งสามท่าน เป็นที่ปรึกษา วางแผนพัฒนาระบบด้วย จึงจะสมดุล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท