ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวพุทธศาสตร์


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวพุทธศาสตร์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวพุทธศาสตร์

 

แนวการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

      ประเทศไม่มีศัตรูถาวร ประเทศไม่มีมิตรภาพ ประเทศมีเพียงแต่ผลประโยชน์ถาวรเท่านั้น ประโยคสามประโยคนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแกเช่นหัวใจของพุทธศาสนา ละเว้นความชั่ว ทำความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ นั้น

      เป็นธรรมดาอยู่เองที่คนเรากระทำอะไรแทบทุกอย่างลงไปก็เพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งผลประโยชน์นี้มิได้หมายถึงวัตถุ เช่น แก้วแหวน เงินทอง แต่เพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นผลประโยชน์ทางนามธรรมด้วยก็ได้ อาทิ การทำบุญตักบาตร ผู้ที่กระทำก็ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน คือเมื่อทำไปแล้วก็มีจิตใจผ่องใสอิ่มเอม หรือการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก คนที่ช่วยก็ย่อมมีผลประโยชน์ คือความสบายใจในการที่ได้กระทำหน้าที่ทางด้านมนุษย์ธรรมของตนโดยไม่เสียทีที่เกิดมาแล้วชีวิตหนึ่ง ส่วนนักศึกษาที่ขยันหมั่นเพียรในการเรียน ก็ปรารถนาผลประโยชน์ที่จะสอบไล่ได้ เป็นต้น

      สำหรับประเทศก็เช่นกัน ถ้าเราพิจารณาดูก็จะเห็นว่าประเทศก็เปรียบเสมือนมนุษย์ในแง่ที่ว่าจะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ คนเราจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลิตผลของตนกับบุคคลอื่น เพื่อนำมาซึ่งวัตถุหรือบริการซึ่งตนไม่มี ไม่สามารถผลิตได้หรือได้แต่ไม่คุ้ม เป็นต้นว่ากรรมกรทำงานก่อสร้าง ไม่ได้ปลูกข้าวเอง เพราะไม่มีที่ดิน ไม่มีเวลา ดังนั้นกรรมกรจึงต้องซื้อข้าวมากิน หรือตำรวจทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ก็ย่อมไม่มีเวลาไปทอผ้ามาใช้เอง ครูมีหน้าที่สอนหนังสือย่อมไม่มีเวลาไปปลูกข้าวไว้กินเองเช่นกัน หรือถ้านิสิตอยู่บ้านคนเดียว การที่จะซื้อข้าวสาร ซื้อผัก ซื้อปลามาหุงหากินเองย่อมไม่คุ้ม เพราะต้องเสียค่าถ่านเสียเวลาในการหุงหาอีกซื้อเขากินก็ยังถูกกว่าและไม่เสียเวลาด้วย นี่เป็นกรณีที่เราถือว่าทำแล้วจะคุ้มหรือไม่

      ประเทศก็เช่นเดียวกัน ประเทศไทยผลิตข้าวได้มากจนเหลือบริโภค แต่ประเทศคูเวตผลิตข้าวไม่พอบริโภคเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว แต่ประเทศคูเวตสามารถผลิตน้ำมันดิบได้อย่างเหลือเฟือ เพราะมีแหล่งน้ำมันหลายแห่ง แต่ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบได้น้อยมาก ไม่พอใช้ในประเทศ หากประเทศคูเวตจะพยายามปลูกข้าวในทะเลทรายได้แต่จะต้องลงทุนมากและดูออกจะไม่คุ้ม เหมือนกับการที่นิสิตอยู่คนเดียวแต่หุงหาอาหารกินเองทั้ง 3 มื้อ นั่นเอง

      ในบางครั้งถ้าเราต้องการจอบ เสียมหรือมีดที่ใช้ในครัว แต่เราไม่มีความสามารถที่จะไปหาเหล็กมาตีเป็นจอบเสรียม หรือมีดได้ เราก็จำเป็นต้องซื้อเขามาอีกที ทั้งๆที่เรามีเศษเหล็กอยุ่ในบ้าน ซึ่งก็เช่นเดียวกับประเทศ ซาร์อี (คองโก) มีแร่ยูเรเนียมมาก แต่ประเทศซาร์อี ก็มิได้รับประโยชน์จากยูเรเนียมเท่าไร เพราะไม่มีความสามารถทางเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งต่างกับประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตที่มีแร่ยูดรเนียมมากเช่นกันหากแต่ประเทศทั้งสองนี้ได้นำแร่ยูเรเนียมมาใช้ทางด้านพลังงานปรมาณูอย่างมากมาย

      ปัญหาของการแลกเปลี่ยนค้าขายกันนั้น มีอยู่ประการหนึ่งที่ผู้ศึกษาน่าจะเอามาอภิปรายคือ ทองคำและเพชรพลอย ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ด้านปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคได้น้อยมาก แต่กลับมีราคาแพงกว่าปัจจัยสี่ปริมาณเท่าๆ กันเสียอีก ทั้งที่เนื่องมาจากอุปาทานของคนที่ยึดมั่นในค่านิยมของทองคำและเพชรพลอยเหล่านี้ว่าเป็นของมีราคาสูง หรืออย่างเครื่องเล่นจานเสียงสเตอริโอที่มีราคาแพงมากทั้งๆที่ไม่มีก็ไม่เห็นจะตาย แต่คุณค่าราคานั้น เป็นการอุปทานของคนมากกว่า

      ปัจจุบันนี้ปัญหาเรื่องน้ำมันขึ้นราคานั้นเราคงจะทราบกันดีทุกคน เนื่องจากน้ำมันเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เมื่อก่อนนี้มีราคาถูกแต่กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันได้ทำการขึ้นราคาในระยะเวลาไม่กี่ปีมาน้หลายครั้งอันทำให้น้ำมันที่เคยมีราคาถูกในสมัยก่อนมีราคาแพงขึ้นตั้งหลายเท่า สำหรับเรื่องนี้ก็น่าจะต้องพิเคราะห์ตรึกตรองดูให้ดีเพราะข้าวซึ่งเคยเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทย ก็จัดได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวันเช่นกัน แต่ทำไมจึงมีราคาถูกเมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องเล่นจานเสียงสเตอริโอ ลองคิดดูก็แล้วกันว่า จะต้องเอาข้าวกี่กระสอบเพื่อแลกกับเครื่องเล่นจานเสียงสเตอริโอหนึ่งเครื่อง

      เนื่องจากประเทศจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลิตผลซึ่งกันและกัน ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ประเทศบางประเทศก็ย่อมได้เปรียบ ประเทศบางประเทศก็มีสิ่งจำเป็นที่อีกประเทศหนึ่งไม่มี เช่น ประเทศซาอุดิอารเบียมีน้ำมัน ประเทศญี่ปุ่นไม่มีน้ำมัน เป็นต้น ทำให้เกิดเลห์เหลี่ยมในการติดต่อค้าขาย โดยแต่ละประเทศต้องพยายามหาผลประโยชน์ เข้าสู่ประเทศของตนให้มากที่สุด อันเป็นธรรมดาเช่นเดียวกับการค้าของเอกชนทั่วไป ในที่สุดจะเกิดประเทศที่ร่ำรวย ประเทศเจ้าหนี้ ประเทศลูกหนี้ขึ้น บ่อยครั้งเนื่องจากผลประโยชน์ของประเทศที่ขัดกัน หรือประเทศที่มีกำลังทางทหารเข้มแข็งได้ ประพฤติตัวเป็นนักเลงโต พยายามแสวงหาผลประโยชน์เข้าสู่ประเทศโดยการใช้กำลัง ซึ่งสงครามก็มักเป็นผลติดตามมา ดังนั้นสงครามจึงเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

      เรื่องการให้ความช่วยเหลือของประเทศมหาอำนาจต่อประเทศต่างๆ ในโลกนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์เช่นกันคือ ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการได้พวกหรือได้ลูกน้อง เพื่อเอาไว้ช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนประเทศของตนต่อไป เหมือนอย่างนักเลงก็ต้องการหาพรรคพวกไว้ ถ้าเกิดมีการตีกันขึ้นจะได้มีพรรคพวกคอยช่วยเป็นต้น

      สรุปเรื่องปัญหาระหว่างประเทศในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาระหว่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น แทบทั้งหมดเกิดมาจากผลประโยชน์ที่ขัดกันของประเทศต่างๆ นั่นเอง

      เครื่องมือที่จะให้เข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างน้อยควรมี 2 ประการ คือ

      1. ข้อมูล เนื่องจากวิชาปัญหาระหว่างประเทศนั้น มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลานานนับพันปี ซึ่งได่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งทางด้านความคิดและทางเทคโนโลยี ดังตัวอย่างเรื่องอาณาเขตในท้องทะเลนั้น ตามหลักสากลเคยถือว่าอาณาเขตของประเทศจะนับรวมท้องทะเลห่างจากฝั่งออกไป 3 ไมล์นั้น ในสมัยก่อนถือว่าปืนใหญ่จากเรือรบไม่สามารถยิงเข้าไปถึง เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สามารถผลิตอาวุธมีประสิทธิภาพในการทำลายเกินกว่าระยะทาง 3 ไมล์ ได้อย่างเม่นยำ เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีปต่างๆ ทำให้ระยะทาง 3 ไมล์ ไม่มีความหมาย ยิ่งกว่านั้นอุตสาหกรรมประมงก็ได้พัฒนาก้าวหน้า ทำให้เรือใหญ่สามารถกว้านจับปลาได้เป็นเวลานานๆ และได้มีการค้นหาทรัพยากรใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำมันใต้ท้องทะเลจึงทำให้ปัญหาระหว่างประเทศแบบใหม่ๆเกิดขึ้น แม้ขณะนี้ก็ยังไม่มีการตกลงกันอย่างแน่นอนว่า อาณาเขตท้องทะเลแต่ละประเทศควรห่างจากฝั่งเท่าไร บางประเทศได้ประกาศว่า อาณาเขตในท้องทะเลของตนอยู่ห่างจากฝั่งถึง 200 ไมล์ก็มี ทุกวันนี้เรือประมงของประเทศไทยมักจะถูกจับในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้านเสมอ ซึ่งก็เป็นปัญหาระหว่างประเทศที่ยังแก้ไม่ตกอยู่เหมือนกัน

      ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวให้ทันเหตุการณ์ของโลกอยุ่เสมอ เนื่องจากปัญหาระหว่างประเทศมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การที่จะศึกษาอยู่เฉพาะในตำรานั้น ไม่เป็นการเพียงพออย่างแน่นอน

      นอกจากนี้วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นยังต้องขึ้นอยู่กับพลังและปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา และอื่นๆ เพราะว่าการที่บุคคลใดจะมีปัญหากับใครหรือติดต่อกับผู้ใดนั้น บุคคลนั้นจำเป็นต้องศึกษาภูมิหลังของผู้นั้นหรือประเทศนั้นเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร  มีนิสัยใจคอเป็นอย่างไร ชอบอะไร เกลียดอะไร ต้องการอะไร ถ้าไม่รู้ภูมิหลังเสียแล้ว การติดต่อหรือการที่จะแก้ปัญหาก็อาจเป็นไปได้ยาก อาจเกิดการขัดอกขัดใจกันโดยใช่เหตุ ลองนึกใจเขามาใส่ใจเราก็ได้ เช่น คนไทยเรามีความเคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างสูง ถ้าหากมีชาวต่างประเทศที่มาติดต่อการงานหรือมาเยี่ยมเยียนได้มาพูดจาทำนองดูถูกดูหมิ่นติเตียนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว เราคนไทยก็คงเป็นเดือดเป็นแค้นขึ้นมาได้ง่ายๆ และอาจจะไม่ต้องพูดจาธุระปะปังกันเลยก็ได้

      สำหรับข้อมูลที่ได้มาจากหนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารและข่างสารสัปดาห์ จำเป็นจะต้องระมัดระวังให้มากพอสมควรที่เดียวในการศึกษความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยความเห็นของผู้วิเคราะห์ข่าวไปปะปนกับเนื้อข่าว เพราว่าผู้วิเคราะห์ข่าวทุกคนย่อมมีความลำเอียง อันเป็นสิ่งธรรมดาของมนุษย์ทุกผู้ทุกคน เป็นต้นว่า ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาได้แถลงนโยบายต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกาออกมาเป็นทางการแล้วผู้วืเคราะห์ข่าวก็จะแยกแยะใจความของนโยบาย พร้องทั้งออกความคิดเห็นว่านโยบายที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร ซึ่งจากเนื้อข่างจริงๆ แล้วก็จะมีเพียงแต่นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาที่ประธานาธิบดีได้แถลงออกมาเท่านั้น สำนักข่าวต่างประเทศที่ทำหน้าที่ขายเนื้อข่าวนี้ก็ก็มีสำนักข่าวรอยเตอร์ ของอังกฤษ สำนักข่าว เอ.พี. และยู.พี.ไอ. ของสหรัฐอเมริกา สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี. ของฝรั่งเศษ สำนักข่าวทาสส์ ของสหภาพโซเวียต สำหรับนิตยสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ มักจะมีข้อมูลในเชิงวิเคราะห์มากกว่าซึ่งควรอ่านเป็นแนวทาง แต่ไม่ควรเชื่อคล้อยตามไปทั้งหมด เนื่องจากนิตยสารและหนังสือพิมพ์โดยทั้วไปย่อมมีจุดมุ่งหมายที่จะขายหนังสือของตนให้ได้มากและบ่อยครั้งจะไม่มีความรับผิดชอบ จะต่อเติมเสริมข่าวและวิเคราะห์ให้ตื่นเต้นหรือโจมตีผู้นำของประเทศหรือประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นส่วนร่วม เพียงเพื่อที่จะขายหนังสือให้ได้มากๆเท่านั้น เราจะตำหนิผู้ที่มีอาชีพทำหนังสือพิมพ์นี้ไม่ได้เลย เพราะเป็นอาชีพและผลประโยชน์ของเขา หากแต่บรรดานักหนังสือพิมพ์มักจะแอบอ้างตนเองว่าเป็นปากเสียงของประชาชน หรือว่าตนทำหนังสือพิมพ์เพื่อความเป็นธรรม อะไรทำนองนี้ ดังนั้นผู้ศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จำต้องระมัดระวังในเรื่องข้อมูลจากหนังสือพิมพ์นิตยสารให้มาก

      การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้ศึกษาจำต้องฝึกฝนการวิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั่วโลก ซึ่งผู้ศึกษาควรจะอ่านหนังสือพิมพ์รายวันทุกวัน วันละ 3-4 ฉบับ จะสังเกตเห็นได้ว่าการรายงานข่าวซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันมักจะแตกต่างกัน และบ่อยครั้งมักตรงกันข้ามแบบขาวเป็นดำทีเดียว

      2. ความเข้าใจที่มีต่อปัญหานั้นๆ หมายถึง มองจุดสำคัญของปัญหา สาเหตุพฤติกรรมและวิธีการแก้ไข สามารถทำให้แก้ปัญหาต่างๆ ได้สำเร็จ การที่จะเข้าใจปัญหาระหว่างประเทศนั้น จำต้องทราบสถานภาพที่แท้จริงของโลกเสียก่อน เหมือนดังแพทย์จะต้องเข้าใจร่างกายของมนุษย์เสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องทราบถึงระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์อย่างดี จึงจะสามารถมองจุดที่จะรักษาคนไข้ได้ โปรดระลึกไว้ด้วยว่าอาการปวดท้องนั้นเป็นสมุฎฐานของโรคหลายชนิด ดังนั้นความสำคัญของแพทย์ คือ ต้องวินิจฉัยโรคให้ถูก แล้วจึงลงมือรักษาได้ หากแพทย์วินิจฉัยคนไข้ที่ปวดท้องว่าท้องเฟ้อมีแก๊สในท้องมากจึงปวดท้อง แล้วแพทย์ก็ให้ยาไปรับประทาน แต่ตามความจริงแล้วคนไข้เป็นไส้ติ่งอย่างนี้ก็เป็นความผิดพลาดของแพทย์ หากการเปรียบเทียบกรณีแพทย์กับคนไข้ยังไม่กระจ่างก็โปรดเปรียบเทียบถึงช่างแก้รถยนต์ ที่มีความจำเป็นจะต้องทราบถึงเครื่องยนต์และส่วนประกอบของรถยนต์ ตลอดจนระบบการทำงานของรถยนต์เป็นอย่างดี เมื่อรถยนต์เสียก็จะต้องตรวจวินิจฉัยเช่นกันว่าอะไรเสีย จะแก้อย่างไร อาทิ รถสตาร์ทไม่ติดนั้นมีมาจากหลายสาเหตุ หากช่างแก้รถยนต์จับจุดถูกก็จะแก้ไขได้ง่าย หากจับจุดผิดก็เสียแรงงาน เสียเวลา เสียเงินไป โดยเปล่าประโยชน์ แถมยังแก้ปัญหาไม่ได้อีกด้วย

      ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เช่นกัน ผู้ที่ศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศควรจะเข้าใจสภาพที่แท้จริงของโลก และการอยู่ร่วมกันของประเทศต่างๆ ในโลกเสียก่อน กล่าวคือ

      สภาพอันแท้จริงของโลก เมื่อกฎหมายระหว่างประเทศไม่มีความหมาย ในเมื่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศต่างๆ เข้าเกี่ยวข้องแล้ว สภาพอันแท้จริงของโลกจึงยังอยู่ในสภาพอันป่าเถื่อนอยู่

      ถ้าเราสมมุติว่าโลกเรานี้เป็นเกาะๆหนึ่ง ซึ่งตัดขายจากโลกภายนอกโดยทะเล บนเกาะมีคนประมาณ 130 คน แต่ละคนสมมุติแทนแต่ละประเทศ บนเกาะนี้ไม่มีกฎหมาย ไม่มีตำรวจ มนุษย์ต่างคนต่างอยู่ บางคนตัวใหญ่และมีปืนใช้ มีความรู้สูง มีบ้านหลังใหญ่อยู่ เปรียบคนนี้เหมือนประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย บางคนก็ตัวใหญ่แต่ไม่แข็งแรงนัก ความเป็นอยู่ไม่ค่อยดี ปืนก็ไม่มีใช้ เปรียบก็เช่น อินเดีย  อินโดนีเซีย เป็นต้น บางคนก็ตัวเล็กไม่แข็งแรง อาวุธก็ไม่มีใช้ แต่มีสมบัติมาก เปรียบเช่นประเทศคูเวต อิหร่าน บางคนก็ตัวเล็กผอมแห้ง แรงน้อย ทรัพย์สมบัติไม่มี อาวุธก็ไม่มี เช่นประเทศลาว พม่า เป็นต้น บางคนก็ยังเป็นเด็กทารกอยู่เปรียบเสมือนประเทศเกิดใหม่แถวอาฟริกา

      สภาพเช่นนี้คือคนต่างจิตต่างใจ ต่างฐานะ ต่างอำนาจมารวมอยู่ด้วยกันโดยไม่มีกฎหมาย ไม่มีตำรวจ ก็เหมือนกับโลกเราเดี๋ยวนี้ คนต่างๆ เหล่านี้มีเมื่อกฎหมายไม่มี แต่มีความหิว ความโลภ ความโกรธครอบงำอยู่ ศีลธรรมถึงแม้จะมีก็พ่ายแพ้ต่อความโลภ ความโกรธ ความหิว เพราะฉะนั้นความปกติสุขจะมีบนเกาะนี้ได้อย่างไรต่างคนก็ต่างแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว และพยายามจะทำสิ่งที่ให้ความปลอดภัยแก่ตนมากที่สุด อาจจะมีการรวบรวมกำลังกันบ้างก็เป็นครั้งคราว เพื่อปราบปรามบางคนที่เป็นคนพาล คนตัวเล็กก็พยายามแสวงหาคนตัวใหญ่ไว้เป็นที่พึ่ง คนตัวใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีปืนด้วย ก็จะประพฤติตัวตาใจชอบต่างก็คอยระแวงกันตลอดเวลา

      ในขณะเดียวกันทุกคนก็จะไม่เคยรู้สึกปลอดภัย ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ก็ต้องพยายามหาสิ่งที่จะทำให้ตนปลอดภัยจากคนอื่น ปลอดภัยจากความอดอยากและแสวงหาความสบายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องพยายามเอาเปรียบคนอื่น พยายามสร้างอำนาจสะสมความมั่นคง คอยดูแลไม่ให้คนอื่นมีอำนาจมากกว่าตน พยายามหาพวกให้มากเท่าที่จำมากได้ ถ้าเพื่อนคนหนึ่งไร้ประโยชน์ก็อาจจะไปรวมหัวกับคนที่เป็นศัตรูเล่นงานเพื่อนเก่าก็ได้ ถ้าผลประโยชน์ส่วนตัวบอกให้ทำเช่นนั้น

      ภาวการณ์ของคนประมาณ 130 คน อยู่บนเกาะซึ่งไม่มีตำรวจ ไม่มีกฎหมายหรือมีก็ไม่มีคนบังคับใช้นี่แหละก็เปรียบเสมือนสังคมของประเทศต่างๆ ในปัจจุบันนี้เองที่ยังคอยหาอำนาจเอาเปรียบประเทศอื่น สร้างสมกำลังอาวุธ สร้างสมความมั่งคั่ง คอยระวังไม่ให้ชาติอื่นมีอำนาจมากจนทำให้ความปลอดภัยของตนถูกคุกคาม สิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่เบื้องหลังสังคมของโลกมาแล้วนับพันๆปี และสภาวะนี้ก็ยังเป็นอยู่จนปัจจุบัน ถ้าใครเข้าใจความจริงเหล่านี้แล้วก็จะไม่สงสัยเลยว่า ทำไมมนุษย์ถึงรบกันทำไม ชาติต่างๆ จึงใช้เงินไปในการสร้างอาวุธ ทั้งๆ ที่อาวุธกินเข้าไปไม่ได้ ทำไมเหตุการณ์ในการเมืองระหว่างประเทศจึงตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา ประเทศใดที่ไว้ใจประเทศอื่นมากไป ไม่คำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ ก็จะได้รับผลเสียอย่างมหันต์ไม่ช้าก็เร็ว

      เมื่อมีความเข้าใจต่อสภาวะที่แท้จริงขิงโลกตลอดจนระบบการอยู่ร่วมกันแล้ว ก็จำต้องใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์มองจุดปัญหาสาเหตุพฤติกรรม แล้วจึงวินิจฉัยหาวิธีแก้ไขต่อไป นักการต่างประเทศที่เก่งกาจก็เหมือนกับแพทย์หรือช่างแก้รถยนต์ต่างๆ นั่นเอง เพราะเมื่อสามารถวินิจฉัยจุดสำคัญของสาเหตุในปัญหาระหว่างประเทศได้ ก็สามารถที่จะแก้ไขได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้สำเร็จมากขึ้นทีเดียว

 

นโยบายของประเทศ

      นโยบาย คือ แผนการที่จะใช้ปฏิบัติให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ นโยบายของประเทศที 2 ระดับ

      1.  นโยบายภายในประเทศ คือ นโยบายที่ผู้กระทำและผู้ที่ได้รับผลกระทบอยู่ภายในขอบเขตของประเทศ เช่น นโยบายการศึกษาแห่งชาติที่มุ่งจะปรับปรุงทรัพยากรกำลังคนของประเทศให้มีคุณภาพ โดยการให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อที่ประชาชนจะได้นำเอาวิชาความรู้มาพัฒนาตนเองและประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป นโยบายภายในประเทศยังมีมากมาย อาทิ นโยบายปราบโจรผู้ร้ายที่ข่มเหงรังแกสุจริตชน นโยบายส่งเสริมการเกษตร นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม นโยบายภายในประเทศที่มุ่งประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นหลัก และสิ่งที่ควรระลึกอยู่เสมอ คือ นโยบายในประเทศนี้จะมีอิทธิพลเหนือนโยบายต่างประเทศนั่นเอง เพราะว่าหากการวางและดำเนินนโยบายภายในประเทศไม่ดี ทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นภายในประเทศแล้ว ต่อให้นโยบายต่างประเทศจะดีวิเศษเม่าไรก็ตาม ก็ไม่สามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้ เนื่องจากประเทศอื่นๆจะไม่ยอมเชื่อถือ

      2. นโยบายต่างประเทศ คือ นโยบายที่ผู้กระทำได้รับผลกระทำขึ้นทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในขอบเขตประเทศ เช่น นโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างชาติที่จะมีผลต่อประชาชนและรัฐบาลของประเทศที่มีโครงการร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้จากการลงอัตราภาษีอากรและการให้ความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดน อันจะทำให้ราคาสินค้าถูกลงและมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ระหว่างประเทศที่มีนโยบายร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างชาตินี้

      นโยบายต่างประเทศที่ดี คือ นโยบายที่มีเหตุผล (Rational) หมายถึงการนำมาซึ่งผลประโยชน์ของประเทศนำไปสู่สันติภาพและความมั่นคงของประเทศ

      ในเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้คำสอนของพระพุทธศาสนาจะมีที่พูดถึงโดยตรงไว้น้อยแต่ก็มีหลักคำสอนที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมอยู่เป้นจำนวนมากที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ หลักคำสอนโดยอ้อมนั้นก็คือหลักคำสอนที่ใช้กับปัจเจกบุคคล หลักคำสอนเช่นนี้สามารถนำมาปรับใช้กับประเทศในแง่ที่สัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ได้ เพราะประเทศก็คือปัจเจกบุคคลในแง่กว้าง

 

เงื่อนไขที่กำหนดลักษณะนโยบายต่างประเทศ

      ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศย่อมดำเนินไปตามนโยบายของแต่ละประเทศ ในหลักใหญ่ๆ การวางนโยบายต่างประเทศย่อมอยูในเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.         นำมาซึ่งผลประโยชน์แก่ประเทศตนได้มากที่สุด

2.         อยู่ในขอบเขตความสามารถของประเทศตน

3.         มุ่งไปสู่สันติภาพและความมั่นคงของประเทศในที่สุด ผลประโยชน์ของประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่รัฐบาลของทุกประเทศมุ่งรักษาไว้โดยทุกวิถีทาง และพยายามที่จะทำให้งอกงามเพิ่มพูนขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ ในบรรดาผลประโยชน์ของประเท

หมายเลขบันทึก: 287928เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ ทำให้คนที่ไม่เข้าใจหลักการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้าใจ และสนใจ....ผมเป็นบุคลากรทางด้านการแพทย์ทำงานในโรงพยาบาล ซึ่งหลายครั้งที่ตัดสินใจจะเรียน แต่ยังลังเลทุกครั้ง และครั้งนี้ก็เช่นกัน เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าตนเองจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเท่าอาชีพเดิมหรือเปล่า แต่ยังเป็นความต้องการลึกๆที่มีอยู่ จากบทความและความชอบ ความตั้งใจ คิดว่าจะเรียน IR จุฬา (หลักสูตรนอกเวลา) ทำตามฝันส่วนเรื่องปฏิบัติหน้าที่คิดว่าเราสามารถเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ได้ ตอนนี้ผมยังค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมแบบนี้อยู่ ขอขอบพระคุณอย่างสูงกับสิ่งดีๆที่ท่านเผยแพร่สู่สาธารณชน....นัท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท