ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย


สุขภาพผิวหนังที่ดีย่อมทำให้บุคคลนั้นน่าดู น่ารัก น่าเคารพ

ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย(Integumentary system)

                ผิวหนัง(Skin)เป็นระบบห่อหุ้มร่างกาย(Integumentary system)ที่มีพื้นที่มากที่สุดของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่

1.  หนังกำพร้า(Epidermis) หนังกำพร้า ประกอบด้วยเซลล์หลายๆชั้น ซึ่งเซลล์ชั้นนอกสุดเป็นเซลล์ที่ตายแล้วพร้อมที่จะหลุดเป็น ขี้ไคล(Keratin) ส่วนที่บางที่สุด คือบริเวณหลังตาและหลังหู ส่วนที่หนาที่สุด คือ ฝ่าเท้าและฝ่ามือ ผิวหนังแต่ละคนจะมีสีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเซลล์ที่เรียกว่า เมลานิน(Melanin pigments)

2.             หนังแท้(Dermis) หนังแท้ เป็นชั้นที่อยู่ใต้หนังกำพร้า ประกอบด้วยโครงสร้างต่างๆมากมาย ได้แก่ กระเปาะ(Follicle) ต่อมเหงื่อ(Swet gland) ต่อมไขมัน( Sebaceous gland) เส้นเลือด(Blood vessel) เส้นประสาท(Nerv)และกล้ามเนื้อมัดเล็กๆจำนวนมาก

หน้าที่ของผิวหนัง

1.    รับความรู้สึกต่างๆ

2.   ป้องกันแสงต่างๆไม่ให้เข้าไปในร่างกาย

3.    ควบคุมความร้อนในร่างกาย

4.    ห่อหุ้มร่างกาย

5.     ขับถ่ายของเสีย

6.     ดูดซึมหรือขับไขมันไปหล่อเลี้ยงเส้นผมหรือขน

7.    ขับสิ่งต่างๆที่อยู่ในผิวหนัง

การเสริมสร้างการทำงานของระบบผิวหนัง

1.   นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

2.    ออกกำลังกายเป็นประจำ

3.     ดื่มน้ำสะอาดมากๆ

4.    ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน

5.    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

6.     สวมเสื้อผ้าที่สะอาด พอดีตัว ไม่คับหรือหลวมเกินไป

7.     อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด

8.    รักษาสุขภาพอย่าให้เป็นแผล

9.    ทาครีมบำรุงผิวที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับวัย

ความผิดปกติของผิวหนังที่พบบ่อย

1.   สิว(Acne) เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในช่วงวัยรุ่น หรือ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีมากผิดปกติ

2.   ตาปลา(Corn) เกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆ มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ มักเกิดบริเวณนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า เนื่องจากใส่รองเท้าคับเกินไป

3.   กลิ่นตัว(Odour) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไขมันจากต่อมเหงื่อเซลล์บุผิวที่ตายแล้ว เหงื่อรวมกับแบคทีเรียและความชื้นเกิดเป็นกลิ่นตัว ถ้ามีกลิ่นตัวแรงอาจใช้สารส้มหรือลูกกลิ้งระงับกลิ่นทาบริเวณรักแร้หลังอาบน้ำทุกครั้ง

4.  โรคราที่เท้าหรือฮ่องกงฟุต(Hong kong’s foot) หรือโรคเท้านักกีฬา (Athlete’s foot) เกิดจากเชื้อราที่เท้า เนื่องจากรองเท้าอับชื้นหรือลุยน้ำสกปรก ทำให้มีอาการคันบริเวณซอกนิ้ว การป้องกันและรักษาทำได้โดยการล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง

5.   ผิวหนังแห้งกร้าน(Dry’s skin) เกิดจากสภาพแวดล้อมผิดปกติ เช่นอากาศ ร้อนจัด อากาศแห้งมาก หรือฟอกสบู่บางชนิด เป็นต้น ควรใช้ครีมทาผิวเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังไว้

6.  เกลื้อน(Tinea versicolor) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณลำตัว แขน ขา คอ หน้า เป็นต้น พบมากในผู้ประกอบอาชีพที่อยู่ในอุณหภูมิสูงมีเหงื่อออกมาก มีความชื้นสูง หรือสกปรกเปรอะเปื้อนพวกไขมันและฝุ่นละออง ควรใช้ขี้ผึ้งรักษากลากเกลื้อนทาบริเวณที่เป็น ถ้ามีอาการลุกลามควรปรึกษาแพทย์

7.   กลาก(Ring worm)เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดที่เกิดขึ้นทั่วไปตามร่างกายมีลักษณะเป็นวง แต่ส่วนขอบนั้นนั้นจะนูนสูงแดงมีเม็ดตุ่มพองน้ำเล็กๆ ป้องกันและรักษาเช่นเดียวกับเกลื้อน

8.    ฝี (Abscess) เกิดจากเชื้อบัคเตรีชนิดหนึ่งซึ่งมีบนผิวหนังทั่วไป มีลักษณะบวมแดงจนกลายเป็นหนอง

9.   เล็บขบ(Ingrown nail) มักเป็นกับนิ้วหัวแม่เท้าที่เกิดจากการงอกของเล็บที่กดลึกเข้าไปในเนื้อบริเวณซอกเล็บ ทำให้เกิดความเจ็บปวด ป้องกันได้โดยไม่ควรตัดเล็บสั้นจนเกินไป

10.  เชื้อราที่เล็บ(Tinea ungium) มักเป็นกับผู้ทำงานที่ทำให้มือต้องเปียกน้ำเป็นประจำ หรือเท้าอยู่ในที่อับชื้น ป้องกันโดยตัดเล็บให้สั้น รักษาเล็บให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ

11.   ผมร่วง(Alopecia) ผมของคนเราจะร่วงได้ตามธรรมชาติแล้วงอกขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา แต่ถ้าร่วงมากกว่าปกติอาจมีสาเหตุจากการขาดสารอาหาร การเจ็บป่วยด้วยโรค เชื้อรา หรือแพ้ยาสระผมเป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการเป่าผมด้วยความร้อน การย้อมผม การดัดผม และเมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

12. รังแค(Dandruff) เกิดจากผิวหนังหรือเซลล์ที่ตายแล้วแห้งหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นหรือเป็นขุยๆ มักเกาะติดอยู่กับเส้นผม ทำให้คันศีรษะและเป็นสาเหตุของผมร่วงได้ ป้องกันโดยสระผมด้วยยาสระผมอย่างอ่อนๆ หากรังแคยังไม่หายควรรีบปรึกษาแพทย์

 ที่มา : สรุปความคิดรวบยอด ม.4-5-6 ฉบับพิชิต O-NET ม.6 (HI-ED)

หมายเลขบันทึก: 287340เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขอบคุณนะคะที่ให้ข้อมูลความรู้

.............

ขอบคุณจริงๆค่ะ

ขอให้

มีข้อมูลดีดีอย่างนี้

อีกนะคะ

สวัสดีค่ะ

อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ว่าระบบห่อหุ้มร่างกายประกอบด้วยอวัยวะอะไรบ้างมี4ข้อค่ะ

มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

หาข้อมูลทางwww.aks.com/lib/s/hed_01

ไม่พบข้อมูลคะ

ขอบคุณสาระดีๆที่นำเสนอมานะคะ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆๆ

อยากรู้ว่าระบบห่อหุ้มร่างกายประกอบด้วยอะไรบ้างและก็มันไม่น่าจะมีแค่หนังกำพรากับหนังแท้เท่านั้นนะครับมีทั้งเล็บ ผม

เนื้อหาดีมากเลยคับ

Thank you Teacher Noy . It's best knowledge For SUKA SUKSA subject.

ขอบคุณค่ะ เนื้อหา okค่ะ

เนื้อหาดีมากกกกกกกกเลย

มีสาระดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยคะ่ ขอบคูณนะคะ

ขอบคุณคับพี่่

อยากได้ข้อมูลอีกอะพี่ คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท