เมดิคัลทัวร์สบายๆสไตล์เม็กซิโก [EN]


 

...

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'As U.S. health row rages, many seek care in Mexico' = "เมื่อคิวรักษาสหรัฐฯ ยาว, คนแห่ไปรักษาในเม็กซิโก" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง พร้อมบทเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งจะวงเล็บท้ายเรื่องว่า 'EN' = 'English' ครับ [ Reuters ]

คุณบ็อบ ริทซ์ อายุ 60 ปี เกษียณจากตำรวจแล้ว มีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาทั้งโรคทั่วไปและหมอฟันในสหรัฐฯ

...

ท่านขับรถ 2-3 ชั่วโมงจากทอมสโตน อะริโซนาไปเมืองเล็กๆ ทางตอนเหนือของเม็กซิโก เพื่อไปรักษาที่เมืองนาโค "ผมจ่ายเงินเดือนละ 400 ดอลลาร์ฯ เป็นค่าประกันสุขภาพ แต่ขับรถไปเม็กซิโกสูงกว่ากันแยะเลย"

ท่านโอบามาพยายามลดค่ารักษาพยาบาล 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ/ปี = 87.5 ล้านล้านบาท/ปี เดิมพันนี้สำคัญต่ออนาคตของสหรัฐฯ (คิดที่ ฿35:$ หรือ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ)

...

เพราะถ้าค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นไปเรื่อยๆ... โรงงานจะหนีออกจากนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อหาแรงงานที่ถูกกว่าแทน กฏหมายสหรัฐฯ กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าประกันสุขภาพให้ลูกจ้าง

ศูนย์วิจัยนโยลายสุขภาพ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (UCLA) ประมาณการณ์ว่า คนสหรัฐฯ เฉพาะจากแคลิฟอร์เนียรัฐเดียวไปซื้อยา รักษาพยาบาล และทำฟันที่นั่นรวมกัน 1 ล้านคน/ปี

...

 

ภาพที่ 1: พยาบาลเม็กซิโกใจดีทำหน้าที่ไกด์ > [ discovermedicaltourism ]

...

 

ภาพที่ 2: ภาพโรงพยาบาลซิม่า มอนเทอเร เม็กซิโก (ไม่เกี่ยวกับยา "ซีม่า" ที่ใช้ทา-ห้ามถู ถูไม่ได้เพราะยามันแรง) > [ healthbase ]

...

 

ภาพที่ 3: โรงพยาบาลเอกเซล (Excel; มาจากคำว่า 'excellent' = ดีเลิศ) เขตนิว ริโอ โซน, เมืองติฮัวนา, เม็กซิโก > [ free-press-release ]

...

คนที่ไปมีทั้งที่ไม่มีประกันสุขภาพ และไม่อยากจะ "ร่วมจ่าย (co-pays)" ค่ารักษาพยาบาลแพงๆ และไม่อยากเสีย "ส่วนลด (deductible; ส่วนลดคล้ายๆ กับประกันอุบัติเหตุ คือ ถ้าปีใดไม่เบิกค่ารักษามาก ปีต่อไปจะได้ส่วนลด)"

ถึงแม้จะค่าประกันสุขภาพไปแล้ว... แต่ถ้ารักษาในสหรัฐฯ จะต้องจ่ายสมทบ (ร่วมจ่าย) ค่ารักษาพยาบาล หรือไม่ก็ต้องเสียสิทธิ์ส่วนลดในปีต่อไปเฉลี่ยเดือนละ 200-3,000 ดอลลาร์ = 7,000-105,000 บาท

...

คุณริทซ์กล่าวถึงความทุกข์ของชนชั้นกลางได้ดี ขออนุญาตยกต้นฉบับมาครับ

"The very wealthy can afford whatever they want, the very poor get it through aid, but the working and the middle-class have to struggle to pay insurance," said Ritz, who worked as a police officer in Chicago for 28 years.

...

"คนที่รวยมากๆ (wealthy = รวย) จ่ายอะไรก็ได้ดังใจ (afford = มีเงินพอจ่าย), คนที่จนมากๆ ได้ไปฟรีๆ จากความช่วยเหลือ (aid = ความช่วยเหลือ), แต่คนทำงาน (the working = คนทำงาน) และคนชั้นกลาง (middle-class) ต้องดิ้นรน (struggle) จ่ายค่าประกัน" คุณริทซ์ที่ทำงานเป็นตำรวจชิคาโก 28 ปีกล่าว

"I'm very lucky to live near enough to Mexico to get good healthcare at a reasonable price," he added.

...

"ผมโชคดีมากที่อยู่ใกล้เม็กซิโกมากพอที่จะได้รับการรักษาพยาบาล (healthcare; health = สุขภาพ; care = ดูแลรักษา แคร์) ที่ดีในราคาที่สมเหตุสมผล (reasonable = ชอบด้วยเหตุผล คุ้มค่า)" ท่านกล่าว

การปฏิรูป (re- = อีกครั้ง; form = รูปร่าง; reform = ปฏิรูป เปลี่ยนแปลงรูปแบบ) การรักษาพยาบาลเป็นนโยบายหลักของท่านโอบาม่า

...

ท่านต้องการให้คนที่ไม่มีหลักประกัน (uninsured; un- = ไม่; insure = คุ้มครอง ประกัน) 46 ล้านคนได้รับความคุ้มครอง (coverage = การคุ้มครอง ความครอบคลุม; cover = ปกคลุม)

ขณะที่คิวรักษาพยาบาลในสหรัฐฯ ยาวขึ้นเรื่อยๆ, ร้านขายยา คลินิก และโรงพยาบาลฝั่งเม็กซิโกกลับถล่มซ้ำด้วยการขายแบบ "ทุบราคา (cut-prize; cut = ตัด; prize = ราคา)" หนักขึ้นเรื่อยๆ

...

เมดิคัลทัวร์ในติฮัวนาดึงดูดคนจนฝั่งสหรัฐฯ แบบสุดๆ ตั้งแต่ผ่าตัดเสริมสวย ตัดมดลูก ผ่าตัดลดความอ้วน

"ฉันเสียเวลา 4 ชั่วโมงรอคิวที่นี่ แต่มันคุ้ม เพราะจะได้ประหยัดไปหลายพันดอลลาร์ (2-3 พันดอลลาร์ = 70,000-105,000 บาท" คุณเบียทริซ อิตูเรียกา คุณแม่ลูกสอง อายุ 26 ปีจากอีสท์เลค ทางใต้ของซาน ดิเอโก"

...

เธอจ่ายค่าผ่าตัดลดความอ้วนที่คลินิกติฮัวนาไป $6,500 = ฿227,500 ถูกกว่าทำในฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งคิดราคา $40,000 = ฿1,400,000 หรือถูกกว่ากันเป็น 6.15 เท่า

อ.นพ.ซิกโต เดอ ลา เปนา คอร์เตส คิดค่าตรวจสุขภาพ (check-up) รวมค่ายาพร้อมสัปดาห์ละ $20 = ฿700

...

"โรคที่พบบ่อยที่สุด (most common; most = มากที่สุด; common = ทั่วไป พบบ่อย) ได้แก่ หลอดลมอักเสบ (bronchitis), ปอดบวม (pneumonia), และโรคช่องท้อง(stomach = กระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ใช้ในความหมายรวมกลุ่มปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ)...

(ต่อ)... พวกกระดูกหัก หรือไส้ติ่งอักเสบ (appendix = ไส้ติ่ง) นี่ เราจะดูแลส่งต่อให้โรงพยาบาลใกล้ๆ ในอะควา เปรียตา, ค่ารักษาประมาณ $2,000 = ฿70,000

... 

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                   

คุณริทซ์กล่าวถึงความทุกข์ของชนชั้นกลางได้ดี คือ คนรวยนั้นจ่ายได้ดังใจ คนจนรักษาฟรี ส่วนคนชั้นกลางต้องทำงานแข่งกับเวลา และไปจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับคลินิก

สำนวนที่ไพเราะมาก และเมืองไทยเรานำไปใช้โฆษณาได้คือ 'good healthcare at a reasonable price' = "การรักษาพยาบาลดีในราคาที่คุณจ่ายได้ (reason = เหตุผล; -able = ทำได้; reasonable = ทำได้ด้วยเหตุผล สมเหตุสมผล คุ้มทุน)"

...

คลิกลิ้งค์ > ลำโพง/ธงชาติ > ฟัง + ออกเสียงตาม 3 รอบ + ย้ำเสียงที่พยางค์แต้มสี

...

ตัวอย่าง

  • We can't afford (to buy) a new car. = เราไม่มีเงินพอสำหรับ(ซื้อ)รถใหม่
  • Our ex-prime minister afford medical care in US. = ท่านนายกรัฐมนตรีคนเก่า (ex- = เก่า เช่น wife = ภรรยา; exwife = ภรรยาเก่า ฯลฯ) มีเงินพอค่ารักษาพยาบาลในสหรัฐฯ
  • Thai hotels are affordable. = โรงแรมในไทยราคาพอพักได้ (สมเหตุสมผล = reasonable).
  • The rich affordability is high. = ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของคนรวยมีมาก (rich = รวย; the นำหน้าอะไรจะทำให้เป็น "คน" เช่น 'the rich' = "คนรวย" ฯลฯ).

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 [ Tweeter ] > Thank Reuters

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 14 สิงหาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 287245เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท