ใบ Lab.กับสิ่งส่งตรวจที่ไม่มีข้อมูลใด ๆ


วันนี้ระหว่างรอเวลาสำหรับการวิเคราะห์ตรวจ Special Test : Ceruloplasmin ก็เลยมาช่วยพี่ผอบรับสิ่งส่งตรวจ ก็ทำไปตามปรกติ อันไหนที่เป็น Barcode เราก็ยิง ๆ แล้วตั้งไว้ รอใบจาก printer แล้วมีอยู่รายหนึ่งเป็นใบ Lab. สีเขียวห่อสิ่งส่งตรวจมาเรียบร้อยโดยมี Tube NaF และ Tube Clotted blood อยู่ข้างใน ผู้เขียนก็แกะห่อออก แล้วก็เดินจากไปทำ Test พิเศษต่อ ปรากฏว่าได้ยินเสียงพี่ผอบ ร้องเรียกผู้เขียนจึงออกไปดู พี่ผอบบอกว่า สิ่งส่งตรวจที่ผู้เขียนแกะเมื่อกี้นี้ ไม่มีชื่อ หรือไม่มี Sticker เลย รวมทั้งไม่มี barcode ด้วย จะรับหรือส่งกลับไปดี?.....(ผู้เขียนยอมรับว่าตัวเองสะเพร่าเป็นอย่างยิ่ง ไม่ได้ดูความสมบูรณ์ของสิ่งส่งตรวจเลย)

  ที่เห็นแถบขาว ๆ เป็น Chem No. Lab และ Label Sticker NaF blood

และด้วยเหตุดังนี้
1. ใบ Lab. ห่อสิ่งส่งตรวจมาอย่างเรียบร้อย และใบ Lab. ก็ผ่านการปั๊มชำระเงินจาก OPD (คาดว่าน่าจะเป็นของบุคลากรที่อาจเจาะเลือดมาส่งเอง)เพราะโดยปกติใบ Lab. เลิกใช้กันแล้ว และคนไข้นอกก็จะเป็นระบบ Barcode ทั้งหมด
2. มีกรณีที่เป็นใบ Lab. อยู่รายเดียว นอกนั้นเป็น Barcode ทั้งหมด และรายอื่น ๆ ก็มี Barcode เรียบร้อยครบทุก Tube
3. ไม่อยากให้ผู้รับบริการเสียเวลาในการที่จะต้องรอผลการตรวจ

และผู้เขียนตัดสินใจรับ แต่แก้ปัญหาโดยใช้วิธี Label เขียนไว้ที่ใบ Lab. ว่าไม่มีข้อมูลผู้ป่วย รวมทั้ง Note ลงในระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายด้วย

   

ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง และดี หรือไม่

หมายเลขบันทึก: 28708เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
การตัดสินใจเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบครับ ถ้าเรามั่นใจว่าเลือดที่ปรากฎอยู่ตรงหน้าเป็นของคนไข้ที่ระบุไว้ในใบส่งตรวจจริงก็ทำไปเถอะครับ การเขียนหมายเหตุไว้ในคอมพิวเตอร์ เป็นทางหนึ่งที่ลดความน่าเชื่อถือเนื่องจากข้อผิดพลาดจากการไม่ระบุชื่อหรือรหัสไว้บนหลอดเลือด ในความเห็นส่วนตัวคิดว่า คุณศิริตัดสินใจได้ดีแล้วครับ ขอเป็นกำลังใจให้ สู้ต่อไป....ไอ้มดแดง
การตัดสินใจเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบครับ ถ้าเรามั่นใจว่าเลือดที่ปรากฎอยู่ตรงหน้าเป็นของคนไข้ที่ระบุไว้ในใบส่งตรวจจริงก็ทำไปเถอะครับ การเขียนหมายเหตุไว้ในคอมพิวเตอร์ เป็นทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ผลแล็บเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เนื่องจากข้อผิดพลาดจากการไม่ระบุชื่อหรือรหัสไว้บนหลอดเลือด ในความเห็นส่วนตัวคิดว่า คุณศิริตัดสินใจได้ดีแล้วครับ ขอเป็นกำลังใจให้ สู้ต่อไป....ไอ้มดแดง
คุณศิริช่วยลบความคิดเห็นแรกออกด้วยครับ

คิดว่าเราคงจะมีประชุมในเร็ววันเกี่ยวกับข้อตกลงในการรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจค่ะ พี่ปนัดดากำลังเร่งมือจัดการตรวจเช็ตเอกสารต่างๆ เพื่อที่เราจะได้ประชุมตกลงหารือร่วมกันถึงแนวทางปฏิบัติ ในทุกๆกรณี เพื่อให้การปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 15189 ด้วย

มีข่าวสารที่น่าสนใจมากนะคะดิฉันศึกษาอยู่ชั้น ป 6

ดิฉันเป็นคนอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศสตร์มากและชอบทดลองมากคะ                                             

 

                                                                pop

ถ้ามีข่าวสารอะไรเดี่ยวจะมาอ่านนะคะ

 

                                                                pop

ในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่าการจะรับสิ่งส่งตรวจนั้น

ควรจะทวนสอบให้มั่นใจชัดเจนว่าเป็นของผู้ป่วยรายนี้จริงๆ

เพราะผลเสียที่จะเกิดขึ้นย่อมมีมากกว่า ถ้า specimen ดังกล่าว

ไม่ใช่ของผู้ป่วยจริงๆ ดังนั้น กรณีเช่นนี้ควรจะทวนสอบกลับไปยัง

ผู้เก็บสิ่งส่งตรวจก่อนว่าทำไมไม่มีชื่อผู้ป่วยติดมา ใช่ของคนนี้จริงหรือเปล่า

เพราะ error ที่เกิดจากกระบวนการ preanalytical มีสถิติที่ค่อนข้างสูง

กว่า process อื่นค่อนข้างมาก

ดังนั้น ถึงแม้จะเสียเวลาไปบ้าง ในการทวนสอบกลับ แต่ก็เกิดผลดีต่อผู้ป่วยมากกว่า

เห็นด้วยกับความคิดเห็นกับคุณ mt ตัวน้อย อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท