บทเรียนที่๒ การพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายและระบบส่งต่อ


บทเรียนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการประจำ (เขตชนบท)

1. แนวคิด ความเป็นมา:  

ในอดีต ระบบการส่งต่อผู้ป่วยภายในเครือข่ายอำเภอสิชล พบปัญหาการส่งผู้ป่วยจากสถานีอนามัยบางแห่งมายังโรงพยาบาลสิชล ที่ไม่เหมาะสม ขาดการประสานงานและการเชื่อมต่อข้อมูลของผู้ป่วย ทำให้เกิดปัญหา ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่ได้รับยาต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิภายหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ผู้รับบริการมีจำนวนมากในโรงพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคที่สามารถให้การดูแลรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิได้ ทำให้เกิดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล นอกจากนี้มีผลต่อผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในการรักษาที่ต้องใช้เวลารอคอยนานในโรงพยาบาลอีกด้วย เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสิชลจึงได้พัฒนาแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นระบบมากขึ้น เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลและเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยของหน่วยบริการปฐมภูมิ

 

2. กระบวนการ / วิธีการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ:

แนวทางการส่งต่อผู้ป่วย จากหน่วยบริการปฐมภูมิ สู่โรงพยาบาลสิชล

มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. สถานีอนามัย เขียนใบส่งต่อผู้ป่วย(ใบ Refer) มาพร้อมกับผู้ป่วยทุกรายเมื่อมีความจำเป็นต้องเข้ารับการดูแลรักษาจากแพทย์ในโรงพยาบาล ก่อนส่งผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล ให้ เจ้าหน้าที่ สอ.ติดต่อลงทะเบียนล่วงหน้าทางโทรศัพท์ มายังห้องบัตร เพื่อ ส่งคิวต่อให้ ห้องฉุกเฉินหรือจุดซักประวัติที่แผนกผู้ป่วยนอก เตรียมรอรับผู้ป่วยไว้เลย

2. เมื่อผู้ป่วยเดินทางมาถึงโรงพยาบาล พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกจะเป็นผู้คัดกรองผู้ป่วย เป็นประเภทฉุกเฉิน หรือ ผู้ป่วยทั่วไป

         2.1 ผู้ป่วย เป็นประเภทฉุกเฉิน ให้ติดต่อที่ห้องฉุกเฉินได้เลย

         2.2 ผู้ป่วยทั่วไป ให้ติดต่อที่ห้องบัตร โดยจัดให้มีช่องทางพิเศษ เขียนว่า ช่องผู้ป่วยจากสถานีอนามัย

3. กรณีผู้ป่วยทั่วไปที่ถือใบส่งตัวมาจากสถานีอนามัย ให้สิทธิ์ในการเข้าพบแพทย์ทุกรายและพิจารณาเป็นลำดับแรก 

4. กรณี รับผู้ป่วยไว้นอนในโรงพยาบาล เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยจะมีการเขียนใบส่งตัวกลับไปยัง สถานีอนามัยเดิม

5. เจ้าหน้าที่ห้องบัตร จะเป็นผู้รวบรวมเอกสารใบส่งตัว ของทุกสถานีอนามัยเป็นรายเดือน แล้วนำผลงานของแต่ละแห่ง มาพิจารณาให้เป็นแต้มคะแนน ในการประชุมคณะกรรมการเครือข่าย เป็นประจำทุกเดือน

แนวทางการส่งกลับผู้ป่วยจาก โรงพยาบาล ไปยัง หน่วยบริการปฐมภูมิ โดยการจัดระบบการส่งตัวผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถควบคุม รักษาอาการได้แล้วกลับสู่สถานีอนามัยในเขตรับผิดชอบ โดยให้มีการประสานงานระหว่าง งานเวชระเบียน คลินิกพิเศษ เภสัชกรรม สถานีอนามัย โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เป็นที่ปรึกษา

การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ  มีการพัฒนาศักยภาพของสถานีอนามัยในการตรวจรักษาโรคเรื้อรัง เพิ่มอีกจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สถานีอนามัยจอมพิบูลย์ สถานีอนามัยในดอน และ สถานีอนามัยเขาใหญ่ โดยมีทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลสิชลเป็นทีมพี่เลี้ยงและช่วยนิเทศการทำงาน ในระยะแรก สถานีอนามัยทั้ง 3 แห่งจะเน้นการตรวจคัดกรองโรคในชุมชน และให้บริการตรวจรักษา ให้ยาต่อเนื่องจากโรงพยาบาล แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นมา

ระบบ Consult มีระบบการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและแพทย์เวชศาสต์ครอบครัว การสื่อสารภายในCUP ทำได้อย่างสะดวก ทั้งการโทรศัพท์สายตรงที่ห้องฉุกเฉิน และเบอร์มือถือของแพทย์ นอกจากนี้มีการใช้ Internet, E-mail เพื่อการปรึกษาปัญหาของผู้ป่วย จากหน่วยบริการปฐมภูมิ

 

3. ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ผลการดำเนินงานของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสิชล ตามโครงการ CUP ชนบท เรื่อง การส่งต่อที่เหมาะสม ในเครือข่ายจากหน่วยบริการปฐมภูมิสู่โรงพยาบาล

ตัวชี้วัด: ร้อยละของการส่งต่อที่เหมาะสม ในเครือข่ายจากหน่วยบริการปฐมภูมิสู่โรงพยาบาล

เกณฑ์ การส่งต่อที่เหมาะสม  >80 % 

ผลการดำเนินงานการส่งต่อที่เหมาะสม

หน่วยบริการปฐมภูมิ

ร้อยละของการส่งต่อที่เหมาะสม

พ.ศ.2549

พ.ศ.2550

พ.ศ.2551

สถานีอนามัย เขาฝ้าย

82.58

85.36

92.45

สถานีอนามัย ท่าควาย

86.29

88.71

96.39

สถานีอนามัย จอมพิบูลย์

84.15

89.30

92.54

สถานีอนามัย ในดอน

82.95

87.60

91.20

สถานีอนามัย เขาใหญ่

73.68

83.75

93.25

 

ผลการดำเนินงาน

หน่วยบริการปฐมภูมิ

จำนวนผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลสิชล เดือน มี.ค.52

รพ.ไม่ผ่าน สอ. 

ผ่านระบบ Refer สอ.  

รวม

สถานีอนามัย เขาฝ้าย

1,753

56

1,809

สถานีอนามัย จอมพิบูลย์

1,785

34

1,829

สถานีอนามัย ท่าควาย

447

66

513

สถานีอนามัย ในดอน

190

25

215

สถานีอนามัย เขาใหญ่

573

38

611

 

4. ปัญหา อุปสรรค

ยังพบการข้ามขั้นตอนของผู้รับบริการ โดยไม่ผ่านระบบส่งต่อ

 5. การนำไปใช้ประโยชน์

การพัฒนารูปแบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยด้วยระบบ IT เช่น การใช้ internet, webcam ในการให้คำปรึกษาการดูแลผู้ป่วยด้วยระบบ online

 6. การพัฒนาต่อยอด

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านสุขภาพ ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูล และสะท้อนข้อมูล กลับมายังผู้ปฏิบัติ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข จุดที่ยังบกพร่อง และหาโอกาสพัฒนาในส่วนที่ดีให้ที่ดียิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 286240เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ CAMPING แวะมาให้กำลังใจเครือข่ายปฐมภูมิ คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท