การยืดอายุความสดของลางสาดอย่างง่ายด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์


 

การยืดอายุความสดของลางสาดอย่างง่ายด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์

      

ลางสาด (Langsat, Lansium  domesticum Correa) เป็นพืชในกลุ่มลองกองแตกต่างจากลองกองตรงที่ ใบจะบางกว่า คลื่นใบไม่เด่นชัด ผลเล็กกว่า ผลสุกมีสีเหลืองนวล เปลือกบาง มียางเหนียว เมล็ด 2-3 เมล็ด       ต่อผล

       ลางสาดเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของเกาะสมุย มีรสชาติหวาน กลิ่นหอม เมล็ดเล็ก ผลโต เปลือกบางไม่มียาง ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือน กรกฎาคม ตุลาคม

ลางสาด ต.อ่างทอง อ. เกาะสมุย

 

การเก็บเกี่ยวลางสาดควรเก็บเมื่อสุกเต็มที่ สังเกตได้จากผิวจะมีสีเหลืองนวล มีสีแดงจาง ๆ แซม แกะดูเนื้อใน เนื้อจะใส เมื่อรับประทานจะได้รสชาติหอมหวานอมเปรี้ยว เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักดี ของลางสาดบ้านลิปะใหญ่ ต. อ่างทอง อ.เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ผลลางสาดที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว

 

ด้วยลักษณะเฉพาะของลางสาดเป็นไม้ผลที่มีผิวบาง เปลี่ยนเป็นสีดำง่าย เชื้อราเข้าทำลายในเข่งระหว่างการบรรจุ และขนส่ง ผลรางสาดที่แก่จัดจะหลุดออกตากขั้วได้งาย ซึ่งจะเป็นช่องทางเข้าทำลายของเชื้อรา ทำให้การเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวสั้น ส่งผลต่อผู้บริโภคที่ปฏิเสธการเลือกซื้อ อันเนื่องมาจากตำหนิที่เกิดขึ้นบนผิวลางสาด 

การยืดอายุความสด และลดตำหนิที่เกิดขึ้นบนผิวลางสาดอย่างง่าย ๆ ด้วยการผึ่งช่อลางสาดให้แห้งบนกระดาษหนังสือพิมพ์หลังการตัดจากต้น อย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือสังเกตว่า ไม่พบหยดน้ำติดตามผลหรือขั้วผล ก่อนนำจัดเรียงลงเข่งที่รองก้นและขอบเข่งด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์  สามารถยืดอายุความสด และลดการเกิดตำหนิที่ผิวลางสาดได้ยาวนานถึง 7 วัน หลังจากเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อรา อันมาจากความชื้นที่เกิดจากการคายน้ำของพืช ที่เกิดขึ้นระหว่างขนส่งได้

 

การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม

       วัสดุอุปกรณ์

1.    กระดาษหนังสือพิมพ์

2.    เข่ง

3.    กรรไกรตัดกิ่ง หรือมีด

วิธีปฏิบัติ

1.    นำกระดาษหนังสือพิมพ์ 1คู่พับ รองที่ก้นเข่ง และกระดาษหนังสือพิมพ์ 1 คู่กางรองให้รอบชั้นในของเข่ง

 

 

 

2.    กระดาษหนังสือพิมพ์อีกชุดหนึ่ง วางไว้ที่พื้นบริเวณที่แห้ง

3.    เลือกช่อลางสาดที่สุกพอเหมาะ จะด้วยวิธีการสังเกตจากสีผิว หรือ สุ่มผลมาแกะดูเนื้อในว่าใสหรือไม่ และชิม

 

4.    นำช่อลางสาดที่ชื้นด้วยมาผึ่งไว้บนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่เตรียมไว้ นานอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือสังเกตว่าแห้งสนิทดีแล้ว

 

5.    บรรจุลางสาดลงในเข่งที่เตรียมไว้ และผลึกปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์

 

 

 

 

 

 ประโยชน์ที่ได้รับ

       จากผลการปฏิบัติเมื่อเปรียบเทียบกับการบรรจุลางสาดลงเข่งทันทีที่เก็บเกี่ยวจากต้น และรองเข่งด้วยใบไม้ทั่วไป หรือใบตอง พบว่าการผึ่งลางสาดให้แห้งก่อนบรรจุ และการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ รองก้นและขอบของเข่งนั้น จะช่วยยืดอายุความสด ลดการเกิดผิวดำ และลดการเข้าทำลายของเชื้อราได้อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากกระดาษหนังสือพิมพ์มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นได้ดี  และทำให้ผลไม้ค่อย ๆ สุกและจะสุกพอดีเมื่อส่งถึงผู้บริโภค ในขณะเดียวกันจากการผลึกปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์นั้น ยังช่วยรักษาความชื้นที่พอเหมาะต่อพืชได้เป็นอย่างดีในระยะ 2-3 วันระหว่างขนส่ง

 

 เงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการนำนวัตกรรมไปปรับใช้ประโยชน์

       ขั้นตอนการเก็บลางสาดควรเลือกช่อที่สุกประมาณ 90 % ของผล สังเกตได้จากผิวเริ่มมีสีแดงแซม เนื้อใส การบรรจุลงเข่งควรระมัดระวัง การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น สามารถนำไปใช้ในไม้ผลชนิดอื่นได้ เช่น ลองกอง

 

เจ้าของเรื่อง  นางอทิตญา  หิมทอง

     23/2  ม. 1 ต. แม่น้ำ

          อ. เกาะสมุย  จ. สุราษฎร์ธานี 

          โทร  08 3280 8262

หมายเลขบันทึก: 286237เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไปกินมาแล้วเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว

ตอนที่จัดประชุมเกาตรอำเภอ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

หวานหอมอร่อยมาก

  • มาหาเจอจนได้
  • เลยเวลา ชิม ลางสาดไปซะแล้ว

ยังมีค่ะสำหรับลางสาดนอกฤดู

แต่ราคาจะแพงซะหน่อย

มีโอกาสได้ขึ้นฝั่งจะนำไปฝากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท