บันทึกสรุปการเรียนรู้ การอบรมปฏิบัติการสุนทรียปรัศนี : การสร้างความเข้มเข็งแก่ทีมวิทยากรเครือข่ายกรมอนามัย


บันทึกสรุปการเรียนรู้

การอบรมปฏิบัติการสุนทรียปรัศนี : การสร้างความเข้มเข็งแก่ทีมวิทยากรเครือข่ายกรมอนามัย

เพื่อเตรียมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับชุมชน

ณ โรงแรม นอร์ทเทริน เฮอริเทจ รีสอร์ทแอนต์สปา จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 4-7  สิงหาคม 2552

โดย นายสุรวัฒน์  ถนอมสัตย์

************************************

การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน และ ครั้งนี้คือขั้นตอนที่ 1 ผมได้รับมอบหมาย พร้อม กับคุณทรงคูณ  ศรีดวงโชติ เป็นตัวแทนของศูนย์อนามัยที่ 5 เข้าร่วมอบรม เมื่อเดินทางไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งใช้เวลาเดินทางนานถึง 12 ชั่วโมง  สำหรับ  บขส. ที่เชียงใหม่เรียกว่า อาเขต  โรงแรมที่จัดประชุมนั้นอยู่ อ.สันกำแพง ซึ่งไม่มีรถประจำทางเข้าถึงโรงแรมแม้ว่าสถานที่สำคัญทางการท่องเที่ยว คือ บ่อน้ำพุร้อนสันกำแพง จะอยู่ห่างออกไปไม่มากนัก เราเดินทางด้วยรถรับจ้างในราคา 550 บาท ปรากฏว่าไปถึงโรงแรมเป็น 2 คนแรก  โรงแรมไม่ได้ชื่อ นอร์ทเทริน เฮอริเทจ รีสอร์ทแอนต์สปา แต่กลับกลายเป็น อัลไพน์ กอร์ฟ  รีสอร์ท-เชียงใหม่  หลังจากสอบถามพนักงานได้รับคำตอบว่า โรงแรมถูกTAKE OVER โดยบริษัท ดัวกล่าว ชื่อการประชุมก็ไม่ตรงกับหนังสือเชิญกลายเป็น การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสุนทรียปรัศนี พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำธรรมชาติ เพื่อเตรียมการจัดทำแผนที่เส้นทางยุทธศาสตร์ร่วมกับชุมชน  สิ่งที่บอกได้ว่ามาไม่ผิดงานคือ ผู้จัด ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดีทีเดียว

กิจกรรมในแรก วันที่ 3 สิงหาคม 2552  มีการต้อนรับผู้เข้าอบรมด้วย  พิธีกรรมล้านนา พิธีบายศรีสู่ขวัญ มีหมอทำขวัญ ซึ่งทางเชียงใหม่เรียกว่า ปู่จ๋าน เป็นผู้ประกอบพิธี และผูกข้อมือให้ผู้เข้าอบรมทุกคนตามด้วยพิธีกรรมสำคัญอีกพิธีหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างพลังใจในการเรียนรู้ คือการดื่มน้ำผึ้งจากปล้องอ้อมีการอธิษฐานขอความสำเร็จต่างๆ แล้วโยนข้ามศีรษะไปข้างหลัง และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

กิจกรรมในวันที่ 4  สิงหาคม 2552   การอบรมในวันนี้ เริ่มด้วยพิธีเปิดงานตามรูปแบบสากลมีการกล่าวรายงานมีประธานเปิดแนะนำวิทยากร ซึ่งประกอบไปด้วย  อ.อุทัยวรรณ  กาญจนกามล  อ.บดินทร์   จันวัน อ.สมนึก  ชาญด้วยกิจ  อ.รุ่งรัศมี   ศรีวงศ์พันธ์  

การอบรมใช้รูปแบบการทำกิจกรรมกลุ่มในแบบภาคปฏิบัติ โดยแบ่งผู้เข้าอบรมออกเป็น 4 กลุ่ม ตามภาคต่างๆ ของประเทศ คือเหนือ กลาง อิสาน และใต้ มีคณะผู้เข้าอบรมจากสาธารณสุข ท้องถิ่น และแกนนำชุมชน อ.สันกำแพง เข้าร่วมอบรมด้วย และทีมผู้ที่เคยอบรมที่ สะเมิง เป็นผู้ช่วยวิทยากร ในการแบ่งกลุ่ม มีการกำหนดบทบาท ดำเนินกิจกกรรมกลุ่มแบบ KM  วิทยากรบรรยายและให้งานกลุ่มเป็นระยะๆ กลุ่มร่วมฝึกใช้เครื่องมือการค้นหาทุนทางสังคม การเข้าถึงชุมชนเชิงบวก การสำรวจพลังชุมชน สินทรัพย์ชุมชน และการจัดทำแผนที่เดินดิน เตรียมความพร้อมในวันรุ่งขึ้น ซึ่งจะต้องลงพื้นที่ ที่ อ.สันกำแพง เพื่อสัมภาษก์ ชาวบ้าน เสวนากลุ่ม และเดินเท้าสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทำแผนที่เดินดิน

กิจกรรมในวันที่ 5 สิงหาคม 2552   ช่วงเช้าทุกกลุ่มลงพื้นที่ กลุ่มละหมู่ โดยทีมภาคอิสานได้พื้นที่หมู่ 6 บ้านแม่ผาแหน ต.ออนใต้  ซึ่งเป็นบ้านที่พบช้างเผือกและถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวในปี 2508 ชาวบ้านที่นี้มีความภาคภูมิใจมาก นอกจากนี้ยังมีหมอเมือง หรือหมอพื้นบ้าน ทางภาคเหนือถือเป็นบุคคลสำคัญในการประกอบพิธีกรรมเมื่อตั้งครรภ์ก็ไปขอยาบำรุงครรภ์ เมื่อเด็กเกิด มีพิธีผูกดวงสู่ขวัญ โกนผมไฟ โตแต่งงานก็ให้หมอเมืองทำพิธี ป่วยก็รักษา จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตก็มีพิธีกรรมที่ใช้หมอเมือง ทุกกลุ่มลงพื้นที่จนบ่ายกว่าๆ แล้วจึงกลับไปทำแผนที่เดินดินโดยใช้เทคนิคต่างๆ ให้สวยงาม สำหรับกลุ่มภาคอิสานผมใช้วิธีการถ่ายภาพสถานที่จริงแล้วนำมาพิมพ์ภาพสีตัดแปะประกอบลงในแผนที่  ทำให้ง่ายต่อการสื่อสารเพราะมีภาพสถานที่จริงให้เห็น

การทำแผนที่เดินดินเป็นการสำรวจทุนทางสังคม สินทรัพย์ชุมชน ขุมพลังชุมชน ความเชื่อมโยงต่างๆ แล้วนำมานำเสนอให้ห้องประชุม

กิจกรรมในวันที่ 6 สิงหาคม 2552   นำสิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันก่อนๆ มาอภิปรายและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันแล้วนำมากำนดวิสัยทัศน์ ออกแบบ Model และทำแผนการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม ในการนี้ คุณทรงคุณได้รับเกียรติให้เป็น FA และผมเป็นผู้นำเสนอ

 

สำหรับ M0del ของกลุ่มภาคอิสานคือ ต้นยางนา ซึ่งมีความหมายถึงไม้ที่มีประโยชน์มากมายและเป็นต้นไม้ที่ได้รับการสนับสนุนให้ปลูกโดยพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ท่านทรงให้ข้าราชบริพารนำมาปลูกที่วังสวนจิตรลดาเพื่อขยายพันธุ์ ต้นยางนามีลูกไม้ ที่สามารถหล่นได้ไกลต้นอีกด้วย

ในช่วงเย็นของวันนั้นได้มีพิธีฉลองความสำเร็จจากการปฏิบัติการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งผมและคุณทรงคูณได้รับเกียรติให้เป็นพิธีกรตลอดงานโดยมี นายแพทย์สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ เป็นประธานในงานนี้

กิจกรรมในวันสุดท้าย วันที่ 7 สิงหาคม 2552   แต่ละกลุ่มทบทวนบทบาท และภารกิจที่ผ่านมา จัดเตรียมทำแผนที่ยุทธศาสตร์ร่วมกับชุมชน ประเมินผลแบบมีส่วนร่วม

 

โดย นายแพทย์สมศักดิ์  ภัทรกุลวณิชย์ ได้ให้งานไปปฏิบัติต่อดังนี้

การเตรียมชุมชนหลังจบการอบรมครั้งนี้

1.       จัดทำผลการเรียนรู้ ตามขั้นตอนการฝึกอบรม โดยสรุปผลการทำงานกลุ่มครั้งนี้

2.       เตรียมชุมชนและเจ้าหน้าที่ ตำบล 1 ตำบล จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ใช้เวลา 3 วันเพื่อให้ฝึกปฏิบัติ สรุปผลการเรียนรู้ 3 ส่วนคือ

·       ทักษะการเป็นวิทยากรและการทำงานเป็นทีม

·       ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม

·       ผลการทำงานของสมาชิกกลุ่ม

3.       สำนักส่งเสริมสุขภาพจะจัดสรรงบประมาณไปที่ศูนย์อนามัย กอง / สำนัก ที่เป็นวิทยากรแกนนำ ภาคละ 30,000 บาท สำหรับการจัดเวทีตามข้อ 2

4.       สรุปผลข้อ 1,2 เพื่อนำเสนอ 2-4 กันยายน 2552

แกนนำวิทยากร

กลุ่ม 1 ศูนย์อนามัยที่ 1 ศูนย์อนามัยที่ 3 สำนักส่งเสริมสุขภาพ

กลุ่ม 2 ศูนย์อนามัยที่ 11 ศูนย์อนามัยที่12 กองอนามัยเจริญพันธ์ กองโภชนาการ และ กองออกกำลังกาย

กลุ่ม 3 ศูนย์อนามัยที่ 8 ศูนย์อนามัยที่ 9 และ ศูนย์อนามัยที่ 10

กลุ่ม 4 ศูนย์อนามัยที่ 5 ศูนย์อนามัยที่ 6 และ ศูนย์อนามัยที่ 7

 

โอ้เห็นการบ้านแล้ว อิอิ ต้องกลับไปถามเจ้านายว่า จะให้ผมทำอะไรน้อ........................

 

หมายเลขบันทึก: 285763เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อิอิ ไม่ยากเลย ... แบบนี้ต้องขยาย
  • ได้ความรู้ใหม่ ต้นยางนา มีประโยชน์มากมาย

gเขียนรายละเอียดการถอดบทเรียนจากที่เข้าร่วมกิจกรรมมาทำให้อ่านแล้วเข้าใจพอสมควรพร้อมนำไปเป็นแนวทางในรทำงานต่อไป แต่จากที่ทราบ ไป2 ทำไมโชว์รูปหล่ออยู่คนเดียวสาวศอ.5สวยอีก 1ท่านทำมไมไนมาเป็นฟรีเซนเตอร์ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท