อบรมบุคลากรด่านหน้า


เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรด่านหน้าในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินของหน่วยงานที่ดีค่ะ

หลังจากเลื่อนมาหลายรอบตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2552  เพราะกลุ่มเป้าหมายติดสอบบ้าง ปิดเทอมบ้าง  พอเปิดเทอมใหม่อีกรอบก็ติดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คณะของผู้เขียนหาเวลา หากลุ่มเป้าหมาย จัดกิจกรรมไม่ได้เลยค่ะ

ต้องรีบสรุปงานแล้วค่ะ ถ้าทำไม่ได้ต้องแจ้งยกเลิกโครงการ

แต่ที่โรงพยาบาลยังมีบุคลากรด่านหน้ามาทำงานใหม่ ๆ หลายท่าน ขอร้องให้จัดอบรมให้ 

ดังนั้นวันนี้ ผู้เขียนและน้อง ๆ ชาว AE จึงจัดอบรมบุคลากรด่านหน้าพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้ทันในเดือนสุดท้ายของการใข้จ่ายงบประมาณที่คณะกำหนดพอดีค่ะ

ผู้เข้าอบรม  มีพนักงานขับรถ พนักงานเปล กู้ภัยนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น  ครูพี่เลี้ยงสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน

ก่อนอบรม มีทดสอบก่อนโดยให้ตอบคำถามสั้น ๆ ในแบบฝึกหัด 13 ข้อ ( 20 คะแนน)

จากนั้นก็เริ่มกิจกรรมทักทายแนะนำตัวของสมาชิกวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน แล้วเข้าสู่การเรียนรู้ภาคบรรยายในช่วงเช้าค่ะ

วิทยากร บรรยาย มี กัญญา  อรัญญา  สุนทราพร

วิทยากร ฝึก มีเพิ่ม ลัดดาวัลย์  พิกุล  สุมิตร  รุ่งทอง

มีน้องพยาบาลมาฝึกวิทยากร 2 คน คือ ศุทธิพร และศศิพร ฝึก 3 ฐาน ๆ ละ 30 นาที    

ฐานที่ 1  การประเมินสถานการณ์และการประเมินสภาพผู้ป่วย

ฐานที่ 2 การปฐมพยาบาลบาดแผลและกระดูกหัก

ฐานที่ 3 การยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

ช่วงบ่ายก่อนฝึก ผู้เขียนพาเล่นเกมส์ปมมนุษย์  ผู้เขียนจำที่ ดร.ขจิต พาเล่นตอนงาน gotoknow forum ครั้งที่ 1 เลยให้ทั้งผู้เข้าเรียนและวิทยากรผู้ฝึกเล่นด้วย โดยน้องลัดเพิ่มกติกาให้ยืนสลับชายหญิง ไม่ให้มีชายชาย หรือ หญิง หญิง

ผู้เขียนให้ทุกคนจับมือกัน กติกาเดิมให้แก้ปมมนุษย์โดยห้ามมือหลุดจากกัน  ก่อนอื่นให้ทุกคนมายืนล้อมกันเป็นวงกลมวงเดียว โดยทุกคนหันหน้าเข้าวง  จากนั้นผู้เขียนพาผู้เล่นเกมส์หนึ่งคู่เดินตามผู้เขียนไปลอด ไปข้าม วงผู้เข้าอบรม คนอื่นก็เดินตามผู้เล่นคู่นั้นมาด้วย พอดีคนเล่นมีน้อย ประมาณ 40 คน เลยทำปมได้เพียง 3 ปมเองค่ะ  จากนั้นผู้เขียนปล่อยมือและบอกผู้เข้าอบรมแก้ปมโดยให้ทุกคนยืนจับมือหันหน้าออกไปนอกวง โดยอิงเงื่อนไขเดิม คือ มือจะต้องไม่หลุดจากกัน  

ผู้เขียนสังเกตช่วงแรกผู้เล่นงงๆ กลัวแก้ปมไม่ได้ สับสน บางคนก็สนุกเพราะได้เล่นคลายเครียดก่อนฝึก  ผู้เขียนกระตุ้นให้ทีมคิด ๆ ๆ หาทางแก้ปมมนุษย์ให้ได้  ในที่สุดทีมก็ทำได้สำเร็จ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ 

ผู้เขียนก็ทำปมมนุษย์ 3 ปม อีกรอบ ใช้กติกาเดิม  พอครั้งที่สองผู้เล่นเริ่มจับประเด็นได้ ใช้เวลาคิดและวางแผนเล็กน้อยก็ดำเนินงานตามแผนแก้ปมมนุษย์ได้เร็วกว่าแก้ปมในรอบแรก 

ทุกคนหันหน้าเข้าวงเหมือนตอนเริ่มต้นได้สำเร็จ ทุกคนดีใจ ปรบมือให้กับตัวเองและทีม ผู้เขียนให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มสรุปบทเรียนที่ได้จากการเล่นเกมส์ปมมนุษย์

 

สิ่งที่ทุกคนได้จากการเล่นกิจกรรม มีตัวแทนกลุ่มผู้เล่นตอบ   คือ  "มีการทำงานกันเป็นทีม มีความรู้สึกร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหา  ต้องคิดวางแผนก่อนทำงานให้สำเร็จ  ตั้งเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน และช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคทำให้งานสำเร็จ  บางสถานการณ์อาจยืดหยุ่น  บางสถานการณ์อาจตรึงเครียด จุดไหนตรึง อีกจุดต้องหย่อน และชลอเวลาคิดแก้ไขปรับแผนและทำต่อไปให้สำเร็จ บางสถานการณ์อาจต้องข้าม  หรือบางสถานการณ์อาจต้องลดตัวต่ำลงเพื่อทีมสามารถผ่านช่วงวิกฤตินั้นไปได้"

คำตอบนี้กลุ่มได้น้องนักศึกษาแพทย์หนึ่งในสมาชิกวีอาร์กู้ภัยนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นช่วยตอบอย่างเป็นการเป็นงาน เล่นทุกคนงง ตอบได้ไงครอบคลุมปานนั้น   คนหลัง ๆ เลยเฉไฉตอบได้จับมือเพื่อนไง ได้รู้จักเพื่อนร่วมงาน อะไรประมาณนี้ค่ะ    

ประสิทธิภาพของเกมส์ปมมนุษย์ดีจริง ๆ นะคะ  ต้องขอบคุณ อ.ขจิตที่พาเรียนรู้กิจกรรมดีให้กับผู้เขียน ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ 

ทั้งหมดใช้เวลาเพียง 15 นาทีเอง  ได้ทั้งละลายพฤติกรรมและได้ทั้งแนวคิด

 

ต่อจากนั้น  ผู้เขียนจัดให้มีการสาธิตวิธีการฝึกปฏิบัติทั้ง 3 ฐาน 

ฐานที่ 1  การประเมินสถานการณ์และการประเมินสภาพผู้ป่วย  

โดยผู้เขียนเริ่มโดยให้ตัวแทนผู้เข้าอบรม (น้องนักศึกษาสมาชิกวีอาร์กู้ภัยกำหนดสถานการณ์เอง  มีคนหนึ่งรีบวิ่งไปนอนเป็นผู้ป่วยสมมุติ 

เพื่อนอีกคนรีบบอกเหตุการณ์โทรเข้าหมายเลข 1669 แจ้งเหตุ  ว่าคนไข้กินเป็ด กำลังชักกระแด่ว ๆ ทุกคนหัวเราะกับโจทย์และงง กินเป็ดทำไมชัก  น้องเข้าเลยให้ข้อมูลเพิ่มเติม  เป็ดน้ำยาล้างห้องน้ำไงคะ อ๋อ เป็นอย่างนี้เอง   

มีการสอบถามว่าเป็นเหตุอะไร  สถานที่เกิดเหตุ  จำนวนผู้ป่วย  อาการ  และชื่อกับเบอร์โทรกลับ 

ทุกคนได้ยินแม่ข่ายสอบถามประเมินอาการและบอกให้ผู้แจ้งปฐมพยาบาลรอรถพยาบาลไปถึง จากนั้นสั่งการให้ทีมหน่วยกู้ชีพออกไป ณ จุดเกิดเหตุ 

ทีมกู้ชีพไปถึง(ทีมวิทยากร) ทำการประเมินสถานการณ์และจัดการความปลอดภัย สมมุติมีสุนัข ให้เจ้าของดูแลคุมขังสุนัขให้เรียบร้อยก่อนไปประเมินสภาพผู้ป่วย  เรียกผู้ป่วย ลืมตา  ไม่พูด มีน้ำลายฟูมปาก ทีมกู้ชีพจัดท่าทำทางเดินหายใจให้โล่ง เอาลูกยางแดงดูดน้ำลายออก และจัดให้หน้าตะแคง  ประเมินการหายใจ นับอัตราการหายใจ จับชีพจร  จัดท่า เตรียมนำส่งโรงพยาบาล  บอกญาติให้นำบัตรประจำตัว บัตรทองไปด้วย 

ฐานที่ 2 การปฐมพยาบาลบาดแผลและกระดูกหัก

มีการขอเปลี่ยนโจทย์ ว่าผู้ป่วยกลัวตายรีบวิ่งลงมาเลยตกบันไดมีแผลที่แขน ขาข้างขวาหัก เพื่อให้วิทยากรสาธิตการห้ามเลือด  ทำแผล และ ดามกระดูก 

 

ฐานที่ 3 การยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  

จากนั้น สาธิตต่อเนื่องโดยขอให้อาสาสมัครมาช่วยพลิกตัวผู้ป่วยขึ้นไม้กระดานรองหลังชนิดยาว  รัดตรึงผู้บาดเจ็บให้เรียบร้อย และต้องทำงานเป็นทีม  หัวหน้าทีมบอกแผนการยกและเคื่อนย้ายกับทีม  จากนั้นบอกเตรียม  ส่วนผู้ช่วยคนอื่นบอกพร้อม จากนั้นหัวหน้าทีมบอก 123 ยก เดิน  หยุด เตรียมวาง  วาง 

เป็นอันเสร็จสาธิต ทุกคนปรบมือให้ผู้แสดงสาธิตทุกคน

 

จากนั้นผู้เขียนให้แบ่ง 3 กลุ่ม  โดยให้กลุ่มครูพี่เลี้ยงฝึกด้วยกัน  ส่วนอีกสองกลุ่มผู้เขียนให้แบ่งสองกลุ่ม  เป็นพนักงานขับรถ เวรเปล และ วีอาร์กู้ภัยนักศึกษา ลงมือฝึกปฏิบัติ ฐานละ 30 นาที เน้นทุกคนทำเอง  จนครบทั้ง 3 ฐาน 

ฐานที่ 1

ฐานที่ 2
ฐานที่ 3

ฐานยกเคลื่อนย้ายฝึกต่างกันเล็กน้อย สำหรับครูพี่เลี้ยง เน้นการเคลื่อนย้ายโดยไม่ใช้อุปกรณ์ ส่วนบุคลากรด่านหน้าอีก 2 กลุ่ม เน้นการเคลื่อนย้ายโดยใช้อุปกรณ์ ไม้กระดานรองหลัง และพาไปฝึกใช้รถเข็นที่รถพยาบาลด้วย

เสร็จ 15.30 น. จากนั้นดูแลให้ทุกคนทดสอบแบบฝึกหัดหลังอบรม โดยตอบคำถามสั้น ๆ  ใช้เวลา 15 นาที  ให้ทุกคนทำแบบประเมินส่ง 

ยังมีเวลาเหลือผู้เขียนเลยพาพูดคุยเล่าเรื่องถึงสถานการณ์อุบัติเหตุและการป้องกันอุบัติเหตุในมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ทีละประเด็น  ข้อมูลที่ได้คล้าย ๆ กับปีที่ผ่านมาเลยค่ะ 

ผู้เขียนเลยถือโอกาสเผยแพร่ผลงานที่เคยทำร่วมกันกับนักศึกษาในครั้งนั้นด้วยค่ะ  ขออนุญาตนำมาบันทึกที่นี่อีกครั้งนะคะ

กลุ่มที่
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

มีอะไรบ้าง ?

1.ความประมาทของผู้ขับขี่
2.ความไม่พร้อมของสภาพยานพาหนะ
3.ไม่ปฏิบัติและไม่รู้กฎจราจร
4.คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ
5.ความไม่พร้อมของผู้ขับขี่
6.เมาแล้วขับ
7.  ไม่มีความรู้ด้านเส้นทางหรือไม่ชำนาญทาง
8.  สภาพแวดล้อม เช่น ฝนตก  ถนนลื่น
9.  ขาดความชำนาญในการขับรถ
10. พักผ่อนไม่เพียงพอ
11. ขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด
12. รับประทานอาหารที่ส่งผลทำให้ง่วง
13. ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
14. ไม่สวมหมวกนิรภัย
15. แต่งกายไม่เหมาะสมขับรถมอเตอร์ไซค์ เช่น ใส่กระโปรงสั้น  รองเท้าส้นสูง  เป็นต้น
16. สภาวะจิตไม่พร้อม
17. ดัดแปลงเครื่องยนต์
18. ความคึกคะนอง



กลุ่มที่ 2    จุดเสี่ยงที่พบบ่อย มีที่บริเวณใดบ้าง ?

1.  คอมเพล็กซ์ : ถนนเป็นลูกระนาดมาก เป็นทางตรง 
   รถขับเร็ว  รถเยอะ การจราจรคับคั่ง

2.  ถนนไปกังสดาล : ถนนมืด  มีลูกระนาด 
3.  หน้าหอ 26 : ไม่มีสัญญาณไฟ  การจราจรคับคั่ง 
    กลางคืน   เกิดเหตุบ่อยอาจเป็นเพราะไม่มีไฟถนน

4.  สี่แยกศึกษาศาสตร์  :  ไฟแดงเสียบ่อย
5.  ถนนตรง มีตัวหนอนขนาดใหญ่ ตามทางแยก ป้ายเตือนไม่ชัด

6.  ถนนที่มีวงเวียน  ใช้ถนนไม่ถูกต้อง  ใครควรไปก่อน ?

7.  ถนนโค้ง มืด  มีต้นไม้  เสาไฟฟ้า สัญญาณเตือนไม่ชัดเจน 


กลุ่มที่ 3  ขับขี่ปลอดภัย จะทำอะไรได้บ้าง ?

1.   Miss/Mr. ขับขี่ปลอดภัย
2.    ใส่หมวกนิรภัยขณะขับขี่
3.    ประกวดคำขวัญ
4.    ประกวดเรียงความ
5.    พี่เตือนน้อง
6.    จำลองสถานการณ์อุบัติเหตุ
7.    รณรงค์คาดเข็มขัดนิรภัย
8.    ลดปริมาณการขับขี่มอเตอร์ไซค์ใน มข.

9.    โทรไม่ขับ
10. จัดอบรมการจราจร ( น้องปี 1 เข้าอบรมทุกคน )

11. กลุ่มอาสาสอดส่องดูแลการจราจรของแต่ละคณะ


สรุป

      
ทุกคนต้องร่วมมือกันนะคะ มข. จึงจะปลอดภัย


จบท้ายมีถ่ายรูปหมู่ด้วยกันค่ะ 

 

 

เสียดายถ่ายได้เพียง 2 ทีม  เพราะทีมเวรเปลต้องไปขึ้นเวรบ่าย  คราวต่อไปขอแก้ตัว ผู้เขียนคงต้องรีบถ่ายภาพให้กับผู้เข้าอบรมเร็วกว่านี้นะคะ    

จบรายงานค่ะ

กัญญา

 

คำสำคัญ (Tags): #อบรมด่านหน้า
หมายเลขบันทึก: 284671เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • มาติดตามกิจกรรมดี ๆ ค่ะ
    อบรมบุคลากรด่านหน้า
  • ขอชื่นชมท่านผู้ตั้งชื่อค่ะ ทำให้นึกถึงทัพหน้าที่ลุยงานหนักค่ะ อิอิ รอบันทึกต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • ชื่อเก๋จังค่ะ
  • จะรอติดตามนะคะ

น่าสนุกนะคะ "พัฒนาศักยภาพด้านการจัดการอุบัติเหตุและฉุกเฉิก"

รอติดตามรายละเอียดค่ะ

สวัสดีค่ะ ทั้ง 3 ท่านที่แวะมาเยี่ยมชมผลงาน 

P1. Sila Phu-Chaya

P 2. phayorm แซ่เฮ

P 3. kunrapee

 

ตอนนี้บันทึกเล่าเรื่องเสร็จแล้ว เหลือทำภาพประกอบอีกเล็กน้อยนะคะ

ขอบคุณทั้ง 3 ท่านนะคะ ที่สนใจ

แทรกรูปภาพประกอบการเล่าเรื่องเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ

 

P ขอบคุณค่ะพี่แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

  • วันนี้เสียดายไม่ได้ร่วมกิจกรรม KM ของคณะ ต้องเป็นครูพี่เลี้ยงนักศึกษาเฉพาะทางการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินค่ะพี่

น่าสนุกจังเลยค่ะ

ขอยืมรูปแบบ(บางประเด็น)ไปฝึกที่รพ.สูงเนิน(โคราช)บ้างนะคะ

P สวัสดีค่ะคุณkunrapee

  • อยู่ รพ.สูงเนิน ด้วย
  • ประมาณปี 2525 ผู้เขียนเคยไปฝึกก่อนจบที่นั่นด้วยค่ะ
  • ยินดีค่ะ ได้ผลอย่างไรนำมาบันทึกให้ชื่นชมบ้างนะคะ
  • ขอบคุณที่สนใจนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องกัญญา

มาชมผลงานน้องๆ เก่งกันทุกคนเลย แบบนี้พี่ๆก็หายห่วง

  • มาชมกิจกรรมดีดีของพี่ไก่
  • คิดถึงคะ

P สวัสดีค่ะ pkaek

  • ขอบคุณสำหรับคำชื่นชม จะนำไปบอกต่อน้อง ๆ นะคะ

 

P สวัสดีค่ะน้อง แบ่งปัน

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท