Self Dialogue ฟัง เข้าใจ หล่อเลี้ยง


Self Dialogue ฟังตนเองตามความเป็นจริง  อย่าหลอกตนเอง ไม่มีอคติ ไม่มีลำเอียง

ฟัง "กาย เวทนา จิต ธรรม" ของเรา

Self Dialogue

                การคุยกับตนเอง อย่างแยบคาย     ลองหาเวลาว่างสักสองสาม นาที   ทบทวนตนเอง คุยกับตนเอง  Self Dialogue ได้แก่  สนทนาภายใน และ ภายนอก

                ภายใน คือ ทบทวนพันธกิจ ในการเดินทางในวัฏสงสารของเรา   และ  ลองฟังอวัยวะต่างๆในร่างกายของเรา  ฟังเวทนา  ฟังจิตใจ อารมณ์  ฟังความคิด  ฟังธรรมต่างๆที่ปรากฏบนกายของเรา ใจของเรา 

                ภายนอก คือ หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ ครอบครัว ชุมชน มนุษยชาติ ฯลฯ

Self Dialogue  ภายใน

1.       เกิดมาทำไม  กำลังเดินทางไปไหน  เป้าหมาย พันธกิจ (mission) คืออะไร    ใครเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง  ใครเป็นกัลยณมิตร  (สังฆะ หรือ refugee อพยพจากวัฏสงสาร)   ใครเป็นคุรุ (guru) ของเรา   เรามีบารมีอะไรที่ยังต้องสะสม เรียนรู้บ้าง ( บารมี ๑๐  เช่น ทาน  วิริยะ  ขันติ  ศีล ฯลฯ )

2.       ร่างกายของเรา  อวัยวะต่างๆจะ ฟ้องเราหรือยังว่า เจ็บไข้ได้ป่วย ใช้งานมาก  เครียดจนความดันขึ้น   ฯลฯ  บ่อยครั้ง อวัยวะเตือนเรา ส่งสัญญาณว่า แย่แล้ว แย่แล้ว   แต่เราก็ดันทุรังใช้งานแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์    ผมของเชิญเชิญให้ลองฝึกรำมวยจีน หรือ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ 

3.       การฟัง หรือ จะใช้คำว่าการดู ก็ได้   ในที่นี้ คือ การรู้เท่าทัน  “กาย เวทนา จิต ธรรม”   ซึ่งก็คือ มีสติ   ลองฝึกรู้เท่าทันความคิด   รู้เท่าทันความคิดที่เข้าทำให้เกิดอารมณ์มันก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร    รู้เท่าทันความคิดที่ออกมาจากจิตใจที่ผิดปกติ    ลองฝึกไม่ให้ความคิดและจิตมีอิทธิพลต่อกัน ฝึกให้ชำนาญก็จะไปถึง มหาสติ ฯ    

 

Self Dialogue ภายนอก      ซึ่งบางที ฝรั่งเรียกว่า Review    ทบทวน วันละ 2 นาที  (Two minutes management)  มีเวลาทบทวนแค่ 2 นาที  ก็ถือว่าดีกว่า ไม่ได้ทบทวนเลย  

ในขณะที่ทบทวน   เราจะมี ความกลัว ความไม่อยากจะทบทวน  ความผลักไส รังเกียจ  เลือกเรื่องที่จะทบทวน ฯลฯ    หากเป็นเช่นนี้  ก็จงหายใจลึกๆ   ดีดนิวรณ์ออกไป    

บางทีร่างกายเราไม่แข็งแรง จิตใจเราจึงไม่สดใส    ถ้าพิจารณาในแง่แพทย์ตะวันออก  เช่น  กลัว มาจาก ไตไม่ดี   โกรธง่ายมาจากตับไม่ดี  อิจฉา มาจากหัวใจไม่ดี   กังวล มาจากม้ามไม่ดี   หดหู่ มาจาก ปอดไม่ดี   ผมก็ขอแนะนำ ให้  ฝึกรำมวยไท้เก็ก

หลักการ มวย Tai Chi   ได้กล่าวถึง การฟัง เข้าใจ หล่อเลี้ยง

ฟังแรง (ที่คนร้าย ทำร้ายเรา)    เข้าใจแรง และ หล่อเลี้ยง (นัวเนีย พัวพัน ดูแล ไม่ทำร้ายตอบ)

เราประยุกต์มาใช้ กับ การทำงาน กับครอบครัวได้  เวลา โดน กระแทกแรงๆ  จาก คนรอบข้างเรา

 

**** สรุป การสอน ที่  บ ซันฟู๊ด    Sunfood

หมายเลขบันทึก: 284466เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท