คลื่นแห่งความไว้วางใจ ๕ ลูก


ในสถานการณ์และกระแสที่สับสนของสังคมโลกทุกวันนี้ ทุกอย่างรวดเร็วจนคาดคิดไม่ทัน หากไม่มีมุมคิดรองรับ เราๆจะไม่เหลือศักดิ์ศรีของตนเอง ไม่เหลือศักดิ์ศรีแห่งอาชีพและความเป็นมนุษย์ของเรา ก็เป็นได้

 วันนี้ขอนำ คลื่นแห่งความไว้วางใจ ๕ ลูก มาเล่าสู่ฟัง.... อ่านพบจึงอยากเล่าต่อ ก่อนอื่นขอนำสู่.......สูตรการสร้างความไว้วางใจไว้ว่า

             Trust = Integrity + Competency      

ฉบับนี้ ขอยกองค์ประกอบของสิ่งที่จะสร้างความไว้วางใจ โดยคอยเปรียบเทียบกับคลื่น  ๕ ลูก  ดังนี้

คลื่นลูกที่ ๑   ความไว้วางใจตนเอง  ( Self  Trust )

คลื่นลูกที่ ๒  ความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความไว้วางใจ (Relationship Trust )

คลื่นลูกที่ ๓   ความไว้วางใจในระดับองค์กร  (  Organization  Trust )

คลื่นลูกที่ ๔  ความไว้วางใจในระดับตลาด (  Market  Trust )

คลื่นลูกที่ ๕   ความไว้วางใจในระดับสังคม  ( Societal  Trust )  

 สำหรับวันนี้  ขอนำมาเพียงคลื่นลูกที่ ๑  ความไว้วางใจตนเอง ( Self  Trust )  ซึ่งเป็นการเน้นเรื่องพฤติกรรมและค่านิยมในตนเอง คือ  ความมีศักดิ์ศรี ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ ตามแนวคิด I AM  READY 

 

 

 

 

 

 

ความไว้วางใจตนเอง : ความมีศักดิ์ศรี

     ในความเห็นของคนทั่วไป  ความมีศักดิ์ศรี หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริต ( honesty ) แต่บนความเป็นจริงแล้ว นอกจากความซื่อสัตย์สุจริต หรือ การพูดความจริงแล้ว ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย ๓ ประเด็น คือ ความสอดคล้อง ความถ่อมตน และ ความกล้าหาญ

     เหตุการณ์ตัวอย่างเช่น  การแข่งขันเชปักตะกร้อ  รอบที่ ๓  ของทีมเทา  กับ  ทีมเหลือง เมื่อถึงช่วงแต้มเท่ากัน ซึ่งเป็นการได้เปรียบของทีมเทา เมื่อทีมเหลืองเตะลูกกลับไปยังทีมเทา กรรมการบอกลูกออก ผู้ชมและทีมเหลืองคิดว่าเกมการแข่งขันสิ้นสุดแล้ว โดยทีมเทาเป็นผู้ชนะ แต่ทีมเทายังไม่ยอมรับผลตัดสิน เขาบอกกรรมการว่า ลูกตะกร้อยังอยู่ในเส้นเขตแดนโดยแสดงให้กรรมการตัดสินเห็นรอยของลูกตะกร้อที่พื้นคอร์ต กรรมการเห็นด้วย และให้คะแนนเป็นของทีมเหลือง เมื่อจบเกมการแข่งขันครั้งนี้ ปรากฏว่า  " ทีมเทา เป็นฝ่ายแพ้ในที่สุด

      ทีมเทาสามารถสร้างความประทับใจแก่คนอื นเป็นอย่างมาก แม้จะแพ้ในการแข่งขันครั้งนี้ ทีมเทาได้แสดงให้เห็นว่าความมีศักดิ์ศรี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับ การได้รับความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือในตัวทีมเทา เนื่องจากการยึดมั่นความถูกต้อง ยุติธรรม  โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเนหลัก และแสดงออกให้เห็นได้จากการกระทำของทีมเขานั่นเอง

      ถึงตรงนี้ขอเพิ่มรายละเอียดอีกสักนิด ในเรื่องของ " ความมีศักดิ์ศรี "  มีดังนี้

            ๑. ความสอดคล้อง ( Congruencel ) หมายถึง คนที่กระทำตามที่พูดไว้ หรือกระทำสิ่งต่างๆมาจากใจที่สอดคล้องกับค่านิยมและความเชื่อของตนไม่ได้กระทำเพราะ แรงผลักดันจากภายนอก เช่น ความคิดเห็นของคนอื่น

            ๒. ความถ่อมตน ( Humility ) หมายถึง การยอมรับหลักการอย่างหนักแน่น และยึดถือหลักการมาเป็นลำดับแรก โดยไม่ได้ยึดถือตัวเองเป็นหลัก

            ๓. ความกล้าหาญ ( Courage ) หมายถึง ความกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเพียงใดก็ตาม

        ถึงตรงนี้  นอกจาก การมุ่งแก้ปัญหาทางด้านจริยธรรม โดยเน้นไปที่การปฎิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้ ( Compliance) แท้จริงแล้วไม่ได้สร้างความรู้สึก ถึงความมีศักดิ์ศรี ให้เกิดขึ้นได้ และไม่สามารถรักษากฏระเบียบ หรือหลักการให้คงอยู่ต่อไปได้ อย่างแท้จริง สิ่งที่พึงกระทำเพื่อสร้างความไว้วางใจ ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ภายในองค์กร  คือ มุ่งเน้นไปที่การสร้างความมีศักดิ์ศรี  ของคนในองค์กรที่มาจากความต้องการภายในขององค์กรอย่างแท้จริง

        แฟนคลับเชื่อหรือไม่ว่า ......นอกจากความมีศักดิ์ศรีแล้ว ความไว้วางใจตนเองยังมีอีก ๓ องค์ประกอบ ๓ หัวข้อ ๓ ประเด็น ได้แก่ ความมีเจตนาดี ( Intent ) หมายถึงการที่เรามีแรงดลใจ อย่างชัดเจนในการทำสิ่งต่างๆ และมุ่งสร้างผลประโยชน์ให้เกิดแก่ทุกฝ่าย   ความสามารถ ( Capabilities ) หมายถึง สิ่งที่สร้างให้เกิดผลลัพธ์  ได้แก่ พรสวรรค์ ทัศนคติ  ทักษะ ความรู้และลักษณะเฉพาะตัว     และ ผลลัพธ์ ( Results )  ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่มาจากความสามารถและการปฎิบัติงานของเรา ทั้งในอดีต  ปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังอนาคตต่อไปด้วย

         เล็กๆน้อยๆ  สำหรับมุมคิด  มุมมอง  มุมทำ  ในสถานการณ์และกระแสที่สับสนของสังคมโลกทุกวันนี้ ทุกอย่างรวดเร็วจนคาดคิดไม่ทัน หากไม่มีมุมคิดรองรับ เราๆจะไม่เหลือศักดิ์ศรีของตนเอง  ไม่เหลือศักดิ์ศรีแห่งอาชีพและความเป็นมนุษย์ของเรา ก็เป็นได้ ...ฝากไว้ด้วยความจริงใจ ...สำหรับทุกกำลังใจ ที่เข้าใช้ถนนคนเรียน  วันนี้

หมายเลขบันทึก: 283673เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท