นักศึกษาแพทย์กับการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย


รังสีมีอันตราย เลือกใช้ให้เหมาะสม เมื่อจำเป็น อย่างมีคุณค่า และใช้ปริมาณรังสีที่น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการรักษา

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพการฝึกปฏิบัติการของนักศึกษาแพทย์ที่มาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพรังสีบางส่วนกับผม

วัตถุประสงค์ปฏิบัติการนี้ คือ

1.เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นคุณสมบัติของการเรืองแสงจากอุปกรณ์รับภาพที่ได้รับจากรังสีเอกซ์

2.เพื่อให้นักศึกษาทราบแนวคิดการลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวินิจฉัย

สิ่งที่ปฏิบัติการในวันนี้ คือ การฉายรังสีเอกซ์ให้ตกกระทบอุปกรณ์รับภาพที่เครือบสารเรืองแสงต่างๆ(ที่วางบนเตียงเอกซเรย์ในภาพ) เพื่อแสดงให้นักศึกษาได้เห็นว่า คุณสมบัติอย่างหนึ่งของรังสีเอกซ์ คือ การกระตุ้นให้สารบางชนิดเกิดการเรืองแสงขึ้นได้ และสารต่างชนิดกันจะมีการเรืองแสงที่แสงสีที่แตกต่างกัน

รังสีเอกซ์สามารถทำให้เกิดการเรืองแสง (fluorescence) เมื่อฉายกระทบวัตถุบางอย่าง เช่น แบเรียมแพลติโนไซอะไนด์ (barium platinocyanide) แคลเซียมทังสเตต (calciumtungstate) หรือ ซิงค์ซัลไฟด์ (zine sulphide) เพราะพลังงานจากรังสีเอกซ์จะเปลี่ยนรูปไปอีกเป็นแสงสว่างธรรมดาที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือ แสดงออกมาเป็น แสงสีเขียว และ แสงสีน้ำเงิน

นิยาม

fluorescence หมายถึง ปรากฏการณ์การเรืองแสง เมื่อแสงที่เปล่งออกมา จะหมดลงทันทีที่หยุดการกระตุ้น

phosphorescence หมายถึง ปรากฏการณ์การสารเรืองแสงบางชนิด ที่ยังเปล่งแสงออกมาได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหยุดการกระตุ้นแล้ว 

Luminescence เป็นคำรวมที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ในการเปล่งแสงทั้งสองแบบ

โดยพบว่า แสงสีเขียว ที่ออกมาจากอุปกรณ์รับภาพไปนั้น สามารถทำปฏิกิริยากับฟิล์มเอกซเรย์ได้ไวมากกว่า แสงสีน้ำเงิน  ด้วยเหตุผลนี้อุปกรณ์รับภาพแสงสีเขียว ทำให้ช่วยลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยได้

แต่ แสงสีน้ำเงิน ก็มีข้อดีกว่าแสงสีเขียว คือ สามารถทำให้ภาพที่เกิดขึ้นมีรายละเอียดที่ดีกว่า แสงสีเขียว

ดังนั้นในการใช้งาน นักรังสีเทคนิคมักเลือกใช้ ใช้อุปกรณ์รับภาพที่เครือบด้วยสารที่ให้ แสงสีเขียว สำหรับถ่ายภาพอวัยวะผู้ป่วยที่มีขนาดขนาด คนอ้วน เพื่อช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ ให้น้อยลง ลดความเสี่ยงภัยจากรังสีที่ผู้รับบริการอาจได้รับ 

ส่วนอวัยวะที่มีขนาดเล็ก ภาพต้องการรายละเอียดสูง มักใช้อุปกรณ์รับภาพที่เครือบด้วยสารที่ให้ แสงสีน้ำเงิน

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การใช้รังสีเอกซ์ เพื่อการวินิจฉัยนั้น ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ใช้รังสีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดี สามารถนำไปใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้ รวมถึงการลดการถ่ายภาพรังสีที่ไม่จำเป็น ลดการถ่ายภาพรังสีซ้ำซ้อน

ปลอดภัย ถูกต้อง ถูกใจ ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพ

หมายเลขบันทึก: 283237เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 00:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มีประโยชน์มากค่ะอาจารย์ และขอขอบพระคุณที่กรุณาเยี่ยมชม

มีประโยชน์ต่อการสอบมากเลยค่ะ

อาจารย์ขา  เป็นลูกศิษย์ด้วยคนนะคะ  วันนี้มาคงมาบ้านไม่ผิดหลัง แต่ผิดห้องไปหรือเปล่า  เพราะบางคนเปิดบ้านหลายหลัง หลายห้องด้วย คะ  เข้าไม่ถูกก็มี

แต่ไม่เป็นไรคะ  มารับความรู้วันนี้ ก็ไม่เกินความสามารถที่จะรับรู้ไว้ได้  เพราะในชีวิตก็รู้การเอกซเรย์  เพื่ออยากรู้ความผิดปกติภายใน  วันนี้มารู้ลึกขึ้นไปอีก

ทำให้ได้เรียนรู้ว่า ควรใช้แสงสีเขียว เพราะมันจะได้รับรังสีน้อย ที่สุด ปลอดภัย ถ้ารับบ่อยๆ และสามารถรับภาพได้ไวกว่า ไม่ต้องใช้เวลานาน  เข้าใจ๋  เข้าใจ  ยิ่งขึ้นคะ

ส่วนสีฟ้านั้น เก็บความละเอียด  แต่ทั้งสองอย่างยังไงก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ถ้าออกข้อสอบ  สุก็คงจะตอบได้ ตามนี้  โอ้ย! เก่งจังเลย  คนสอนเก่งคะ ไม่ใช่คนเรียน

ปลอดภัย ถูกต้อง ถูกใจ ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพ

มีประโยชน์ต่อการเรียนคะ  ไม่ใช่ต่อการสอบ  ตะแนว  แปววว

เรียน คุณรัชดาวัลย์ คุณ TiTi และ คุณสุฯ

นักศึกษาแพทย์ นักศึกษารังสีเทคนิค ที่เข้ามาเรียนในภาควิชารังสีวิทยา คณาจารย์ที่นี่เน้นการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาความรู้วิชาชีพ วิชาคน ให้นักศึกษา สำเร็จไปเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เน้นเพื่อไปบริการประชาชน อย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณ ครับ

ขอบคุณครับ ที่แวะมาเยี่ยม

แวะมาเยี่ยมชมเป็นกำลังใจค่ะ

เรียน พี่ประ

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยม+กำลังใจ ครับ

เรียน อ.ต้อม นักศึกษาแพทย์ กลุ่มนี้ ตั้งใจดีครับ หัดถอดบทเรียนได้ดีทีเดียวครับ

ขออนุญาตเป็นลูกศิษย์ด้วยคนนะคะ....ได้รับความรู้มากมายเลย

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมชมเรื่องราวดีดีนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่ะ ได้ทบทวนความรู้"การสร้างภาพทางรังสี"และเห็นด้วยค่ะ นักรังสีเทคนิคที่ดีต้องพึงระวัง ใช้รังสีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดี ลดโอกาสการถ่ายฟิล์มซ้ำ

เรียน ทุกท่าน

ขอบคุณ ที่แวะมาเยี่ยม ครับ

สวัสดีค่ะ  แวะมาเยี่ยมค่ะ  คิดถึงนะคะ

วันนี้วันศุกร์

เรียน พี่แก้ว และ คุณKRUPOM

ขอบคุณที่นำภาพมาฝากและมาเยี่ยม ครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ผมเป็น นศ.พ.ปี 1 ชอบวิชาที่อาจารย์สอนมากเลยครับ ตื่นเต้นดี (มีผล็อยหลับบ้างเพราะอดนอน) แต่ตั้งแต่เรียนมา ฟังอาจารย์สอนแล้วยังไม่รู้สึกเบื่อเลยครับ ^^

สวัสดีครับ นศพ.พชร

ดีใจครับ ที่นักศึกษามีความสนุกกับการเรียนแพทย์

อาชีพแพทย์ต้องใช้ความพยายามสูง บางครั้งอาจรู้สึกเหนื่อยล้าบ้าง ผมเข้าใจดี

ขอให้ใส่ใจ ตั้งใจ แล้วจะเกิดความเข้าใจ ขอให้ประสบความสำเร็จ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท